จากกรณีข่าวเกิดการรัฐประหาร ในประเทศเมียนมา ซึ่งต่อมาทำให้มีการนัดชุมนุมบริเวณด้านหน้าสถานทูตเมียนมาร ประจำประเทศไทย โดยชาวเมียนมา เดินทางมารวมตัวประท้วง
ในวันดังกล่าวนั้น กลุ่มการร์ด WEVO รวมถึงกลุ่มแกนนำคณะราฎร เช่น เพนกวิน พริษญ์, รุ้ง ปนัสยา เดินทางมาร่วมด้วย กระทั่งเวลาประมาณ 17.00 น. ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการประกาศให้สลายการชุมนุมภายใน 30 นาที พร้อมกับมีการจัดชุดตำรวจควบคุมฝูงชน เพื่อเตรียมพร้อม โดยระบุว่า เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ. ควบคุมโรค
จากนั้น จนท.ชุดควบคุมฝูงชนได้มีการตั้งแนว ก่อนเกิดเหตุความวุ่นวาย มีการผลักดัน ขว้างปาก้อนหิน พลุควัน และประทัดใส่เจ้าหน้าที่จากฝั่งของผู้ชุมนุม โดยในภายหลังมีรายงานผู้บาดเจ็บจากก้อนหิน ขวด ที่มีการขว้างปาใส่จนท. ซึ่งเรื่องนี้เองก็มีการเอาผิดผู้กระทำและดำเนินการตามกฎหมาย
ขณะที่มีรายงานอีกด้านหนึ่งที่ประเทศเมียนมาเพิ่มเติมว่า กองทัพเมียนมา สกัดการต่อต้านรัฐประหาร ตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต โดยจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติของเมียนมา (เอ็มอาร์ทีวี) ระงับออกอากาศชั่วคราว สัญญาณอินเทอร์เน็ตและสัญญาณข่ายโทรศัพท์ถูกตัด นักข่าวจำนวนมากถูกเรียกเข้าค่ายทหาร ทหารในเครื่องแบบเริ่มเคลื่อนกำลังเข้าควบคุมสถานที่ราชการหลายแห่งในเมืองย่างกุ้ง รวมถึงศาลว่าการเมือง รวมถึงมีเจ้าหน้าที่ทหารบนท้องถนนในกรุงเนปิดอว์และนครย่างกุ้ง
โดยในการรัฐประหารครั้งนี้ มีการสกัดไม่ให้เกิดการชุมนุมเพื่อต่อต้านการรัฐประหาร โดยทางกองทัพพม่าเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเพื่อสกัดกั้นไม่ให้เกิดการรวมตัวต่อต้านรัฐประหาร ด้วยการตัดการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือในกรุงเนปิดอ และนครย่างกุ้งที่เป็นเมืองหลวงเก่า ซึ่งปัจจุบันยังคงเป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจการค้า ทหารได้เข้ายึดศาลาว่าการเมืองก่อนที่กองทัพจะออกแถลงการณ์ทางทีวี นอกจากนั้นยังมีรถบรรทุกหลายคันที่ขนเหล่าผู้สนับสนุนกองทัพวิ่งทั่วย่างกุ้งเพื่อฉลองการยึดอำนาจ ขณะที่สมาชิกเอ็นแอลดีได้รับคำสั่งจากกองกำลังความมั่นคงให้เก็บตัวอยู่บ้าน
นอกจากนี้ ในนครย่างกุ้งมีทหารและตำรวจปราบจลาจลรักษาการณ์ ท่ามกลางสถานการณ์โกลาหลที่ประชาชนรีบออกไปซื้อข้าวของจำเป็นตุนไว้ และอีกหลายคนเข้าคิวรอถอนเงินจากตู้เอทีเอ็ม และต่อมาไม่นานธนาคารก็พากันระงับการให้บริการเนื่องจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีปัญหา นั้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 ที่หน้าองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ถนนราชดำเนินนอก ชาวเมียนมาทั้งชายหญิงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยประมาณ 50 คน เดินทางมาชุมนุมต่อต้านการก่อรัฐประหารของกองทัพเมียนมา ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้แสดงสัญลักษณ์พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของเมียนมาหรือ เอ็นแอลดี (NLD) และภาพนางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา พร้อมเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางซูจี และคืนประชาธิปไตยให้ประเทศเมียนมา โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.นางเลิ้ง ดูแลความสงบเรียบร้อย
โดย นายไซ นักธุรกิจชาวเมียนมา ตัวแทนชุมนุมเมียนมาในประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังยื่นหนังสือถึงยูเอ็นไปเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2564 เพื่อต้องการแสดงออกว่า ไม่เอากับการรัฐประหารครั้งนี้ อีกทั้งประชาชนที่อยู่ในเมียนมา พูดถึงอะไรไม่ได้ตอนนี้ พวกตนจึงมาเป็นตัวแทน อย่างไรก็ตาม ที่เมียนมาไม่ได้นิ่งเฉย ถึงออกมาบนถนนกันไม่ได้ แต่ก็ยังเคลื่อนไหวทางออนไลน์อยู่ พวกตนขอมาใช้พื้นที่ของประเทศไทย เพราะที่เมียนมาไม่มีสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ที่แสดงออกได้ ตนได้สื่อสารกับพี่น้องชาวเมียนมาที่มาวันนี้ว่า จะทำกิจกรรมอย่างสงบเรียบร้อย เมื่อเสร็จแล้วก็จะแยกย้ายกัน
ขณะที่ นางแบบสาวชาวเมียนมา ผู้ใช้เฟซบุ๊ก “Phuu Pwint Khaing” เดินทางเข้าร่วมด้วย โดยเจ้าตัวให้สัมภาษณ์ว่า ที่คนเมียนมาในไทยต้องออกมาชุมนุมต่อเนื่อง เพราะขณะนี้คนเมียนมาที่คัดค้านการรัฐประหารไม่สามารถออกมาชุมนุมแสดงออกใด ๆ ได้ คนเมียนมาในต่างประเทศจึงต้องออกมารวมตัวกันเป็นตัวแทนเพื่อสื่อออกไปให้นานาชาติได้ทราบ
ทั้งนี้ ในการชุมนุมดังกล่าวภายหลังการจัดกิจกรรมดังกล่าวเสร็จสิ้น ผู้ชุมนุมต่างแยกย้ายกันเดินทางกลับอย่างสงบ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นการชุมนุมนี้เอง ทำให้เกิดคำถามตามมาจากคนในสังคมด้วยว่า การชุมนุมของกลุ่มคนเมียนมาในประเทศไทยนั้น เมื่อชุมนุมประท้วงเรียกร้องเสร็จต่างก็เดินทางกลับอย่างสงบ แต่เมื่อย้อนกลับไปในวันที่ 1 ก.พ. 2564 พบว่าการชุมนุมดังกล่าวเกิดความวุ่นวายขึ้น เหตุการณ์ดังกล่าวเพราะว่าคนไทยนั้นก่อความวุ่นวายเอง จนตามมาด้วยเสียงวิจารณ์ว่า กลุ่มที่อ้างตนว่าออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย ไม่เอารัฐประหารเหมือนคนเมียนมานั้นใช้โอกาสในครั้งนี้ออกมาโหนกระแสหรือไม่??
ไม่เพียงเท่านั้น ล่าสุดในโซเชียลมีการแชร์ข้อความที่ระบุว่า Dr.X “เผยเบื้องหลัง !!! หลักฐานมัด #ม็อบ3กีบชั่ว กุข่าวเท็จ สร้างดราม่า ที่แท้พวกมึงนี่เองก่อความรุนแรงหน้าสถานทูตพม่า แย่งซีนมวลชนคนพม่า !?!”