เครดิตความเชื่อมั่นต่อศ.ไทยพุ่ง!?! ดัชนีเชื่อมั่น 163% สูงสุดใน 2 ปี ขณะนักธุรกิจต่างชาติ 96% ยันขยายลงทุนในไทยเพิ่ม

2509

ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยพุ่งปรี๊ด ทั้งสายลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และลงทุนตรงในภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย(FETCO) เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนเดือนพฤศจิกายน 2563 อยู่ในโซนร้อนแรง เพิ่มขึ้นกว่า 163.44% สูงสุดในรอบสองปี นักลงทุนเก็งทิศทางฟันด์โฟลว์ไหลเข้า เศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัว ขณะที่บีโอไอตอกย้ำร้อยละ 96 มีแผนขยายการลงทุนและรักษาระดับการลงทุน แม้จะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระบุไทยมีสิทธิประโยชน์จูงใจกระตุ้นให้เกิดการลงทุน มีวัตถุดิบเพียงพอ และมีอุตสาหกรรมสนับสนุนพร้อม สัญญาณบ่งชี้ เศรษฐกิจไทยพร้อมเดินหน้า ขอแต่ปัจจัยลบทางการเมือง อย่ามาถ่วงรั้งโอกาสของประเทศและประชาชนอีกก็จะดีไม่น้อย

ตลาดทุนไทยเนื้อหอม-เงินไหลนองทองไหลมา

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ผลสำรวจในเดือนพฤศจิกายน 2563 พบว่า ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีอยู่ที่ระดับ 161.41 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 163.44% จากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ในเกณฑ์ “ร้อนแรงอย่างมาก” เป็นครั้งแรกในรอบสองปี โดยนักลงทุนคาดหวังการไหลเข้าออกของเงินทุนเป็นปัจจัยหนุนมากที่สุด รองลงมาคือการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ และนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ รวมถึงผลสำเร็จของวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ รองลงมาคือการถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ  และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ

ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) สำรวจในเดือนพฤศจิกายน 2563 ได้ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้

-ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (กุมภาพันธ์ 2564) อยู่ในเกณฑ์ “ร้อนแรงอย่างมาก” (ช่วงค่าดัชนี 160 – 200) ครั้งแรกในรอบ 2 ปี อยู่ที่ระดับ 161.41 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 161%

-ความเชื่อมั่นนักลงทุนบุคคลและสถาบันในประเทศ ปรับตัวขึ้นอยู่ในเกณฑ์ “ร้อนแรง” และความเชื่อมั่นนักลงทุนกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุนต่างชาติปรับตัวขึ้นอยู่ในเกณฑ์ “ร้อนแรงอย่างมาก”

-หมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดพลังงาน (ENERGY)

-หมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดประกันภัยและประกันชีวิต (INSUR)

-ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ การไหลเข้าออกของเงินทุน

-ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ สถานการณ์การเมืองในประเทศ

ทั้งนี้ ผลสำรวจ ณ เดือนพฤศจิกายน 2563 รายกลุ่มนักลงทุน พบว่า ความเชื่อมั่นนักลงทุนทุกกลุ่มปรับ ตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยกลุ่มนักลงทุนบุคคลปรับตัวเพิ่มขึ้น 91% อยู่ที่ระดับ 150.00 กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 167% อยู่ที่ระดับ 166.67 กลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น 150% อยู่ที่ระดับ 156.52 และกลุ่มนักในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ SET (SET index) ฟื้นตัวแรงตอบรับข่าวดีทั้งจากปัจจัยนอกประเทศ ที่ได้รับข่าวความสำเร็จของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั้งของบริษัท Pfizer/BioNTech, Moderna และ AstraZeneca ที่มีประสิทธิผลในการป้องกันการติดโควิด-19 สูง อีกทั้งข่าวความชัดเจนของผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะได้ นายโจ ไบเดน เป็นประธานาธิบดีคนที่ 46 

รวมถึงข่าวดีจากปัจจัยในประเทศจากการประกาศ GDP ไตรมาส 3/2563 แม้จะยังหดตัวที่ -6.4% แต่นับว่าปรับตัวดีกว่าคาดการณ์ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ  ขณะที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีกำไรสุทธิในไตรมาส 3/2563 เพิ่มขึ้น 24% จากไตรมาสก่อนหน้าหลังมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่อนคลายลง จากปัจจัยข้างต้นส่งผลให้เงินลงทุนต่างชาติไหลกลับเข้ามาในตลาดหุ้นไทยเป็นบวกสุทธิเป็นเดือนแรกของปี โดย ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน SET Index ปิดที่ 1,408.31 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 17.9% จากเดือนก่อนหน้า

ปัจจัยหนุน: นักลงทุนคาดหวังการไหลเข้าออกของเงินทุนเป็นปัจจัยหนุนมากที่สุด รองลงมาคือการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ และนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ รวมถึงผลสำเร็จของวัคซีนป้องกัน Covid-19 

ปัจจัยลบ:ปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ รองลงมาคือการถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ  และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ

นักลงทุนต่างชาติปรับตัวเพิ่มขึ้น 338% อยู่ที่ระดับ 175.00 ปัจจัยต่างประเทศที่น่าติดตาม ได้แก่ การเปลี่ยนผ่านรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา และการเริ่มดำเนินการตามนโยบายของนาย โจ ไบเดน สถานการณ์เศรษฐกิจในยุโรปหลังเพิ่มความเข้มงวดมาตรการล็อกดาวน์จากการระบาดระลอกสองของ Covid-19 ในส่วนของปัจจัยในประเทศที่ต้องติดตามได้แก่ ความไม่แน่นอนทางการเมืองซึ่งยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย มาตรการภาครัฐในกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภคเอกชนเพิ่มเติม และการทยอยอนุมัติงบประมาณให้แก่โครงการภายใต้กรอบวงเงิน 4 แสนล้านบาท

นักลงทุนต่างชาติในประเทศไทยขยายลงทุน

บีโอไอเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างประเทศในไทยประจำปี 2563 นักลงทุนต่างชาติมั่นใจศักยภาพประเทศไทย ร้อยละ 96 มีแผนขยายการลงทุนและรักษาระดับการลงทุน แม้จะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระบุไทยมีสิทธิประโยชน์จูงใจกระตุ้นให้เกิดการลงทุน มีวัตถุดิบเพียงพอ และมีอุตสาหกรรมสนับสนุนพร้อม

นางสาวซ่อนกลิ่น พลอยมี ที่ปรึกษาด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทย โดยได้สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 600 บริษัท พบว่าผู้ตอบแบบสำรวจร้อยละ 96 มีแผนการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง โดยร้อยละ 76.67 ยังคงรักษาระดับการลงทุน ในขณะที่ร้อยละ 19.33 มีแผนจะขยายการลงทุนเพิ่มเติม แม้จะอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

สำหรับปัจจัยหลักที่ทำให้นักลงทุนตัดสินใจขยายหรือรักษาระดับการลงทุนในประเทศไทยนั้น พบว่าอันดับแรก คือการมีสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนที่กระตุ้นให้ลงทุนในประเทศไทย อันดับสอง มีวัตถุดิบและชิ้นส่วน และอันดับสาม คือมีความพร้อมของอุตสาหกรรมสนับสนุน

ทั้งนี้ ผลสำรวจนักลงทุนถึงผลกระทบจากโควิด-19 พบว่า ร้อยละ 63.17 นั้น ธุรกิจได้รับผลกระทบแต่ยังสามารถดำเนินธุรกิจได้ ร้อยละ 29.17 ธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างมาก แต่ยังสามารถดำเนินธุรกิจได้ ร้อยละ 7.5 ธุรกิจไม่ได้รับผลกระทบ สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ มีเพียงร้อยละ 0.17 หยุดการดำเนินธุรกิจ

“แม้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย แต่นักลงทุนยังมีแผนขยายการลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยนักลงทุนมีความเห็นว่าประเทศไทยมีปัจจัยเอื้ออำนวยหลายด้าน ทั้งวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่เพียงพอ มีบริการด้านการสื่อสาร ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุน” ที่ปรึกษาบีโอไอกล่าว