The Global COVID-19 Index (GCI) เปิดผลการจัดอันดับประเทศที่่สามารถฟื้นตัวจากโควิด-19 ได้ดีที่สุด ปรากฏว่าประเทศไทยครองแชมป์อันดับ 1 ได้คะแนน 81.84 จาก 184 ประเทศ และมีคะแนนเพิ่มดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพ 10.69
ไทยได้ครองแชมป์โลก เพราะคะแนนการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธ์ใหม่ โควิด-19 เพิ่มขึ้นจากเดิม 81.15 (24 ก.ค.) เป็น 81.55 (25 ก.ค.) และเป็น 82.06 ในวันนี้ (28 ก.ค.) จากการจัดอันดับโดย The Global Covid-19 Index (GCI) ทั้งนี้ ประเทศที่อยู่ใน 5 อันดับแรกของโลกที่สามารถฟื้นตัวจากไวรัสโควิด-19 ได้ดีที่สุด ประจำวันนี้ (28 ก.ค.) ลำดับประเทศประกอบไปด้วย
- ไทย
- เกาหลีใต้
- ลัตเวีย
- มาเลเซีย
- ไต้หวัน
ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับในด้านการบริหารสถานการณ์โควิด-19 โดยดัชนี Global COVID-19 Index หรือ GCI ที่ดูภาพรวมในมิติต่างๆ ในด้านการฟื้นตัว (Global Recovery Index) และด้านความรุนแรงของการระบาด (Global Severity Index) โดยประเทศไทยได้รับการประเมินให้ได้คะแนนดีที่สุด ในทั้งสองมิติ จาก 184 ประเทศทั่วโลก
Global Recovery Index เป็นดัชนีและคะแนนที่แสดงถึงการบริหารจัดการรับมือและการฟื้นตัวของแต่ละประเทศจากสถานการณ์โรคโควิด-19 โดยประเมินจาก (คะแนนสูง หมายถึงฟื้นตัวได้ดี ) คะแนน 70% เป็นคะแนนรายวันที่ได้มาจาก1. จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังดูแลอยู่ (active case) ต่อประชากร 2. ผู้ที่รักษาหายแล้วต่อผู้ติดเชื้อ 3. จำนวนการตรวจต่อจำนวนผู้ติดเชื้อ 4. จำนวนการตรวจต่อประชากร
คะแนน 30% เป็นคะแนนคงที่ที่ได้มาจากดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพโลก (The Global Health Security Index: GHS) ที่ประเมินโดยมหาวิทยาลัย Johns Hopkins University ประเทศสหรัฐอเมริกา ในหมวด 1.ความสามารถในการตรวจพบและรายงานการติดเชื้อ 2.ความสามารถในการตอบสนองอย่างรวดเร็วในการควบคุมโร 3.ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณสุขในการรักษาผู้ติดเชื้อและดูแลบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
ประเทศไทย ได้คะแนนรวม 81.84 เป็นอันดับหนึ่งของโลก
Global Severity Index เป็นดัชนีคะแนนที่แสดงถึงความรุนแรงของสถานการณ์ของโรคโควิด-19 โดยประมวลผลจาก (คะแนนน้อย หมายถึงความรุนแรงน้อย)
คะแนน 70% เป็นค่าความรุนแรง ซึ่งวิเคราะห์ประจำวันมาจาก 2 ส่วน 1. จำนวนผู้ติดเชื้อต่อประชากร 2. สัดส่วนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 โดยเปรียบเทียบกับการเสียชีวิตจากโรคต่างๆ และต่อประชากร
คะแนน 30% เป็นคะแนนคงที่ที่ได้มาจากดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพโลก (The Global Health Security Index: GHS) ที่ประเมินโดยมหาวิทยาลัย Johns Hopkins University ประเทศสหรัฐอเมริกา ในหมวด 1.ความสามารถในการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาด 2.ความสามารถของระบบสาธารณสุขในการควบคุมการระบาด
โดยประเทศไทย ได้คะแนนรวม 10.69 เป็นอันดับหนึ่งของโลก
ประมวลข้อมูลโดย ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม