นักประวัติศาสตร์ดัง เชือด “ผศ.ณัฐพล” ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ล้มเจ้า จงใจบิดเบือนให้ร้าย สถาบันพระมหากษัตริย์

3833

เป็นความผิดร้ายแรง!! นักประวัติศาสตร์ดัง เชือด “ผศ.ณัฐพล” ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ล้มเจ้า จงใจบิดเบือนให้ร้าย สถาบันพระมหากษัตริย์!!

จากกรณีที่นายณัฐพล ใจจริง ได้มีการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา [พ.ศ.2491-2500] ต่อมาทางด้าน ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนึ่งในคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และพบว่าข้อมูลในวิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าว เป็นการกล่าวอ้างขึ้นมาเอง ไม่มีแหล่งอ้างอิง

นายณัฐพล ใจจริง ได้ทำหนังสือชี้แจงยอมรับข้อผิดพลาดและอ้างว่าไม่ได้ตั้งใจ เสนอขอแก้ใหม่ตัดประเด็นการเป็นประธานการประชุมออกไป แต่ผิดอย่างไรก็ไม่กระทบใจความหลักของทั้งเล่มแต่อย่างใด ทางคณะรัฐศาสตร์ได้หารือกันว่า ให้งดเผยแพร่และอ้างอิง ถ้าจะเผยแพร่ตีพิมพ์จะต้องขออนุญาตบัณฑิตวิทยาลัยก่อน ต่อมาทาง นิตรสารฟ้าเดียวกัน ก็ได้นำข้อมูลดังกล่าวตีพิมพ์ขายด้วย ซึ่งศาสตราจารย์ ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวไทย ได้ออกมากล่าวถึงกรณีดังกล่าวหาว่า สถาบันการศึกษาเซ็นเซอร์วิทยานิพนธ์ “ที่ดีเยี่ยม” ด้วยข้อหาผิดพลาดทั้งที่เข้าใจผิดตีความเกินเลยไปเท่านั้น ไม่ได้สำคัญอะไร

ซึ่งต่อมา สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ได้ออกมาชี้แจงกรณีดังกล่าว ว่าหนังสือ นั้นได้ปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร้องของวิทยานิพนธ์ การเมืองไทยภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา 2491-2500 เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งติงกลับว่า ไชยันต์นั้นมโน จากนั้น ได้มีการตรวจสอบวิทยานิพนธ์กับหนังสือเล่มดังกล่าว พบว่า ในหนังสือและวิทยานิพนธ์ มีเนื้อหาเดียวกัน​แต่คนละสำนวน​ คนละข้อความ​ แต่หากปรากฏข้อความ​ สำนวน​ ในหนังสือ(ที่อ้างว่าแก้ไขแล้ว)​ แบบที่ยกออกมาจากตัวเล่มวิทยานิพนธ์​ที่ถูกระงับเผยแพร่

ล่าสุดทางด้านของ นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ชื่อดัง ได้โพสต์ถึงความผิดร้ายแรงของวิทยานิพนธ์ ดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง โดยขอให้ เพิกถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิต ของ ณัฐพล ใจจริง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

เนื่องจากเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาการและนักวิชาการระดับดุษฎีบัณฑิต จึงทำให้ต้องมีเนื้อหาที่ยาวมาก แต่ถ้าใครขี้เกียจอ่านยาวๆ ผมจะสรุปให้ภายใน 9 บรรทัดในย่อหน้าแรก ดังนี้
ผศ.ณัฐพล ใจจริง กระทำผิดทางวิชาการขั้นร้ายแรง โดยการแก้ไขข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง (falsification) ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เพราะฉะนั้นจุฬาฯ จะต้องเพิกถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิตของเขาตามระเบียบ
และเพื่อให้เป็นกรณีตัวอย่างสำหรับผู้ที่จะอาศัยความเป็นวิชาการที่สร้างความน่าเชื่อถือกับผู้คน ด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริงให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นเป็นความผิดขั้นร้ายแรง สูงสุด
………………………………………………………………….

ลักษณะการประพฤติผิดทางวิชาการ ได้แก่
– การละเมิดลิขสิทธิ์ (CopyrightInfringement, Parity) หมายถึงการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ตามกฏหมายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิ์
– การสร้างผลงานทางวิชาการที่เป็นเท็จ(Fabrication)
หมายถึงการสร้างข้อมูลหรือผลการทดลอง และจัดทำบันทึก หรือรายงานว่าเป็นข้อมูล หรือผลการทดลองจริง โดยที่ไม่ได้ทำขึ้นจริง
– การแก้ไขข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง (falsification)
หมายถึงการแก้ไขหรือบิดเบือนรายละเอียดของการวิจัย เช่น รถแต่งผลการวิจัยหรือตัดข้อมูลบางส่วนทิ้งโดยไม่แสดงสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
– การลักลอบผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
หมายถึงการลอกผลงานหรือนำผลงานของบุคคลมาใช้หรือนำเสนอทำให้ดูเหมือนเป็นความคิดหรือผลงานของตน
………………………………………………………………….

การแก้ไขข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง (Falsification)
– เปลี่ยนแปลงข้อมูลเพื่อหวังผลการการวิเคราะห์ทาง สถิติที่เชื่อถือได้
– ปิดเบียนวิธีการศึกษาเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในการวิจัย
– เปลี่ยนแปลงวันเวลาที่ศึกษาหรือเปลี่ยนตัวอย่าง
– เสนอผลการวิจัย/การทดลองที่บิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง
………………………………………………………………….

การสร้างผลงานทางวชิาการที่เป็นเท็จ (Fabrication)
– สร้างชุดข้อมูลขึ้นมาทั้งที่ไม่ได้ทําการศึกษา/ทดลอง
– สร้างกระบวนการการศึกษา/ทดลองโดยที่ไม่ได้มีการดำเนินการจริง
– เติมข้อมูลที่สร้างขึ้นมาลงในชุดข้อมูลจริง เพื่อให้ยอมรับได้ทางสถิติ
– ใช้ข้อมูล/ตัวอย่าง/วัสดุในการศึกษา/ทดลองที่ไม่เป็นที่ยอมรับหรือได้รับอนุญาต
………………………………………………………………….

“การอ้างอิงหลักฐานปลอมในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ของณัฐพล ใจจริง”
หน้าที่ 105 ใน วิทยานิพนธ์การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500) ของณัฐพล ใจจริง
เป็นการอ้างอิงหลักฐานปลอมในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ซึ่งต่อมาวิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าวถูกสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ดัดแปลงเนื้อหามาตีพิมพ์เป็นหนังสือ 2 เล่ม คือ ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ และ ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี

ในหน้าที่ 124 ของหนังสือขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ เขียนโดย ผศ.ดร.ณัฐพล และตีพิมพ์ออกมาครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2556 ย่อหน้าหนึ่งระบุข้อความว่า
“การเข้าแทรกแซงการเมืองในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. หลังรัฐประหาร 2490 โดยกรมขุนชัยนาทนเรนทรในฐานะผู้สำเร็จราชการฯ เพื่อปูทางการเมืองที่ราบรื่นให้แก่สถาบันกษัตริย์ ได้สร้างปัญหาในปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับรัฐบาล
จนนำไปสู่การรัฐประหารอีกครั้งปลายปี 2494 ดังเห็นได้จากหลักฐานที่รวบรวมได้ตั้งแต่ปลายปี 2493 จนถึงก่อนการรัฐประหาร

Bangkok Post และรายงานของสถานทูตสหรัฐฯ ประจำกรุงเทพฯ ได้ระบุข่าวความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างสถาบันกษัตริย์กับรัฐบาลในขณะนั้นว่า
ผู้สำเร็จราชการฯ ได้เสด็จเข้ามานั่งเป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี ประหนึ่งกษัตริย์เป็นประธานการประชุมคณะเสนาบดีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
การดำเนินการก้าวก่ายทางการเมืองของผู้สำเร็จราชการฯ ในการประชุมคณะรัฐมนตรีรวมทั้งการที่พระองค์แต่งตั้งแต่สมาชิกวุฒิสภาที่เป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเข้าสู่รัฐสภา ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ จอมพล ป.นายกรัฐมนตรี และสมาชิกรัฐบาลเป็นอย่างมาก…”
………………………………………………………………….

ต่อมากองบรรณาธิการบางกอกโพสต์โร่ชี้แจง กรณีนักประวัติศาสตร์อ้างอิงข่าววันที่ 18 ธ.ค. 2493 ว่าผู้สำเร็จราชการแทน ร.๙ เข้าร่วมประชุม ครม.สมัยจอมพล ป. เป็นการแทรกแซงการเมือง เสมือนประชุมคณะเสนาบดีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
กองบรรณาธิการบางกอกโพสต์ยืนยันไม่เคยตีพิมพ์ข่าวดังกล่าว ชี้ที่นำไปอ้างอิงเพื่อทำวิทยานิพนธ์ ตีพิมพ์เป็นหนังสือ เสวนาทางวิชาการต่างๆ ก็ไม่ถูกต้อง

ในวันที่ 28 ธันวาคม 2563 หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ในหน้าที่ 3 ลงชี้แจงข้อมูลในกรอบแดง ระบุว่า
“ขอชี้แจงกรณีข่าวเมื่อปี 1950 (พ.ศ. 2493) (‘Post’ clarifies article from 1950)” โดยระบุว่า หนังสือพิมพ์ยืนยันว่าเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2493 ไม่เคยรายงานข้อมูลที่นายณัฐพล ใจจริง อ้างอิงในวิทยานิพนธ์การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)
………………………………………………………………….

การเพิกถอนปริญญาเกิดขึ้นอยู่เสมอทั้งในไทยและต่างประเทศ ในบางกรณีถูกเพิกถอนหลังจากรับปริญญาไปแล้วกว่า 6 ปีก็ยังเคยมี
กรณีตัวอย่างการถอดปริญญาเอกครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของจุฬาฯ
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2555 สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีมติเพิกถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิต ของนายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) หลังมีการตรวจพบว่าวิทยานิพนธ์ของนายศุภชัยมีการคัดลอก หรือลอกเลียนวรรณกรรมโดยมิชอบ (Plagiarism)
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ ได้กล่าวว่า การเพิกถอนปริญญาในครั้งนี้ เป็นการเพิกถอนปริญญาครั้งแรกของของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์กล่าวว่า ทั้งนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า หากปรากฎว่าบุคคลที่สภามหาวิทยาลัยได้มีมติอนุมัติการให้ปริญญาไปแล้วนั้นขาดคุณสมบัติ หรือมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนที่จะสำเร็จการศึกษาตามที่กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับของมหาวิทยาลัยกำหนดไว้
ซึ่งมีผลให้มติสภามหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการอนุมัติการให้ปริญญาแก่บุคคลดังกล่าวเป็นไปโดยมิชอบ สถามหาวิทยาลัยซึ่งเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการให้ปริญญา ย่อมมีอำนาจที่จะเพิกถอนมติดังกล่าวได้
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้ ผู้ถูกเพิกถอนปริญญาจะมีสถานะเป็นอย่างไร ระหว่างอดีตดุษฎีบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือถือว่าไม่เคยมีสถานะดังกล่าวเลย เนื่องจากมติเพิกถอนให้มีผลตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2555

ดร.บวรศักดิ์กล่าวว่า ไม่ต้องการจะให้เกิดปัญหา เพราะถ้าเพิกถอนย้อนหลังแล้ว หากในอดีตมีการนำวุฒิการศึกษาไปใช้โดยสุจริต จะทำให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนมีสิทธิ์จะได้รับค่าทดแทนตามกฎหมายเนื่องจากความเชื่อในการคงอยู่ของมติดังกล่าว ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา จึงใช้อำนาจตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ที่บอกว่าคำสั่งทางปกครองเมื่อมีการเพิกถอน จะเพิกถอนย้อนหลังหรือไม่ก็ได้ เราจึงคิดว่าไม่ควรเพิกถอนย้อนหลัง
………………………………………………………………….

กระทำผิดทางวิชาการขั้นร้ายแรงของ ผศ.ณัฐพล ใจจริง โดยการแก้ไขข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง (falsification) ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก นั้นสร้างความเข้าใจผิดอย่างจงใจให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์
ดังนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะต้องเพิกถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิตของเขาตามระเบียบ และเพื่อให้เป็นกรณีตัวอย่างสำหรับผู้ที่จะอาศัยความเป็นวิชาการที่สร้างความน่าเชื่อถือกับผู้คน ด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริงให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นเป็นความผิดขั้นร้ายแรง สูงสุด
………………………………………………………………….