ทนาย USร้องศาลโลก ยกคำร้องคดีอิหร่านถูกสหรัฐแซงค์ชั่นเพิ่ม อ้างอิหร่านฟ้องผิดเป้า ชี้ว่าสหรัฐคว่ำบาตรเศรษฐกิจอิหร่านเพราะอิหร่านเป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐและโลก จุดมุ่งหมายหลักที่มีมาตรการแซงค์ชั่นเศรษฐกิจคือสหรัฐต้องการกดดันให้อิหร่าน เปลี่ยนพฤติกรรม กลับมาปฏิบัติตามสนธิสัญญาควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ 2015 ทั้งสองฝ่ายต้องขึ้นให้การต่อศาล และรอผลสรุปปลายปีนี้
วันนี้ทนายตัวแทนสหรัฐและอิหร่านจะขึ้นให้การกับศาลโลก กรณีมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมของสหรัฐต่ออิหร่าน นายมาริค สตริงทนายฝั่งสหรัฐ กล่าวว่า จะยื่นขอให้ศาลยกคำร้องคดีอิหร่านขอให้ศาลพิจารณาสั่งสหรัฐยกเลิกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่านเพิ่ม ทั้งนี้ทนายให้เหตุผลว่าอิหร่านนำเสนอประเด็นข้อเรียกร้องต่อศาล เรื่องสหรัฐออกมาตรการคว่ำบาตรไม่เป็นธรรม โดยอ้างอิงสนธิสัญญาปี 1955 (สนธิสัญญามิตรไมตรีทางการค้ากับอิหร่านซึ่งสหรัฐเป็นคนยกเลิก) ซึ่งเตหรานระบุเป็นข้อพื้นฐานที่นำเสนอฟ้องร้องต่อศาลโลก
แต่เขากล่าวว่ามันไม่เป็นความจริง ไม่ถูกต้อง เพราะกฏหมายที่เกี่ยวข้องในการคว่ำบาตรเศรษฐกิจเพิ่มกรณีนี้คือรื้อสนธิสัญญาปี 2015 ซึ่งนำเสนอโดยฝ่ายบริหารของปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ นอกจากนี้มาตรการของอิหร่านที่ประกาศท้าทายสหรัฐเป็นการวิพากษ์ต่อสหรัฐอเมริกา ทั้งเกี่ยวกับปัญหาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐซึ่งถูกละเมิดโดยอิหร่าน รวมทั้งความกดดันเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ล้วนเป็นวัตถุประสงค์หลักในการแซงชั่น
วอชิงตันกำหนดมาตรการแซงชั่นเมื่ออิหร่านไม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญา 2015 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายหยุดยั้งการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน ฝั่งสหรัฐจึงเรียกร้องต่อศาลให้ยกคำร้องดังกล่าวเสีย ทั้งนี้ทางการสหรัฐพยายามผลักดันให้ขยายมาตรการปิดล้อมต่ออิหร่านของสหประชาชาติ เนื่องจากจะหมดอายุลงในเดือน ต.ค.ที่จะถึงนี้ แต่ไม่เป็นผล
สัปดาห์นี้ศาลสูงที่กรุงเฮกจะพิจารณารายละเอียดตามคำร้องของอิหร่านซึ่งทนายฝั่งอิหร่านจะแถลงชี้แจงในวันพุธ (15 ก.ย.2563) และการพิจารนาจะสิ้นสุดภายในปีนี้ ทั้งนี้ประธานศาลโลกเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายยอมรับการตัดสินของศาลด้วยไม่ว่าผลจะออกมาเช่นไร
จุดแตกหักสัมพันธ์อิหร่าน-สหรัฐ
กรณีปธน.โดนัล ทรัมป์ ของสหรัฐ สั่งเปิดปฏิบัติการส่งโดรนไร้คนขับยิงจรวดโจมตีทางอากาศ ในประเทศอิรัก 3 ม.ค.63 ส่งผลให้”พลเอกคาเซม โซเลมานี” ผู้บัญชาการกองกำลังคุดส์เสียชีวิตพร้อมทหารและเจ้าหน้าที่อีก 7 นาย สร้างความโกรธแค้นให้กับอิหร่าน ประกาศแก้แค้นสหรัฐพร้อมชักธงแดงเพื่อการรบ บนยอดสุเหร่าศักดิ์สิทธิ์จามคารานเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
5 ม.ค.63 ปธน.ทรัมป์สั่งสหรัฐ ล็อกเป้าสถานที่สำคัญของอิหร่าน 52 แห่ง และโจมตีหนักหากอิหร่านตอบโต้ทางการทหาร
7-9 ม.ค. 63 อิหร่านยิงขีปนาวุธนับสิบลูกถล่มฐานทัพอากาศ “อัล อาซาด” ของสหรัฐในอิรัก ซึ่งมีทหารสหรัฐประจำการอยู่ ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเสร็จสิ้นพิธีฝังศพนายพลโซเลมานี ผู้บัญชาการกองกำลังคุดส์ของอิหร่านที่ถูกลอบสังหาร ปธน.ทรัมป์ตัดสินใจไม่ตอบโต้ด้วยมาตรการทางทหารและประกาศคว่ำบาตรทางการเงิน และเศรษฐกิจของอิหร่านเพิ่มจนกว่ารัฐบาลเตหะรานจะเปลี่ยนท่าที สั่งอิหร่านต้องทิ้งความทะเยอทะยานทางนิวเคลียร์ และยุติการสนับสนุนผู้ก่อการร้าย
24 ก.ค.63 อิหร่านยื่นฟ้องต่อสหประชาชาติ ระบุเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างโจ่งแจ้ง หลังจากเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐฯ ก่อความตื่นตระหนกแก่เครื่องบินโดยสารลำหนึ่งของอิหร่านที่กำลังบินอยู่เหนือซีเรีย สื่อมวลชนแห่งรัฐของซีเรียระบุว่าเครื่องบินของสหรัฐฯ เข้าประกบเครื่องบินของสายการบินอิหร่านเหนือเขตอัล-ทานฟ์ ตามแนวชายแดนใกล้กับจอร์แดนและอิรัก บีบให้เครื่องบินต้องลดระดับลงอย่างรุนแรง อยู่ระหว่างการพิจารณา
15 ก.ย.63 ทนายความอิหร่านและสหรัฐ ขึ้นศาลเบิกความกรณีอิหร่านฟ้องศาลโลกให้สั่งสหรัฐระงับมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มต่ออิหร่าน เพราะไม่เป็นธรรมกับประชาชนอิหร่านที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจในการดำรงชีวิตมายาวนาน และชี้ว่าสหรัฐกระทำต่อประเทศและประชาชนอิหร่านมาโดยตลอด
ศาลโลก(ศาลอาญาระหว่างประเทศ)ไม่สามารถดำเนินคดีสหรัฐและ”ทรัมป์”ได้
ความจริงที่น่าแปลกใจ ที่ศาลโลกทำอะไรกับสหรัฐหรือปธน.ทรัมป์ไม่ได้ ทำแค่สั่งให้ทำตามคำตัดสิน แต่ไม่สามารถทำอะไรได้ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่ปฏิบัติตาม เหตผุลเพราะ สหรัฐไม่ได้เป็นหนึ่งในชาติสมาชิกของศาล อาญาระหว่างประเทศ ซึ่งขณะนี้มีอยู่ ๑๒๐ ชาติ เพราะฉะนั้น จึงไม่ สามารถดำเนินการฟ้องร้องใดๆ ไม่ว่าจะถกูกล่าวหาจากเอกชน จาก องค์กรต่างๆ หรือจากเลขาธิการองค์การสหประชาชาติก็ตาม ถีงแม้สหรัฐ จะลงนามในสัญญาที่จะเข้าเป็น สมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศในสมัยรัฐบาลของ ประธานาธิบดีบิล คลินตัน แต่กลับปรากฏว่า รัฐสภาสหรัฐ ไม่ยอม ลงมติเพื่อให้สตัยาบัน ก็เลยไม่มีผลต่อการบังคับใช้ระบบศาลนี้กับ สหรัฐอเมริกา จนกระทั่งปัจจุบันนั่นเอง
บทสรุปสัมพันธ์ยากฟื้นตราบใดที่สหรัฐมีทรัมป์เป็นประธานาธิบดี
สถานการณ์ล่าสุดสิ่งที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจปลิดชีพนายพลกอซิม สุไลมานี ของประธานาธิบดีทรัมป์ แทนที่จะทำให้อิหร่านอ่อนแอลง อาจกลับทำให้อิหร่านมีความชอบธรรมที่จะสร้าง-สะสมนิวเคลียร์เพิ่มขึ้นอีกประเทศหนึ่งอย่างเป็นทางการ
แม้ว่าไม่ปรากฏข่าวการยิงถล่มกันดังที่ทั้งสองฝ่ายขู่กันไปมา เห็นแต่อิหร่านยื่นฟ้องศาลโลกอีกครั้ง หลังสหรัฐประกาศแซงก์ชั่นเพิ่มเติมถามว่าคาดหวังผลเพียงใด อิหร่านน่าจะคาดหวังผลดังที่เคยชนะมาแล้วในปี 2561 ที่ศาลขอให้สหรัฐยกเลิกการแซงก์ชั่นอิหร่านเพราะกระทบชีวิตของประชาชนอิหร่านอย่างยาวนาน และต้องไม่ลืมว่าธงแดงอันเป็นสัญลักษณ์ของการล้างแค้น ยังคงสะบัดพลิ้วอยู่เหนือมหาสุเหร่าของท่านอิหม่ามมะดีฮ์ พระผู้มาโปรดพระองค์ใหม่ ที่ชาวมุสลิมนิกายชีอะห์รอคอยการอุบัติของพระองค์ และย่อมหมายความว่า การล้างแค้นนี้ยังดำเนินต่อไป เพียงแต่ว่าจะดำเนินในลักษณะสงครามระหว่างประเทศ หรือในลักษณะสงครามประชาชน หรือในลักษณะสงครามตัวแทน หรือในลักษณะสงครามพลีชีพเพื่อสงครามศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีใครรู้