ภายหลังจากการชุมนุมเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยกลุ่มผู้ชุมนุมต่างทยอยเดินทางไปที่บริเวณแยกราชประสงค์ พร้อมกับมีกลุ่มผู้ชุมนุมได้ทำการพ่นสีเป็นข้อความสีขาวแสดงสัญลักษณ์ลงบนถนน หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และยืนตะโกนด่าทอเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ภายในด้วยคำหยาบคาย พร้อมทั้งมีการสาดสีใส่ป้ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก่อนจะมีการประมาณยุติชุมนุมในเวลาประมาณ 20.30 น. ทั้งนี้ เกิดเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ว่าจากกลุ่มผู้ชุมนุมได้เหิมเกริมหนักเกินไป จนหลายคนบอกว่าควรที่จะใช้ ม.112 ได้แล้ว
ล่าสุด ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้โพสต์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ความว่า “ม็อบอนาธิปไตยกำลังแสดงพฤติกรรมหยาบคายและต่ำตมที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ #ม็อบอนาธิปไตยต้องการความรุนแรง
#ม็อบราษฎรอนาธิปไตย
ปากบอกอยากปฏิรูป แต่จ้วงจาบหยาบช้าไม่มีหยุด
ปากบอกหยุดคุกคามประชาชน แต่คุกคามตำรวจถึงที่
ปากบอกสันติ แต่รนหาเรื่องก่อความวุ่นวายทุกครั้ง
ปากบอกภาษีกู แต่ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ
ปากบอกปัญญาชน แต่พฤติกรรมหยาบคายต่ำตม
ปากบอกขี้ข้าเผด็จการ แต่เป็นขี้ข้าอำมหิตที่ชักใยม็อบ
ปากบอกปลดแอก แต่ยอมแบกแอกรับใช้นักการเมือง
ปากบอกรักสิทธิมนุษยชน แต่เหยียดคนอื่นเป็นสัตว์
ปากบอกรักความเท่าเทียม แต่ละเมิดกฎหมายเสียเอง
ปากบอกรักเสรีภาพ แต่ละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นไปทั่ว
ปากบอกต้องการประชาธิปไตย แต่พฤติกรรมอนาธิปไตย
ถามจริง ๆ เถอะ ม็อบราษฎรมีพฤติกรรมอะไรที่บ่งบอกถึง ความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นปัญญาชน ความเจริญทางวัฒนธรรม มารยาทพื้นฐานทางสังคม บ้างครับ?
#พ่อปรีดีสอนไว้ตั้งนานแล้วแต่ไม่รู้จักจำ
#พฤติกรรมแบบนี้เรียกว่าอนาธิปไตย
#หาใช่ประชาธิปไตยไม่
“ระบอบประชาธิปไตยนั้น เราหมายถึงประชาธิปไตยอันมีระเบียบตามกฎหมายและศีลธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช่ประชาธิปไตยอันไม่มีระเบียบ หรือประชาธิปไตยที่ไร้ศีลธรรม เช่น การใช้สิทธิเสรีภาพอันมีแต่จะให้เกิดความปั่นป่วน ความไม่สงบเรียบร้อย ความเสื่อมศีลธรรม ระบอบชนิดนี้เรียกว่า อนาธิปไตย หาใช่ประชาธิปไตยไม่ ขอให้ระวัง อย่าปนประชาธิปไตยกับอนาธิปไตย อนาธิปไตยเป็นภัยอย่างใหญ่หลวงแก่สังคมและประเทศชาติ ระบอบประชาธิปไตยจะมั่นคงอยู่ได้ ต้องประกอบด้วยกฎหมาย ศีลธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต หรือในครั้งโบราณกาลเรียกว่า การปกครองโดยสามัคคีธรรม การใช้สิทธิโดยไม่มีขอบเขตภายใต้กฎหมายหรือศีลธรรม หรือใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ไม่ใช่หลักประชาธิปไตย ไม่ใช่หลักซึ่งคณะราษฎรขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ พระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทยนั้นไม่มีพระราชประสงค์ให้เป็นอนาธิปไตย…”
สุนทรพจน์ ของ นายปรีดี พนมยงค์ แสดงในสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 7 พฤษภาคม 2489 ได้มีการกล่าวถึงประเด็นเรื่องระบอบประชาธิปไตย”