รถไร้คนขับ(FSD:Full Self Driving) สินค้าเชิดหน้าชูตาของเทสลา พาอิลอน มัสก์ฟันกำไรหุ้นและผลประกอบการพุ่งแซงหน้า ยักษ์ใหญ่โตโยต้า ของญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ตั้งเป้ามีรถไร้คนขับบนท้องถนนทั่วโลก 1 ล้านคันไม่เกินสิ้นปี 2020 ราคาหุ้นพุ่งไป 1,650 ดอลลาร์สหรัฐ กำไรติดกัน 4 ไตรมาสแล้ว
แม้เทคโนโลยีของ FSD เสร็จสมบูรณ์แบบแล้วแต่การพัฒนายังไม่หยุด
ยานพาหนะไร้คนขับ (Autonomous Vehicles) คือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ขั้นสูง (Advance Robotics) มาพัฒนาและปรับใช้เป็นยานพาหนะไร้คนขับในการเดินทาง (Self-Driving Car) และการขนส่งสินค้า (Self-Driving Truck) โดยมีการประยุกต์ใช้จากเทคโนโลยีหลายสิ่งประกอบกัน ได้แก่ เซ็นเซอร์ (เพื่อจับสัญญาณสิ่งกีดขวางรอบตัวรถ) IoT (INTERNET OF THINGS) ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) และ Big Data Analytics (เพื่อความอัจฉริยะในการขับขี่) อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมยานพาหนะไร้คนขับในปัจจุบัน ยังคงติดอุปสรรคในด้านการยอมรับจากสังคมในเรื่องความปลอดภัย เนื่องจากยังคงมีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการทดสอบ Autonomous Vehicles อยู่เป็นระยะๆ
แนวทาง “การวางแผนธุรกิจในโลกอนาคต” ของเทสลาเป็นมุมมองที่สร้างมูลค่าเพิ่มแก่บริษัทฯ
แนวคิดธุรกิจของอีลอน มัสก์และเทสลานั้นจะเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย มีสิ่งหนึ่งเกื้อหนุนอีกสิ่งหนึ่ง จนแทบไม่ต้องพึ่งพาธุรกิจอื่นให้ช่วยเหลือด้วย อย่างเช่น วิจัย AI เพื่อนำไปใช้กับธุรกิจรถยนต์ ทำรถยนต์เพื่อนำไปต่อยอดสู่ธุรกิจขนส่ง หรือกระทั่งผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนรถขึ้นมาเอง ทั้งหมดเป็นเครือข่ายหนุนกันแบบครบวงจร นั่นคือการมองโลกอนาคต จากอดีตเด็กหนุ่มผู้รักในเทคโนโลยี และใช้ความลุ่มหลงนั้นเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นมหาเศรษฐีซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์กว่า 600,000 ล้านบาท และก็ยังไม่หยุดที่จะคิดค้นหรือพัฒนาอะไรใหม่ๆ ให้เท่าทันกับโลกในอนาคตอยู่เสมอ
เทสลาได้พิสูจน์แนวทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จของพวกเขาที่มุ่งตอบโจทย์ปัญหา แล้วเสนอทางออก สร้างโลกอนาคตในฝันให้จับต้องได้ สร้างสินค้าที่ทำให้คนยุคนี้รู้สึกว้าว รู้สึกว่ามันเป็นอะไรแปลกใหม่ รู้สึกล้ำยุค แล้วก็ใช้งานได้จริงในโลกอนาคตอีกด้วย อีลอนฯพาเทสลาบุกหน้าสู่อนาคตด้วยโครงการล้ำๆ และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายหลายโครงการ ได้แก่
1. โปรเจ็คท์ Machine that makes the Machine : แนวคิดโรงงานผลิตรถยนต์ใช้หุ่นยนต์ต้นแบบล้วนๆ
2. OpenAI บริษัทพัฒนาระบบอัจฉริยะ ที่มุ้งเน้นไปที่ Artificial Intelligence (AI) สมองกลเพื่อรถยนต์ส่วนบุคคลและรถขนส่ง
3. ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานสะอาดไร้คนขับ 1,000,000 คันต่อปีเป็นเป้าหมายสูงสุด
4. ระบบขับเคลื่อนอัจฉริยะ Autopilot อันสมบูรณ์แบบ
5. Tesla Network แท็กซี่อัจฉริยะไร้คนขัย คู่แข่งสำคัญของแท็กซี่
6. Tesla Semi รถบรรทุกอัจฉริยะไร้คนขับ แค่เปิดตัวยังไม่ผลิต ยอดจองกระหึ่มตั้งแต่ปี 2019 แล้ว
7. สร้างโซลาร์ฟาร์ม เพื่อผลิตไฟฟ้าให้รถยนต์
ล่าสุดปีนี้ เทสลาทำกำไรได้ 4 ไตรมาสติดกันเป็นครั้งแรก
หุ้นเทสลาปรับเพิ่มจาก 430 ดอลลาร์ มาซื้อขายที่ประมาณ 1,500 ดอลลาร์ พูดง่ายๆ ว่าถ้าซื้อหุ้นตอนต้นปี ก็จะได้ผลตอบแทนไปแล้วประมาณ 2.5 เท่าของเงินต้น (ประมาณ 250%) ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นสูง ผลักดันให้เทสลากลายเป็นค่ายรถที่มีมูลค่าสูงสุดในโลก แซงหน้า Toyota ไปแล้ว แต่แน่นอนว่า “ราคา” ย่อมมาพร้อมกับ “ความคาดหวังสูง” เช่นกัน
รายงานผลประกอบการไตรมาสสอง ของปี 2020 เทสลาทำรายได้ประมาณ 190,000 ล้านบาท มีรายได้เพิ่มขึ้น 1% ถ้าเทียบกับไตรมาสแรกของปี ที่ทำรายได้ประมาณ 188,000 ล้านบาท แม้รายได้จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ก็เพียงพอให้บริษัทสามารถทำกำไร 3,200 ล้านบาท และเป็นครั้งแรกที่บริษัทรถยนต์ไฟฟ้านี้ สามารถทำกำไรได้ถึง 4 ไตรมาสติดกัน!! เมื่อผลประกอบการออกมาแบบนี้ ราคาหุ้นที่ซื้อขายหลังตลาดปิด (ตลาดสหรัฐฯ เปิดให้ซื้อขายนอกเวลาได้) ก็เลยพุ่งไปที่ 1,650 ดอลลาร์แล้ว
Tesla นั้นทำธุรกิจด้านพลังงานหลายอย่าง ทั้งการขายรถยนต์ไฟฟ้า โซลาร์ฟาร์ม โซลาร์เซลล์ หรือแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ไว้เก็บพลังงาน แต่การขาย “เครดิตมลพิษ” สร้างรายได้ถึง 14,000 ล้านบาทในไตรมาสสอง ซึ่งเป็นยอดขายซึ่งไม่มีต้นทุน เพราะในบางรัฐของสหรัฐฯ และยุโรปบางประเทศ บังคับว่าผู้ผลิตรถยนต์ จะต้องสร้างยอดขายรถที่ไม่ปล่อยมลพิษ ให้ได้จำนวนเครดิตขั้นต่ำตามกฎหมาย ถ้าเจ้าไหนขายรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเยอะ ก็ต้องขายรถไม่ปล่อยมลพิษเยอะตามไปด้วย วิสัยทัศน์ของเทสลาทำให้ได้เปรียบในจุดนี้
อีลอน มัสก์, เทสลาอคือตัวอย่างของคนเล็กๆที่คิดใหญ่ ทำฝันอนาคตของคนรุ่นใหม่ให้มาจับต้องได้จริง สิ่งนี้มีมูลค่ามหาศาล และพลิกชีวิตพลิกโลกได้อย่างแท้จริงด้วย
……………………………………………………….