รุ้ง ฉีกหน้า BBC ยกเป็นผู้หญิงทรงอิทธิพลโลก แต่ไม่มีความรู้ ไม่ทำการบ้าน!?!

4827

จากกรณีที่ เว็บไซต์บีบีซีได้เผยแพร่ว่า รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ขึ้นแท่น 100 ผู้หญิงผู้สร้างแรงบันดาลใจและทรงอิทธิพลของบีบีซีประจำปี 2020

ซึ่งรุ้งปนัสยา คือผู้ที่ขึ้นอ่าน ประกาศกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ฉบับที่ 1 โดยเสนอข้อเรียกร้อง 10 ข้อ บนเวทีชุมนุม “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องให้มีารปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และยังเป็นผู้ยื่นจดหมายเปิดผนึกผ่านผู้บัญชาการตำรวจนครบาลถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีข้อเรียกร้องเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเรียกร้องให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลาออกจากตำแหน่ง กับต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยรวมถึงหมวดพระมหากษัตริย์ด้วย

ล่าสุด เมื่อวานนี้ (27 พฤศจิกายน 2563) ในรายการถามตรงๆ กับจอมขวัญ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี ดำเนินรายการโดย น.ส.จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ ในหัวข้อ 2 มุมมอง ต่อ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ 2561 และได้เชิญ ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิทย์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และคณาจารย์สถาบันทิศทางไทย ร่วมดีเบตกับ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง แกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ทั้งยัง เพิ่งได้เป็น 1 ใน 100 ผู้หญิงที่เป็นผู้นำสร้างความเปลี่ยนแปลงจากบีบีซี

สำหรับเนื้อหารายการมีบางช่วงที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งโดย ดร.อานนท์ กล่าวว่า ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่ทรัพย์สินรัฐบาล หรือทรัพย์สินราษฎร เพราะตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา เปรียบเทียบกับการเล่นหุ้นแล้วไปจ้างผู้จัดการกองทุน เช่น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ จะไปทำบลายด์ทรัสต์ (blind trust) หรือการทำให้ตนเองไม่เข้าไปมีส่วนยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน ก็ไปจ้างใครสักคนเป็นผู้จัดการกองทุน นายธนาธร เข้าไปยุ่งในการบริหารกองทุนไม่ได้แล้ว แต่ยังได้รับผลประโยชน์ต่อเนื่องมาตลอด

ต่อมาเมื่อถาม น.ส.ปนัสยา ถึงประเด็นการชุมนุมที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ น.ส.ปนัสยา กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือครองหุ้น SCB จำนวน 25% ของมูลค่าหลักทรัพย์ จำนวนทรัพย์สินที่พระมหากษัตริย์ถือครองอยู่มากเกินความจำเป็นหรือไม่ ไม่ได้มีปัญหาว่าจะถือหุ้นหรือไม่ แต่พยายามชูประเด็นว่า งบประมาณส่วนตัวของพระมหากษัตริย์มากเกินความจำเป็นหรือไม่ ในเมื่อประเทศไทยยังมีคนต้องอดอยากอยู่ ยังต้องหาเช้ากินค่ำ

เมื่อถาม ดร.อานนท์ ว่า เมื่อหุ้น SCB อยู่ในพระนามของพระองค์ ไม่ได้น่าเป็นห่วงเรื่องการตั้งคำถามเพียงอย่างเดียว แต่เรื่องการแข่งขัน มีได้ มีเสียทางเศรษฐกิจ หรือการประชุมผู้ถือหุ้นจะเปลี่ยนไปหรือไม่ เพราะพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง ทำให้ดร.อานนท์ ตอบว่า ก็ไม่มีอะไรต่าง สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ก็ลงทุนมาอย่างนี้ตลอด สยามกัมมาจล หรือ บุคคลัภย์ (Book Club) เกิดขึ้นเพราะต้องการสู้กับธนาคารพาณิชย์ต่างชาติ และระบบโพยก๊วน ซึ่งเป็นการเอาการเงินของประเทศทั้งหมดไปไว้ในมือต่างชาติ

ซึ่งหลังจากจบรายการ ก็ได้มีคนวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก ถึงกรณีการดีเบตของรุ้ง ปนัสยา ในเรื่องของพ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ 2561 ซึ่งหลายคนได้มีความคิดเห็นว่า รุ้ง ปนัสยา ยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ 2561 เลย โดยรุ้ง ปนัสยาและกลุ่มแนวร่วมฯ ก็ได้มีการเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบัน 10 ข้อ หนึ่งในนั้นคือ การยกเลิกพ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 ทั้งๆที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ดังนั้น การที่บีบีซี ได้ยกให้ รุ้ง ปนัสยา ขึ้นแท่น 100 ผู้หญิงผู้สร้างแรงบันดาลใจและทรงอิทธิพล ก็เกิดกระแสที่ว่า บีบีซีใช้มาตรฐานอะไรมาวัดให้ รุ้ง ปนัสยา เป็นผู้หญิงผู้สร้างแรงบันดาลใจและทรงอิทธิพล?