“อดีตผู้พิพากษาหน.ศาลฎีกา” ยกบทความ ฟาดปาก “48 อาจารย์” บี้ศาลไม่ให้ประกัน 4 แกนนำ ย้อนเจ็บพวกทำผิดซ้ำซากไม่เห็นหัวกฎหมาย!!

3585

จากกรณีที่ เมื่อวานนี้ 17 ก.พ. 64 เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์คณาจารย์นิติศาสตร์ เรื่อง คำสั่งศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว พร้อมแนบรายชื่อ 48 อาจารย์นิติศาสตร์ที่ร่วมออกแถลงการณ์ดังกล่าวด้วย

โดยเนื้อหาบางตอนระบุว่าศาลสั่ง
” หลักประกันสิทธิอันสำคัญในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาคือการที่ศาลต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ และด้วยเหตุดังกล่าวศาลจะพิพากษาจำเลยว่ามีความผิดได้ก็ต่อเมื่อศาลได้รับฟังพยานหลักฐานจนสิ้นข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง ซึ่งกระบวนการรับฟังพยานหลักฐานนั้นต้องชอบด้วยกฎหมายทั้งในเชิงเนื้อหาและรูปแบบ

สิทธิที่จะถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์มีขึ้นเพราะกฎหมายอาญาเป็นดาบสองคมที่รัฐอาจใช้ได้ทั้งเพื่อจัดการผู้กระทำความผิด และทิ่มแทงประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งรวมทั้งประชาชนที่ใช้สิทธิตามกฎหมายไปในทางที่ขัดแย้งกับรัฐบาล ดังนั้นศาลในฐานะหนึ่งในเสาหลักแห่งอำนาจอธิปไตยจึงต้องเป็นผู้คุ้มครองสิทธิของประชาชน ซึ่งประชาชนในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะประชาชนที่เป็นผู้เสียหาย แต่ยังรวมถึงประชาชนที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดอาญาอีกด้วย

การคุมตัวในชั้นก่อนพิจารณาคดีและระหว่างพิจารณาคดีต้องทำในเวลาจำกัดไม่ปล่อยเนิ่นช้าจนเกินไป และต้องไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าการควบคุมตัวจำเลยไว้ ทั้งนี้ภายใต้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 107 และ 108/1 “จำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว”

โดย “การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อ” เหตุใดเหตุหนึ่งตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ บทบัญญัติกฎหมายนี้แสดงให้เห็นว่าการไม่ปล่อยตัวชั่วคราวนั้นโดยหลักทำไม่ได้ เว้นแต่มีเหตุผลตามที่มาตรา 108/1 กำหนด อันได้แก่การหลบหนี การไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน การไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น หลักประกันไม่น่าเชื่อถือ หรือเป็นอุปสรรคการการสอบสวนหรือพิจารณาคดี จะเห็นได้ว่าเหตุทั้งห้าประการนี้ล้วนแล้วแต่เป็นกรณีที่มีพยานหลักฐานบ่งชี้ว่าจำเลยจะไปทำอะไรในอนาคต ไม่ใช่เพราะจำเลยได้กระทำความผิดใดตามที่ได้ถูกกล่าวหา ความประพฤติของจำเลยที่พิสูจน์แล้วอาจนำมาใช้ชั่งน้ำหนักในการพิจารณาสั่งปล่อยตัวชั่วคราว เพียงในฐานะที่เป็นข้อบ่งชี้ประกอบถึงสิ่งที่จำเลยอาจจะไปทำสิ่งใดในอนาคตเท่านั้น

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์ได้ให้เหตุผลที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวส่วนหนึ่งว่า “การกระทำตามฟ้องมีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดของกลุ่มบุคคลอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือความวุ่นวายขึ้นและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยจำเลยที่ 3 ขึ้นปราศรัยด้วยถ้อยคำที่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ กระทบกระเทือนจิตใจของปวงชนชาวไทยผู้จงรักภักดีอย่างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และมีลักษณะชักนำประชาชนให้ล่วงละเมิดต่อกฎหมายของแผ่นดิน”

การให้เหตุผลของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดคำถามว่า มีความสอดคล้องกับหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์เพียงใด เพราะการให้เหตุผลลักษณะดังกล่าวทำให้เข้าใจได้ว่า ศาลเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามที่ถูกฟ้องไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ว่า 1. จำเลยทำจริงหรือไม่ 2. การกระทำของจำเลยเข้าองค์ประกอบความผิดหรือไม่ และ 3. จำเลยมีอำนาจกระทำตามกฎหมายหรือไม่

เมื่อยังไม่ได้มีการพิจารณาสืบพยานจนสิ้นข้อสงสัย การวินิจฉัยการกระทำของจำเลยและหยิบข้อวินิจฉัยมาเป็นเหตุผลในการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว จึงขัดต่อหลักสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ ขัดแย้งกับพันธกรณีที่ไทยมีต่อนานาประเทศ ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และขัดแย้งกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันล้วนแต่เป็นกฎหมายคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน”

ล่าสุด วันนี้ 18 ก.พ. 64 นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยยกบทความของทนายชุบ ชัยฤทธิ์ไชย ที่กล่าวถึงการออกแถลงการณ์ของ 48 อาจารย์ธรรมศาตร์ โดยระบุว่า

“ครับ 48 อาจารย์ธรรมศาสตร์
ลาออกไปชู 3 นิ้ว ดีกว่ามั้ย
ผมเรียนจบกฎหมายจากธรรมศาสตร์ ในรุ่นผม มีคนก้าวหน้าเป็นถึงประธานศาลฎีกา ตั้ง 2 คน เป็นอัยการสูงสุดอีก 2 คน
รุ่นที่ผมเรียน ไม่มีอาจารย์ 48 คน ที่ออกมา “เยิ้วๆ” เรื่องศาลไม่ให้ประกันพวก 3 นิ้ว (ตอนหลังเขาเรียก 3 กีบ) เป็นคนสอน
สิ่งที่อาจารย์ออกมาแสดงความกังขา ที่ศาลไม่ให้ประกัน อ้างการไม่ให้ประกันเป็นการไม่ต้องด้วยหลัก “ข้อสันนิษฐาน” ของกฎหมายที่บอกว่า
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์

Image result for ฝากขัง เพนกวิน แานนท์ สมยศ

ผมไม่เถียงหรอกในข้อนั้น แต่มีข้อสงสัย อยากถามอาจารย์ทั้ง 48 ท่าน ดังนี้
1.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีบทบัญญัติให้ศาลใช้ “ดุลพินิจ” ในการอนุญาต หรือ ไม่อนุญาต ให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว ระหว่างการพิจารณา โดยมีหลักเกณฑ์ต่าง ๆ หลายประการ
เช่น ความหนักเบาแห่งข้อหา ความน่าเชื่อว่า จำเลยหรือผู้ต้องหาอาจไปก่อเหตุอีก อาจไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน อาจจะหลบหนี หรือแม้แต่ความไม่น่าเชื่อถือในหลักประกัน และ นายประกัน
ถามว่า กรณีจำเลย ที่ถูกฟ้อง ที่อาจารย์ออกมาโวยกันนั้น
ข้อหา ตามมาตรา 112 มาตรา 116 อาจารย์คิดว่า เป็นข้อหาที่ไม่หนักหนา ไม่ร้ายแรงหรือ ในเมื่อความผิดเหล่านี้ อยู่ในหมวดว่าด้วย “ความมั่นคงฯ”
สำหรับผม เห็นว่า ข้อหาเกี่ยวกับความมั้่นคง ถือได้ว่า เป็นเรื่องร้ายแรงสุด ๆ เลยครับ เพราะส่งผลกระทบถึงความมั่นคงของแผ่นดิน

Image result for ฝากขัง เพนกวิน แานนท์ สมยศ

2. อาจารย์เอาคำว่า “ดุลพินิจ” ของศาล ไปไว้ที่ไหนมิทราบ กฎหมายให้อำนาจศาล ใช้ “ดุลพินิจ” นั่นหมายความว่า ศาลย่อมมีอำนาจในการ “ชี้ขาด” ได้ตามความเหมาะสม และที่เห็น “สมควร”
3.อาจารย์เอาหลักอำนาจอิสระ ปราศจากซึ่งอคติ ปราศจากซึ่งการแทรกแซง ที่เป็นหลักการสำคัญสำหรับผู้พิพากษา ไปไว้ตรงไหน
อาจารย์พากันออกมาโวยแบบนี้ อาจารย์ กำลัง กดดัน กำลังแทรกแซงศาลหรือเปล่า มิทราบ

4. ในฐานะที่ทำมาหารับประทานอยู่กับศาลมานานกว่า 50 ปี ผมเคยเห็น ศาลอนุญาต และ ไม่อนุญาต ในการให้ประกันตัว มาเยอะมาก
คดีบางคดี พฤติการณ์แห่งคดี เป็นเรื่องร้ายแรง ศาลก็ไม่ให้ประกัน
อย่างพวกค้ายาบ้ารายใหญ่ ข่มขืนแล้วฆ่า ความผิดเรื่อง “แชร์ลูกโซ่”
ข้อหาพวกนี้ ผมไม่เคยเห็นศาลท่านให้ประกันเลย
อาจารย์คิดว่า ศาลทำผิดอะไรหรือเปล่า ในคดีเหล่านั้น

คดีที่เกี่ยวกับความมั่นคง ร้ายแรงกว่าคดีพวกนั้นอีก เพราะเป็นการ “บ่อนทำลาย” ชาติบ้านเมือง ไม่ใช่คดีธรรมดา หรืออาจารย์เห็นว่า เป็นคดีเล็กน้อย ครับ
สำหรับผม ความผิดตามมาตรา 112 ไม่ใช่แค่คดีหมิ่นประมาทธรรมดา
แต่เป็นคดีที่ส่งผลกระทบถึง “ความมั่นคง” ของชาติบ้านเมือง เพราะอะไร
เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ คือ “ความมั่นคง” ของแผ่นดิน
อาจารย์ยังจะคิดว่า เป็นเรื่องไม่ร้ายแรงหรือเปล่า

Image result for ฝากขัง เพนกวิน แานนท์ สมยศ

5. คดีที่ศาลไม่ให้ประกันตัวไปในระหว่างการพิจารณา มีอยู่มากมาย ผมไม่เห็นอาจารย์ ออกไปทำอะไรช่วยคนเหล่านั้นบ้าง อย่างพวกค้ายาบ้า พวกข่มขืนแล้วฆ่า พวกค้ามนุษย์ พวกโกงแชร์ลูกโซ่
ถ้าอาจารย์คิดว่า การไม่ให้ประกันตัว เป็นการขัดกับหลัก “ข้อสันนิษฐาน” ที่บอกว่า ให้สันนิษฐานว่าผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์
แล้วทำไม อาจารย์ ไม่ออกไปต่อต้าน กดดัน ในคดีที่ศาลไม่ให้ประกันเหล่านั้นบ้าง
ถามจริง ๆ ครับอาจารย์ สมมุติ (สมมุตินะครับ) ถ้ามีใครสักคนในบ้านอาจารย์ ที่อาจารย์รักมาก รักสุดหัวใจ ถูกคนใจชั่ว ใจร้าย เข้าไปข่มขืน แล้วฆ่าหมกโถส้วม

เมื่อมันถูกจับได้ และถูกนำตัวไปฟ้องศาล
อาจารย์ อยากให้มันได้ประกันตัวไหมครับ
ผมจึงสงสัยว่า ที่อาจารย์ออกมาโวย ครั้งนี้ แท้ที่จริง ไม่ได้ห่วงเรื่องศาลทำขัดหลักการอะไรหรอก เพราะสิ่งที่ศาลได้กระทำลงไปนั้น อยู่ใน “กรอบ” ของกฎหมายทั้งหมดอยู่แล้ว
แต่เพราะอาจารย์ เป็น “พวกเดียวกัน” กับพวก 3 นิ้ว (หรือ 3 กีบ) มากกว่า หรือเปล่าอาจารย์

อ้อ..อีกข้อครับ ไอ้คนที่อาจารย์กำลังช่วยมันอยู่นี่ ความจริง ศาลเคยให้ประกันมันมาหลายครั้งแล้วนะครับ ตอนที่มีการฝากขัง แต่ก็ตั้งเงื่อนไขว่า ไม่ให้ไปก่อความวุ่นวาย ไม่ให้ไปขึ้นเวทีอีก
แล้วมันเคยปฏิบัติตามบ้างหรือไม่ครับอาจารย์ ไอ้แบบนี้ มัน “เห็นหัว” ศาลขนาดไหนมิทราบ
มันเคารพกฎหมาย เคารพศาล ขนาดไหนครับ
อยากจะเรียนอาจารย์ด้วยความเคารพครับว่า ที่ท่านกำลังทำอยู่นี้ เขาเรียกว่า
เป็นการแทรกแซง และ กดดัน ศาล ครับ
ลาออกไปชู 3 นิ้ว ดีกว่าไหมครับ อาจารย์
ชุบโคราช
เครดิต : ทนายชุบ ชัยฤทธิ์ไชย”