ธาตุแท้จักรวรรดินิยมอเมริกา กรณีปธน.โจ ไบเดนแห่งสหรัฐ ขอให้เยอรมนีร่วมมือต่อต้านการขยายอิทธิพลจีน แต่นายกรมตฯอังกาลา แมร์เคิลโต้กลับ วิจารณ์สหรัฐว่าที่แท้คือเป็น “ทรราชย์สากล” เป็นพวกชอบตั้งแก๊ง บีบคั้นประเทศอื่นเพื่อต่อต้านจีน และเปิดโปงพันธมิตรสงครามเย็นว่า เป็นพฤติกรรมแบบ ลัทธิครองความเป็นเจ้า:Hegemonic ซึ่งเป็นการทำลายเอกภาพของยุโรปและการฟื้นเศรษฐกิจโลกจากผลกระทบการระบาดโควิด-19 กลายพันธ์ุ
เมื่อต้นเดือนม.ค. 2564 รัฐบาลเยอรมนีรีบทำข้อตกลงการลงทุนกับจีน ก่อนโจ ไบเดนเข้าสาบานตนเป็นปธน.สหรัฐคนที่ 46 ไม่ฟังที่ไบเดนขอร้องให้ชะลอการร่วมกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับจีนจนกว่าเขาจะเข้ารับตำแหน่ง ต่อมาสื่อเยอรมันรายงานข่าวว่า นายกรัฐมนตรี นางอังกาลา แมร์เคิลแถลงวิพากษ์วิจารณ์ สับโจ ไบเดนไม่มีชิ้นดี แต่สื่อตะวันตกไม่จับมารายงาน
วันที่ 28 มกราคมหนังสือพิมพ์ Hamburger Morgenpost สื่อชื่อดังของเยอรมันรายงานว่าในช่วงสามวันที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีเยอรมันได้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล โจ ไบเดนของสหรัฐฯอย่างต่อเนื่องว่า “จัดตั้งแก๊ง” เพื่อต่อต้านจีน ตั้งกฎเกณฑ์ “พันธมิตรสงครามเย็น” โดยอธิบายให้กับประเทศในยุโรปและทั่วโลกว่าเหตุใดเยอรมนีจึงยืนกรานในจุดยืนคัดค้านการกระทำนี้ของสหรัฐ
นางอังกาลา มาร์เคิล (Angela Merkel) กล่าวว่าเยอรมนีจะไม่เข้าร่วมในพฤติกรรมใด ๆ ที่นำโดยสหรัฐฯซึ่งมุ่งเป้าไปที่ “การปิดล้อมและปราบปรามจีน” และเธอยังแนะนำให้ประเทศอื่น ๆ อย่าเข้าร่วมในพฤติกรรม “hegemonic” นี้! เพราะจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อื่นใดนอกจากการทำร้ายเอกภาพของยุโรปและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก!
แมร์เคิลกล่าวว่า “สงครามเย็นแห่งพันธมิตร” เป็นรูปแบบใหม่ของการกำหนดรูปแบบในการทูตนับตั้งแต่การบริหารโจ ไบเดนปธน.ของสหรัฐอเมริกาเข้ามามีอำนาจ มันเป็น “การแสดงออกที่ชัดเจนที่สุดที่ประเทศหนึ่งต่อต้านการเติบโตขึ้นของอีกประเทศหนึ่ง” เยอรมนีเชื่อว่าจีนมีสิทธิที่จะลุกขึ้น และสหรัฐฯไม่มีสิทธิที่จะบีบบังคับประเทศอื่น ๆ ในยุโรปให้ปฏิบัติตาม “ความเห็นแก่ตัว” ในการรับใช้สหรัฐฯ
ตามต้นฉบับออนไลน์ของหนังสือพิมพ์ นางอังกาลา แมร์เคิลนายกรัฐมนตรีเยอรมันได้ใช้โอกาสสื่อสารระหว่างประเทศ เพื่อแสดงจุดยืนดังกล่าวข้างต้นอย่างต่อเนื่องในช่วงนั้น สื่อเยอรมันเชื่อว่านี่เป็นปรากฏการณ์ที่หายากอย่างยิ่ง สะท้อนให้เห็นถึงความวิตกกังวลอย่างมากของชาวเยอรมันเกี่ยวกับ “สงครามเย็น” ที่ทวีความรุนแรงขึ้นระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่รัฐบาลไบเดนเข้ามามีอำนาจโดย ได้รับแรงหนุนจากกลุ่มสนับสนุนฝ่ายขวาจัดภายในประเทศที่มี “พฤติกรรมต่อต้านจีน” มากขึ้นเรื่อย ๆ และสร้างความไม่พอใจอย่างมากในการที่ เที่ยวไปบีบบังคับให้ประเทศต่างๆโดยเฉพาะประเทศในยุโรป “เลือกข้าง”
“โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายบลิงเคลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ของสหรัฐฯ ได้ออกคำขู่และมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่อจีนในวอชิงตันเมื่อไม่นานมานี้ ในขณะเดียวกันเขาก็วิพากษ์วิจารณ์ยุโรปอย่างรุนแรงและชี้ว่าไม่ควรลงนามในข้อตกลงการลงทุนกับจีน เพราะน่ารังเกียจ ต้นเหตุสร้างความน่าวิตกกังวลสร้างความเดือดร้อนให้ยุโรป “
วันที่ 26 ม.ค.2564 แมร์เคิล ปฏิเสธอย่างไม่มีเยื่อใยต่อคณะกรรมาธิการยุโรปและการที่สหรัฐฯเรียกร้องให้เยอรมนีเลือกข้างระหว่างจีนและสหรัฐฯ และให้ตอบโต้ผู้นำจีนอย่างแข็งขันในวันที่ 25 ม.ค.2564 ในงาน Economic Forum หัวข้อ การเรียกร้องและความคิดริเริ่มเกี่ยวกับการพัฒนาพหุภาคีโลก
แมร์เคิลกล่าวว่า “การพัฒนาของพหุภาคีระหว่างประเทศ หมายถึงการพัฒนาประชาธิปไตยระหว่างประเทศที่มีขนาดใหญ่ มัประสานเข้ากันได้ดีกับอุดมคติประชาธิปไตยของประเทศต่างๆและไม่ขัดแย้งกันเอง ถือเป็นแนวทางปฏิบัติล่าสุดของประชาธิปไตยโลก!”
เธอวิพากษ์วิจารณ์สหรัฐอเมริกาที่เรียกร้องประชาธิปไตยในแง่มุมเดียว ต้องเป็นประชาธิปไตยในมุมมองของสหรัฐเท่านั้น ซึ่งในทางกลับกันมันคือการปราบปรามประชาธิปไตยและทำลายพฤติกรรมของประเทศที่อ่อนแออื่น ๆ ในโลก! เธอเชื่อว่านี่คือลัทธิโลกาภิวัตน์ที่สมควรถูกประณามและเปลือยเปล่าที่สุดที่เคยพบเห็นมา
วันที่ 27 ม.ค.2564 เว็บไซต์ข่าวการเมืองของอเมริกา Politico รายงานเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีเยอรมัน Angela Merkel ภายใต้หัวข้อ “มาร์เคิลยืนหยัดในจีนเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามเย็นแบบกลุ่ม” วันที่ 26 ม.ค.2564 ในการประชุมเศรษฐกิจโลกในดาวอส (WEF) ในสุนทรพจน์ของเธอ ยืนยันต่อต้านการเข้าเป็นพันธมิตรเลือกข้างระหว่างสหรัฐอเมริกาและหรือจีน เธอกล่าวอย่างหนักแน่นว่าเธอ “หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะหลีกเลี่ยงการจัดตั้งกลุ่มต่อต้านจีนดังกล่าว”
มาร์เคิลชี้ให้เห็นว่าถ้าเราบอกว่าฝั่งนี้คือสหรัฐอเมริกาและฝั่งนั้นคือจีนและเรากำลังสร้างพันธมิตรขึ้นมาอย่างใดอย่างหนึ่งสิ่งนี้ไม่ยุติธรรมกับสังคมโลก “นี่ไม่ใช่ความเข้าใจของฉันในสิ่งที่ถูกต้อง”. โดยพื้นฐานแล้วสำหรับเยอรมนีนี่คือ“ทรราชสากล” รูปแบบใหม่
ในขณะเดียวกันได้กล่าวถึงผู้นำชาติจีนว่า: “เขาและฉันบรรลุข้อตกลงกันแล้วเราทุกคนเห็นถึงความจำเป็นของลัทธิพหุภาคีในโลกและความสำคัญของการมีอำนาจเหนือโลกร่วมกัน”
มาร์เคิลยังกล่าวด้วยว่าเธอ “พอใจมาก” กับข้อสรุปของข้อตกลงการลงทุนจีน – สหภาพยุโรป เธอเชื่อว่าสิ่งนี้จะช่วยรับประกันและสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของยุโรปในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันเป็นเสมือนการให้โลหิตไปหล่อเลี้ยงในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเยอรมันอย่างยั่งยืน!
ทั้งยังเรียกร้องให้ผู้นำของทุกประเทศ “มองไปข้างหน้า” และ “สร้างความเข้มแข็งให้กับองค์การอนามัยโลก” เพื่อจัดการกับความล้มเหลวหลายประการ
เธอกล่าวว่าการตัดสินใจของไบเดน ในการเข้าร่วม WHO เป็นการส่งสัญญาณที่ดีอย่างไรก็ตามเธอหวังว่าสหรัฐจะไม่ “ไร้ความรับผิดชอบ” และ “บ้าบิ่น” เหมือนยุคทรัมป์!