ดร.ศุภชัยฯยันเศรษฐกิจไทยฟื้น!?! ปัจจัยบวกเพียบ ห่วงหนี้ครัวเรือนท่วม ชี้แก้ได้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

1994

ดร.ศุภชัยฯมองเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวเร็ว จีดีพีโตตามจีนที่ฟื้นตัวชัดเจน เตือนอย่าเร่งรีบเปิดประเทศ หันไปเน้นการลงทุนหนุนสร้างงานให้มาก ขณะที่มองม็อบไทยไม่ต่างกับทั่วโลกที่มีการชุมนุมแพร่หลาย ขออยู่ในขอบเขตจะไม่กระทบการลงทุน อีกประเด็นที่ห่วงคือหนี้ครัวเรือน แนะต้องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเท่านั้น จึงปลดล็อคได้และเศรษฐกิจฐานรากจะฟื้นอย่างแท้จริง 

นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) เปิดเผยภายในงานสัมมนาประจำปี สศอ. (OIE Forum) 2563 ว่า วิกฤติโควิดส่งผลรุนแรงต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งการที่จีนฟื้นตัวได้เร็วจะส่งผลดีกับไทยและอาเซียน เพราะเศรษฐกิจไทยผูกติดกับห่วงโซ่การผลิตของจีนสูงมาก โดยหากจีนฟื้นตัวเร็วจะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้เร็ว ประกอบกับไทยรับมือโควิดได้ดี รวมทั้งอาเซียนโดยเฉพาะซีแอลเอ็มวีได้รับผลกระทบจากโควินไม่รุนแรง ซึ่งทำให้การส่งออกไทยจะทยอยฟื้นตัว ซึ่งเห็นได้จากเศรษฐกิจไทยดีขึ้นทุกไตรมาส ซึ่งอาจทำให้จีดีพี 2563 ไม่แย่อย่างที่คาดไว้ที่จะติดลบไม่ถึง 7-8% ส่วนการส่งออกในปีหน้าก็จะดีกว่าปีนี้อย่างแน่นอน

“เศรษฐกิจไทยในปีนี้อาจติดลบ 5-6% แต่ปีหน้าทั้งเศรษฐกิจและการส่งออกต้องเป็นบวกอยู่แล้ว เพราะไทยฟื้นตัวได้เร็ว ตลาดหลักของไทยอย่างจีนและอาเซียนก็ฟื้นได้ดี เห็นได้จากการส่งออกที่ดีขึ้นทุกไตรมาส โดยตลาดสหรัฐและเอเชีย รวมทั้งดัชนีชี้วัดต่างๆดีขึ้น”

ไม่ต้องกังวลค่าเงินบาทมากเกินไป

ข้อเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าจนกระทบการส่งออก นั้นดร.ซุปมองว่า ค่าเงินบาทเป็นปัจจัยหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เห็นได้จากบางปีเงินบาทอ่อนค่า แต่การส่งออกไม่ได้ขยายตัวนัก และบางปีเงินบาทแข็งค่ากลับส่งออกได้ดี ซึ่งการส่งออกขึ้นกับเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก หากเศรษฐกิจโลกดีการส่งออกจะดีด้วย แต่ภาคอุตสาหกรรมไทยควรเร่งปรับตัวขยายตลาดใหม่ สร้างนวัตกรรม พัฒนาสินค้าให้เป็นที่ต้องการของตลาด จะทำให้แข่งขันได้โดยไม่ต้องพึ่งค่าเงิน

“ในอดีตค่าเงินบาทอ่อน เพราะผูกติดกับเงินดอลลาร์ แต่ในขณะนี้เป็นแบบลอบตัวตามกระแสเงินที่เข้าออกประเทศ ซึ่งในช่วงเริ่มต้นของอุตสาหกรรมไทย ค่าเงินบาทอ่อนจะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มเริ่มก่อตัวให้เติบโตได้แข็งแรง แต่ในขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมแข็งแรงแล้ง จะต้องพัฒนาตัวเองให้ต่อสู้ในคลาดโลกได้”

เปิดประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป

นอกจากนี้ อยากให้รัฐบาลอย่างเร่งเปิดประเทศ ควรจะเปิดแบบค่อยเป็นค่อยไป เปิดทีละนิดแล้วตรวจสอบผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยชาวต่างชาติที่ควรเปิดให้เข้าประเทศ คือ กลุ่มนักลงทุน ที่จะเข้ามาดำเนินธุรกิจในไทย เพราะจะทำให้เกิดการลงทุน และการจ้างงาน แก้ปัญหาการว่างงานได้ตรงจุด โดยควรจะกัไขกฎระเบียบเข้าประเทศให้ง่ายขึ้น แต่จะต้องผ่านกระบวนการตรวจโควิดที่เข้มงวด

ทั้งนี้ ไม่อยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับตัวเลขการเติบโตของจีดีพีมากไป ควรเน้นคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยคนไทย เพราะหากปล่อยให้เหมือนสหรัฐหรือยุโรปที่ปิดๆ เปิดๆ ประเทศ ไม่มีมาตรการที่รัดกุมทำให้มีคนเจ็บป่วยและตายเป็นจำนวนมาก จะกระทบต่อเศรษฐกิจที่รุนแรงกว่า แต่หากไทยทยอยเปิดอย่างสมดุลจะทำให้ฟื้นตัวได้เร็วระยะยาว

“หากไทยรักษาคนไว้ไม่ให้เกิดการสูญเสีย กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หยุดไปในปีนี้จะกลับมาโตใหม่ได้เอง กำลังการผลิตจะกลับมาใช้ได้เต็มที่ เพราะจะมีกำลังคงเข้ามาขับเคลื่อนเศรษกิจ ต่างจากยุโรป และสหรัฐจะกลับมาช้า เพราะคนหายไปเยอะ”

กู้เงินฟื้นเศรษฐกิจทำกันทั้งโลก

ส่วนการประคองเศรษฐกิจช่วงนี้รัฐบาลต้องช่วยกลุ่มมีรายได้ต่ำก่อนเพราะอ่อนแอที่สุด แต่การให้เงินเข้าไปช่วยควรให้เกิดประโยชน์ระยะยาว เช่น การฝึกอาชีพ การเพิ่มทักษะการทำงาน ซึ่งจะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล ส่วนการแจกเงินแบบให้เปล่าทำได้แต่ไม่ควรใช้เงินในส่วนนี้มากเกินไปเพราะไม่เกิดประโยชน์ระยะยาว

ขณะที่การกู้เงินเข้ามาเพื่อพยุงเศรษฐกิจประเทศในช่วงวิกฤติโควิดนี้ รัฐบาลสามารถทำได้ เพื่อให้เศรษฐกิจมีความมั่นคง ให้รอดพ้นจากช่วงการระบวดของโควิด เพราะหลังจากโควิดคลี่คลายเศรษฐกิจก็จะกลับมาฟื้นตัวได้เองตามธรรมชาติ โดยมองว่าการกูเงินในขณะนี้จะไม่กระทบต่อหนี้สาธารณะมากนัก เพราะประเทศใหญ่มีหนี้สาธารณะสูง เช่น ญี่ปุ่นสูง 200% ของจีดีพี สหรัฐสูงกว่า 130% ในขณะที่ไทยอยู่ใกล้ 50% เป็นตัวเลขที่ยอมรับได้

สำหรับการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจคเห็นว่ารัฐบาลควรเดินหน้าโครงการต่อไป ทั้งในเรื่องการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ ขยายท่าเรือน้ำลึก ก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภา เพราะโครงการเหล่านี้จะก่อให้เกิดการจ้างงานเป็นจำนวนมาก เป็นแรงดึงดูดการลงทุนที่สำคัญ และยังส่งผลดีต่ออนาคตของเศรษฐกิจไทย ส่วนบางโครงการอาจจะต้องชะลอตัวบ้างตามสถานการณ์ เช่น โครงการศูนย์ซ่อมสร้างอากาศยานอู่ตะเภา ที่ต้องชะลอตัวตามธุรกิจการบินที่ชะลอตัวลงอยู่แล้ว

หนี้ครัวเรือนต้องแก้ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สิ่งที่น่าเป็นห่วงขณะนี้ คือ หนี้ครัวเรือนเพราะเป็นปัญหามานาน รวมทั้งโครงสร้างหนี้ครัวเรือนน่าห่วงเพราะหนี้เกิดกับคนอายุน้อยที่เริ่มทำงาน ซึ่งสะสมมากขึ้นจนเกษียณ ต่างจากประเทศอื่นที่หนี้เกิดเมื่ออายุมาก โดยถ้าไม่เร่งแก้ไขจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจสำคัญของไทย และการแก้ไขควรนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสอนให้เข้าใจง่ายกับเยาวชน เพื่อให้คนรุ่นใหม่ลดความฟุ้มเฟ้อจะช่วยลดหนี้ครัวเรือนได้มาก

สำหรับสถานการณ์ภาวะดอกเบี้ยของไทยใน มองว่า ธปท. ลดอัตราดอกเบี้ยต่ำจนเกินไปควรจะปรับให้สูงขึ้นมาบ้าง การที่ดอกเบี้ยต่ำเกินไปทำให้เป็นการลงโทษคนที่อดออมมีรายได้ลดลง ซึ่งมองว่าแนวทางที่ถูกต้องควรจะส่งเสริมการออม เพราะจะทำให้เกิดการลงทุน และสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจ ซึ่งการที่ดอกเบี้ยต่ำจนเกินไปจะทำให้เกิดการกู้ที่เกินตัว