ทำไม SMEs ยังไม่ฟื้น?!? กว่า 61% ยังอ่วม พบ6เดือนอาจต้องปลดคนงาน 1.9 ล้าน รัฐหนุนเงินได้ไม่ทั่วถึง!?!

1683

ม.หอการค้าไทย เผยผลสำรวจ SMEs ประคองตัวได้แค่ 6 เดือน หวั่นโควิดฉุดเศรษฐกิจเสียหายทั้งปี 3 ล้านล้านบาท วอนทีมเศรษฐกิจชุดใหม่เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ เลิกแจกเงิน หนุน “ชิมช้อบใข้”กระตุ้นสร้างงานแทน พร้อมปลดล็อกเงินกู้ให้รายย่อย ช้าได้เห็นตกงานอีก 19 ล้านคนแน่

สภาพการปัจจุบันของธุรกิจ SMEs ไทย

นางสาวอุมากมล สุนทรสุรัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดว่า การสำรวจผลกระทบโควิด-19 ต่อเอสเอ็มอี ซึ่งสำรวจวันที่ 20–24 ก.ค.ที่ผ่านมา จำนวน 800 ตัวอย่าง ทั่วประเทศ พบว่า เอสเอ็มอี 61.7% ได้รับผลกระทบมากถึงมากที่สุด รองลงมา 26.9% ได้รับผลกระทบปานกลาง และ 11.2% ได้รับผลกระทบน้อย พบว่าระดับผลกระทบพบว่าส่วนใหญ่ 40.8% ได้รับผลกระทบมาก รองลงมา 26.9% ได้รับผลกระทบปานกลาง ในขณะที่ 20.9% ได้รับผลกระทบมากที่สุด และ 11.2% ได้บผลกระทบน้อย โดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมาก คือ ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร สุขภาพ ความงาม อัญมณีและหัตกรรม โดยเฉลี่ยจะประคองธุรกิจประมาณ 6 เดือน

ธุรกิจที่ประคองธุรกิจได้น้อยที่สุด 3 เดือน คือ ธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์

ธุรกิจที่ประคองตัวได้ 6 เดือน คือ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจท่องเที่ยวและสันทนาการ ธุรกิจโรงแรมและเกสต์เฮ้าส์ ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ธุรกิจที่ประคองตัวได้ 9 เดือน คือ ธุรกิจสิ่งทอและแฟชั่น ธุรกิจหัตถกรรม ธุรกิจพลาสติกและยาง ธุรกิจสิ่งพิมพ์ ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์จากไม้ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร ธุรกิจบริการด้านความงาม

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์พยากรณ์ฯ ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ใหม่จากเดิมที่คาดการณ์ติดลบ 4.9% ถึงติดลบ 3.4% ปรับเป็นติดลบ 9.4% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 

การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยแล้ว 2.098 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นผลจากมาตรการปิดเมืองที่กระทบต่อภาคท่องเที่ยวธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารค้าปลีกค้าส่งขนส่งและบันเทิง 1.5ล้านล้านบาท ผลกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออกเกือบ 5 แสนล้านบาท ส่วนสถานการณ์ภัยแล้งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 7.6 หมื่นล้านบาท โดยหากเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นคาดว่าทั้งปีจะมีความเสียหาย 3 ล้านล้านบาท

ขณะที่การส่งออกประเมินติดลบ 10.2% จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะติดลบ 12.0 ถึงลบ 8.8% การลงทุนรวมติดลบ 8% จากเดิมคาดว่าจะติดลบ 7.4 ถึงลบ 5.4% ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติคาดว่าอยู่ที่ 7.03 ล้านคน หรือลดลง 82.3% จากเดิมคาดว่าจะมีนัท่องเที่ยวต่างชาติ 8.46-10.02 ล้านคน

ส่วนไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปีนี้ คาดว่าจะมีแนวโน้มทยอยดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการคลายล็อกแต่ละเฟสของภาครัฐ

ข้อเสนอจากนักวิชาการและภาคธุรกิจเอกชน ได้แก่

1.ต้องการให้ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่เร่งออกมาตรการเพิ่มในการพยุงเศรษฐกิจ  แต่ไม่ควรใช้รูปแบบการแจกเงิน เหมือนการเยียวผู้ได้รับผลกระทบคนละ 5,000 บาท ควรผลักดันให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น ผลที่ได้ก็จะทำให้ประชาชนมีรายได้ในรูปแบบการทำงาน และทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในท้องถิ่นหลายรอบ

  1. รัฐบาลควรเร่งดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ”ชิมช็อปใช้” เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น
  2. ภาครัฐต้องเร่งผ่อนคลายให้เอสเอ็มอีเข้าถึง แหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วงเงิน 5 แสนล้านบาท เพราะมีอุปสรรคเข้าไม่ถึง  และหลายกรณีธนาคารพาณิชย์ขอหลักทรัพย์ค้ำประกัน และไม่ผ่านการพิจารณา  ทั้งนี้ต้องการให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เข้ามาช่วยค้ำประกัน
  3. ขอให้พักชำระหนี้และลดภาษีแก่เอสเอ็มอี จากผลกระทบการระบาดโควิด-19 ในระยะเวลาที่นานพอจนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้น

ทั้งนี้ ทางม.หอการค้ากล่าวว่า เอสเอ็มอีที่มีปัญหาสภาพคล่อง  ในช่วงที่เหลือของปีนี้อาจต้องปลดแรงงาน 1.9 ล้านคน โดยเฉพาะในเดือน ต.ค.นี้จะเห็นการปลดคนในระดับหลักล้านคนแน่นอน แต่หากเอสเอ็มอีมีสภาพคล่อง ซึ่งส่วนหนึ่งก็นำมาเป็นค่าจ้างพนักงานและใช้ในการบริหารจัดงานองค์กรก็จะช่วยประคองการจ้างงานได้ 10 เดือน

สรุปปัญหาของเอสเอ็มอียังเหมือนเดิม คือ ขาดสภาพคล่อง ไม่มีเงินต่อทุนเพราะเข้าไม่ถึงซอฟท์โลนของรัฐเป็นส่วนใหญ่ ต้องการรัฐช่วยเพิ่มระยะเวลาพักชำระหนี้ และลดภาษี ซึ่งมาตรการเหล่านี้ทางภาครัฐได้ประกาศทำแล้ว  แต่ข้อเท็จจริงมาถึงปัจจุบัน ปรากฏว่าในทางปฏิบัติ ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย คือช่วยได้ส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ส่วนใหญ่

พิจารณาปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว เอสเอ็มอีจะต้องเผชิญมีอยู่ 3 ประการ

  1. ขนาดของตลาดหดตัวในทุกธุรกิจ  หมายถึงทั้งต่างประเทศและในประเทศไทย ไม่เพียงแค่กระทบการผลิตและการส่งออก  แต่กระทบถึงความสามารถในการใช้จ่ายของครัวเรือน เกิดปัญหาว่างงานตามมาต่อเนื่อง  ตัวอย่างในสหรัฐอเมริกาฯ ที่หลายมลรัฐเปิดเมืองทำธุรกิจ  แต่ทุกอย่างไม่เป็นไปที่คาดหวัง เพราะกำลังซื้อไม่มี คนตกงานมีแต่เพิ่มขึ้น บางส่วนถูกลดเวลาทำงาน รายได้ก็ลดลงอยู่แล้ว บางแห่งตกงานจากที่หนึ่ง ก็ใข่ว่าจะกลับมาหางานได้ง่ายๆ ผู้ที่ตกงานถูกให้ออก ได้รับเช็คมาก็ขึ้นเงินไม่ได้ เป็นต้น  สภาพปัญหาในประเทศไทย เมื่อเกิดการระบาด ระบบการผลิตต่างชะงักงัน บวกด้วยมาตรการล็อคดาวน์ ทำเศรษฐกิจนิ่งซึม และเริ่มหดตัวต่อเนื่องเพราะความไม่มั่นใจของกำลังซื้อในประเทศ ต่อปัญหาการระบาดโควิด-19 ของทั่วโลกที่ไม่มีแนวโน้มยุติ  และกังวลการระบาดรอบ 2 ที่เกิดขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน  
  2. การพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ และเทคโนโลยีดิจิทัลในระดับเร่ง เช่น อีคอมเมิร์ซ โลจิสติกส์

การระบาดโควิด-19 ผลักดันให้ผู้บริโภคเปลี่ยนช่องทาง การซื้อสินค้าและบริการในรูปแบบ New Normal  ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงให้ได้เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างรายได้  แต่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ เพราะอาจมีข้อจำกัดทางความรุ้ ความเข้าใจ และทุนในการเปลี่ยนแปลง

  1. การแข่งขันระหวางธุรกิจที่รุนแรงขึ้น จากเดิมก่อนโควิด-19 ก็รุนแรงอยู่แล้ว  เมื่อตลาดหดตัวลง จำนวนผู้ประกอบการเท่าเดิม หรืออาจเพิ่มขึ้น ในที่สุดใครมีทุนมีความรู้พร้อมก็ไปต่อได้  ใครขาดทั้งความรู้ความชำนาญในโลกใหม่ดิจิทัล หรือมีความยืดหยุ่นน้อย มีสิทธิล้มหายตายจากได้ ไม่จำกัดแค่ภายในประเทศไทย  เพราะประเทศที่มีกำลังเศรษฐกิจแข็งแรงกว่าเรา ทั้งญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน สิงคโปร์ ก็จ้องแย่งตลาดกับไทยเรา เพราะโลกดิจิทัลไร้พรมแดนอย่างแท้จริง

มาดูรายชื่อหน่วยงานที่มีภารกิจให้ความสนับสนุน SMEs ในด้านต่าง ๆจะเห็นว่ามีไม่น้อย

-สสว. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 

-บสย. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 

-ISMED สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 

-SME Bank ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 

-สวทช. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

จะเห็นได้ว่าตลอดเวลาตั้งแต่รัฐบาล ประกาศหนุนช่วยทั้งเยียวยาและฟื้นฟูจำนวน 500,000 บาท ความเป็นจริงคือ ค้างท่ออยู่ 400,000 บาท  ปล่อยกู้ไปได้เพียง 1 แสนล้านเท่านั้น  กล่าวคือทั้งไม่ทั่วถึง และไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ผลที่ออกมาคือ  SMES ได้ผลบ้างเป็นส่วนน้อยเท่านั้นส่วนใหญ่ยังสาหัสอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ นอกจากจะเร่งรัดให้ภาครัฐหนุนช่วยด้านการเงินผ่านหน่วยงานต่างๆแล้ว   บริษัทและธุรกิจเอสเอ็มอี ยังคงต้องติดตามสภาพความเปลี่ยนแปลงของตลาดเป้าหมายทั้งต่างประเทศ และในประเทศ ตลอดจนพฤติกรรมผุ้บริโภคในยุคใหม่แห่งการ Disruption สุ่สังคมดิจิทัลด้วย  เพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ เลือกคู่ค้าให้ถูกต้อง เลือกเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถสร้างโอกาสในการแข่งขัน ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ก่อนที่เวทีการค้าและการดำเนินธุรกิจ จะถูกแทนทีด้วย SMEs ต่างชาติ

ชะตากรรมของเศรษฐกิจไทย  ธุรกิจของไทยโดยเฉพาะ SMEs ซึ่งส่วนใหญ่คือไทยแท้ จะเป็นอย่างไรต่อไปขึ้นอยู่กับน้ำมือของ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกองหนุนภาคเอกชน และตัวบริษัทSMEs เอง!

………………………………………………………….