กองทัพเมียนมาขุดร่างสาวเสื้อดำชันสูตรใหม่ ไม่เชื่อถูกทหารยิงหัว ทำอึ้งตะลึงกันทั้งบางอย่างสุดจะคาด ดูไปก็โหดนะ แต่มันจำเป็นเพราะมีการแห่ศพ เชิดชูวีรชนหญิงกันอย่างต่อเนื่อง ประสานการโหมกระพือข่าวจากฝั่งตะวันตก เกิดดราม่า ทหารโหดเหี้ยมสังหารเยาวชนหญิงอะไรประมาณนั้น อย่างไรเสียไม่มีใครอยากให้เกิดการสูญเสีย ทุกชีวิตมีค่ามีความสำคัญเท่าเทียมกัน ถ้าเหลียวมามองการเคลื่อนไหวกลุ่มชังชาติในประเทศไทยเมื่อวานนี้ ส่อชัดว่าเตรียมก่อความรุนแรงเต็มรูปแบบ แต่คนไทยไม่มีใครมายอมเป็นเหยื่อสังเวย แผนก่อการโหดแบบเดียวกับในพม่า เลยแห้วกิน แกนนำเตรียมเดินเข้าคุกแทน สื่อเครือข่ายเลยอดกระพือโหมหนุน การชุมนุมใหญ่เมียนมาในวันนี้ ซึ่งนักการเมืองพรรคNLD ของซูจี เปิดหน้าเป็นแกนนำแล้ว ต้องจับตากันต่อไปว่า ทางการเมียนมาจะรับมือสถานการณ์ที่ดุเดือดเหล่านี้อย่างไร จะปิดประเทศใช้อำนาจรัฐถาธิปัตย์เต็มที่ หรือจะเลือกใช้วิธีผ่อนสั้นผ่อนยาวตามสถานการณ์ไปเรื่อยๆ เราจะมารายงานเป็นระยะ เพราะไม่ว่าจะอย่างไรก็กระทบกับประเทศไทยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง
เมื่อวานนี้ (6 มี.ค.2564) สำนักข่าวดิอิระวดี (The Irrawaddy) รายงานว่า กองทัพเมียนมาสั่งให้ขุดร่างของ มะจัล ซิน วัยรุ่นหญิงวัย 19 ปีที่เสียชีวิตจากการถูกยิงที่ศีรษะ ระหว่างการประท้วงเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2564 ขึ้นมาชันสูตรใหม่ หลังจากร่างของเธอถูกทำพิธีฝังได้เพียง 1 วันเท่านั้น
ผู้เห็นเหตุการณ์เผยกับ The Irrawaddy ว่า รถบรรทุกขนทหารหลายนายมาที่สุสานที่ฝังร่างของมะจัลซินราว 15.00 น.วานนี้ (5 มี.ค.) และใช้ปืนจ่อเจ้าหน้าที่สุสาน หลังจากนั้นทางเข้าสุสานก็ถูกปิด
การนำร่างของมะจัลซินขึ้นมาเกิดขึ้นหลังจากหนังสื่อพิมพ์ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของกองทัพรายงานว่า ร่องรอยที่ศีรษะของมะจัลซินไม่น่าจะเกิดจากอาวุธของกองทัพ และยังอ้างว่าหากเธอถูกกระสุนจริง ศีรษะของเธอน่าจะต้องผิดรูป “เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกำลังสวบสวนสาเหตุการเสียชีวิต” หนังสือพิมพ์ดังกล่าวระบุ
ทั้งนี้ เมื่อเดือนที่แล้ว กองทัพปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ประท้วงที่เป็นวัยรุ่นหญิงคนหนึ่งที่ถูกยิงที่ศีรษะขณะที่เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมในกรุงเนปิดอว์ โดยอ้างผลการชันสูตรที่ระบุว่ากระสุนที่เธอถูกยิงเป็นคนละชนิดกับที่เจ้าหน้าที่ใช้
เมื่อวานนี้ มีความเคลื่อนไหวของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ UNSC จัดประชุมลับเพื่อยกระดับกดดันเมียนมา ซึ่งตัวแทนสหรัฐใน UNSC เปิดเผยท่าทีจะพยายามผลักดันให้ออกมาตรการทางทหารกับเมียนมาให้ได้
สำนักข่าวอนาโดลู เอเจนซี่ (Anadolu Agency) รายงานว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council-UNSC) ยังไม่สามารถออกข้อมติเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงในเมียนมาในการประชุมลับ ตามข้อเรียกร้องของสหราชอาณาจักร ด้านนาง Christine Schraner Burgener ผู้แทนพิเศษของ UN ประจำเมียนมาเรียกร้องให้ UNSC ดำเนินมาตรการตอบโต้กองทัพเมียนมาที่ใช้ความรุนแรงต่อประชาชน เนื่องจาก UNSC มีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการส่งกองกำลังไปประจำการในเมียนมา เพื่อแสดงการสนับสนุนผลการเลือกตั้งในเมียนมา เมื่อ พ.ย.2563
ในที่สุดสหรัฐฯก็แสดงท่าทีขัด ที่ว่าจะไม่มาเองแต่จะผลักดันให้สหประชาชาติส่งกองกำลังสหประชาชาติเข้าเมียนมา ซึ่งแน่นอนไทยจะได้รับผลกระทบแน่ ดังคำกล่าวของปธน.โจ ไบเดนแห่งสหรัฐว่า อเมริกากลับมาแล้วและจะระดมพันธมิตรมาช่วยด้วย การผลักดันครั้งนี้ไม่สำเร็จ อาจเพราะมหาอำนาจ จีน รัสเซีย อินเดียไม่สนับสนุน
ด้านภายในประเทศ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำเมียนมา หารือกับรอง ผบ.ทหารสูงสุดเมียนมาเพื่อเรียกร้องให้ยุติการใช้มาตรการรุนแรง
นายโทมัส วัจดา (Thomas Vajda) เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำเมียนมาโทรศัพท์หารือกับพลเอกอาวุโส โซ วิน รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดเมียนมา เพื่อเรียกร้องให้ยุติการใช้มาตรการปราบปรามผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 50 ราย นอกจากนี้ สหรัฐฯ ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์ในเมียนมาไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและอาจทำให้เมียนมาถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันยืนยัน ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ให้ปล่อยตัวผู้นำทางการเมืองที่อยู่ในความควบคุมของกองทัพ ไม่จับกุมเพิ่ม ยุติการควบคุมระบบโทรคมนาคม และฟื้นฟูประชาธิปไตย
ในด้านอินเดียมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมาแล้ว เพราะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจแปรพักตร์หนีข้ามแดนไปอินเดีย และทางการเมียนมาขอให้ส่งตัวกลับ
สำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) รายงานเมื่อวานนี้เช่นกัน อ้างการเปิดเผยของ เจ้าหน้าที่ระดับสูงในเมืองแชมไพ (Champhai) รัฐมิโซรัม อินเดีย ว่า อินเดียได้รับหนังสือจากทางการเมียนมา เพื่อขอให้อินเดียควบคุมตัวและส่งกลับ จนท.ตำรวจเมียนมา 8 นาย ที่หลบหนีข้ามชายแดนเข้าไปยังอินเดีย ภายหลังฝ่าฝืนคำสั่งของกองทัพเมียนมาในการควบคุมกลุ่มผู้ประท้วง โดยอินเดียอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพิจารณาแนวทางที่เหมาะสม ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวเป็นครั้งแรกที่มีการรายงานว่า จนท.ตำรวจเมียนมาหลบหนีเข้าไปยังอินเดีย นับตั้งแต่เกิดการประท้วงในเมียนมาเมื่อเดือน ก.พ.2564 โดยที่ผ่านมามีเพียงการเผยแพร่ข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ว่า มี จนท.ตำรวจบางคนเข้าร่วมกับกลุ่มผู้ประท้วงในการเคลื่อนไหวในลักษณะของต่อต้านทางการ
ผลกระทบจากการชุมนุมเกิดขึ้นกับทุกระดับของประเทศ ทั้งโรงพยาบาลที่ปิดตัวลง หน่วยงานราชการกระทรวงที่ว่างเปล่าปราศจากเจ้าหน้าที่ และธนาคารไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เป็นภาพที่สื่อตะวันตกพยายามแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลเฉพาะกาลของเมียนมาล้มเหลวในการบริหารประเทศ
ในวันนี้สื่อของรัฐบาลเมียนมาประกาศว่า หากข้าราชการยังคงคว่ำบาตรงาน ไม่ทำหน้าที่ตนเอง “พวกเขาจะถูกไล่ออก” โดยมีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค.นี้เป็นต้นไป
กองกำลังทหารยังคงใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุมรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพราะการชุมนุมก็เริ่มมีการใช้ความรุนแรงเช่นกัน และผู้ประท้วงเสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 50 รายแต่กลุ่มผู้ชุมนุมก็ยังคงนัดรวมตัวเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด’แบงก์ชาติสิงคโปร์’ สั่งสอบธุรกรรมการเงินกับ ‘เมียนมา’เพิ่ม เดินตามสหรัฐที่ระงับธุรกรรมการเงินของเมียนมาที่ฝากไว้ในธนาคารกลางนิวยอร์ก แต่ส่งคำเตือนแปลกให้ระวังฟอกเงินหนุนก่อการร้าย
ธนาคารกลางสิงคโปร์หรือเอ็มเอเอส (MAS) ได้สั่งการให้ธนาคารพาณิชย์จับตาการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือเม็ดเงินหมุนเวียนที่น่าสงสัยระหว่างสิงคโปร์และเมียนมา โดยระบุถึงความกังวลเกี่ยวกับอาชญากรรมทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะนี้
MAS ได้ส่งหนังสือเวียนถึงธนาคารพาณิชย์ภายในประเทศ โดยได้เตือนให้ผู้บริหารสถาบันการเงินทุกแห่งตรวจสอบสถานะกิจการ (Due Diligence) ของลูกค้าอย่างจริงจัง และใช้มาตรการควบคุมความเสี่ยงอย่างเหมาะสมในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น โดย MAS มองว่า สถานการณ์รุนแรงในเมียนมา อาจนำไปสู่การฟอกเงิน การระดมเงินทุนเพื่อการก่อการร้าย และอาชญากรรมทางการเงินประเภทอื่นๆ
“เมื่อประเมินสถานการณ์ในเมียนมาขณะนี้ MAS ได้เตือนให้สถาบันการเงินใช้มาตรการที่เหมาะสมในการจัดการกับความเสี่ยงทุกประเภทที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมทางธุรกิจและลูกค้าสัมพันธ์ โดยหากสถาบันการเงินตรวจพบการทำธุรกรรมที่น่าสงสัย ก็จะต้องแจ้งให้ธนาคารกลางทราบทันที