อีก 7 วันเลือกตั้ง ถ้าปธน.สหรัฐชื่อ “โจ ไบเดน” สหรัฐจะเลิกแทรกแซงประเทศไทยไหม ???

2239

การดิ้นรน การช่วงชิงอำนาจระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์ และโจ ไบเดน มีความหมายต่อโลกและประเทศไทยเพราะไม่ว่าใครจะเป็นประธาธิบดี สหรัฐจะหยุดแทรกแซงประเทศอื่นๆ และประเทศไทยหรือไม่?

                                  คำตอบคือ “ไม่”

ไม่ถึง 7 วันเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา สังคมสหรัฐส่ออาการหนัก เพราะ 2 พรรคใหญ่ เดโมแครตที่ครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฏร และรีพับลีกันที่ครองเสียงข้างมากในวุฒิสภา ใช้เวลากว่า 3 เดือน ตั้งแต่สิ้นเดือนกรกฏาคมเมื่อ งบประมาณเยียวยาชุดแรกหมดลง จนปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถตกลงกันได้ในแผนกระตุ้นศก.รอบใหม่ อ้างขัดแย้งประเด็นตรวจโควิดทั่วสหรัฐและวงเงินช่วยเหลือ  เมื่องบฯเยียวยา-กระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ไม่มี คนอเมริกันกระอัก ทั้งสภาพเศรษฐกิจภาคการผลิตยังไม่ฟื้นทำให้จำนวนคนว่างงานแบบถาวรเพิ่ม โควิดระบาดรอบใหม่ซ้ำเติม ความรุนแรงแตกแยกของอเมริกันสองฝ่ายทวีความดุเดือดไม่มีทีท่าว่าจะสงบ

ลางแพ้ปธน.ทรัมป์ 

-เมื่องบเยียวยาออกมาไม่ได้ นางแนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐและนายสตีเวน มะนูชิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐ ยังไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับการออก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ในการเจรจา เมื่อวันจันทร์(26 ต.ค.2563)  เนื่องจากทั้งสองฝ่ายยังโต้กันในประเด็นการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้กับประชาชนทั่วประเทศ และแผนการติดตามผู้ที่ติดเชื้อ ตลอดจนจำนวนเงินเยียวยารายสัปดาห์ ฯลฯ

“ในขณะที่ประเทศของเรากำลังเผชิญกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ทำสถิติสูงสุดนั้น เราก็ยังรอคอยคณะบริหารของทำเนียบขาวที่จะยอมรับเงื่อนไขด้านสาธารณสุขของเรา ซึ่งรวมถึงแผนยุทธศาสตร์การตรวจหาเชื้อทั่วประเทศและการติดตามผู้ติดเชื้อ” นายดรูว์ แฮมมิลล์ โฆษกและรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของนางเพโลซีกล่าว พร้อมระบุว่า นางเพโลซีและนายมนูชินใช้เวลาในการเจรจาเพียง 52 นาที นางเพโลซีได้ออกแถลงการณ์ย้ำว่า “สหรัฐยังไม่อยู่ในสถานการณ์ที่ปลอดภัยในการเปิดโรงเรียนและเศรษฐกิจ นอกเสียจากว่า เราจะมีแผนการที่บังคับใช้ทั่วประเทศ ซึ่งได้แก่การตรวจหาเชื้อ การติดตามผู้ติดเชื้อ การบำบัดรักษา การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม และมาตรการอื่นๆ ที่ยึดหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ทุบกล่องดวงใจทรัมป์ :ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่เพื่อเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงเมื่อคืนนี้ โดยดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลงกว่า 600 จุด และตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงเช่นกัน

ทรัมป์ปั่นหัวสาวก :ยังเชื่อว่าตัวเลขคนตาย-ติดเชื้อโควิดเป็นข่าวปลอมเพื่อทำลายโอกาสได้รับเลือกเป็นปธน.สมัยที่สอง ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ทวีตข้อความ โดยระบุว่า สื่อในสหรัฐกำลังสมรู้ร่วมคิดกันในการเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19  ปธน.ทรัมป์ระบุว่า การที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อในสหรัฐพุ่งสูงขึ้นมีสาเหตุจากการที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจหาเชื้อจากประชากรจำนวนมาก นอกจากนี้ ปธน.ทรัมป์ยังอ้างว่าผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวมีอัตราการหายป่วยจากโควิด-19 สูงถึง 99.9% ทั้งยังระบุว่า ในวันที่ 4 พ.ย. ซึ่งเป็นวันหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ สิ่งที่ทุกคนพูดคุยกันจะเปลี่ยนแปลงไป

“คนอเมริกันต้องเลือกเองว่าจะชอบผู้นำแบบไหน?”

วัดสองแนวคิด 2 พรรคในนามตัวแทน ทรัมป์& ไบเดน

ผลการสำรวจของเรียลเคลียร์โพลิติกส์ ไบเดนนำทรัมป์เฉลี่ย 2.3% มหาวิทยาลัยควินนิเพกสำรวจความคิดเห็นผู้ที่ตั้งใจไปใช้สิทธิ ให้ไบเดนนำทรัมป์ที่ 51% ต่อ 43% ในรัฐเพนซิลเวเนีย ที่ทรัมป์เคยชนะไปไม่มากเมื่อปี 2559

ฝ่ายวิเคราะห์เอเอสแอล เปิดเผยถึงนโยบายหาเสียงของโจ ไบเดน และโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อตลาดหุ้นไทย และฟันธง โจ ไบเดน จะเป็นผู้กำชัยชนะได้เป็นปธน.สหรัฐ

1.ด้านการป้องกันโควิด-19 

ไบเดนจะมีมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจทั้งในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน รวมถึงจะมีการจ่าย Sock leave และ Care-giving leave ให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

ทรัมป์จะเน้นช่วยเหลือภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมบางประเภท เช่นอุตสาหกรรมยา ธนาคาร ท่องเที่ยว ความเห็นของนักวิเคราะห์มองว่ามาตรการของทั้งคู่ จะช่วยหนุนบรรยากาศการลงทุนทั่วโลก

2.มาตรการทางภาษี

ไบเดนการเพิ่มภาษี Individual tax สำหรับผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 4 แสนล้านเหรียญ สรอ. ต่อปี โดยคาดว่าจะเพิ่มจาก 37% สู่ระดับเกือบ 40% และจะขึ้นภาษี Corporate tax จากเดิม 21% สู่ระดับ 28%

ทรัมป์ จะยังคงอัตราภาษี Individual tax และ Corporate tax ที่ระดับ 37% และ 21% ตามเดิม

ความเห็นของนักวิเคราะห์หากไบเดนชนะและได้ทำตามนโยบายการขึ้นภาษีนี้จริง จะเป็นบวกต่อ SET โดยมาตรการนี้จะกดดันผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน มีโอกาสให้ fund flow ไหลออกจากสหรัฐมาสู่ตลาด Emerging market ซึ่งคาดว่าดัชนี SET จะได้รับประโยชน์ไปด้วย

  1. เทคโนโลยีและสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง

ไบเดนจะเน้นนโยบายลดการผูกขาดของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และจะมีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานฉบับใหม่ โดยจะให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะโลกร้อนมากขึ้น

ทรัมป์ก็มีการออกแบบแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานฉบับใหม่ด้วยเช่นเดียวกัน แต่คำนึงถึงภาวะโลกร้อนน้อยกว่าไบเดน  หุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในสหรัฐเช่น Google, Facebook หรือ Apple มีความเสี่ยงที่จะถูกควบคุมการผูกขาดจากภาครัฐหากไบเดนชนะการเลือกตั้ง

  1. การบริการได้สาธารณสุข

ไบเดนจะนำ Affordable Care Act (ACA) กลับมาใช้ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงในด้านบริการทางการแพทย์ของชาวสหรัฐ 

ทรัมป์ยังไม่มีนโยบายที่เกี่ยวข้องโดยตรงในหัวข้อนี้ หากไบเดนชนะ และนำนโยบายการกำหนดราคายามาใช้จะกดดันต่อหุ้นในกลุ่ม Health care

5.การค้า

ไบเดนมีมุมมองต่อการค้ากับจีนคล้ายกับ ทรัมป์ในปัจจุบัน แต่เราเชื่อว่าการตอบโต้จีนของไบเดนจะมีความแข็งกร้าวที่น้อยกว่า และจะเน้นการเจรจากันเป็นหลัก โดยจะมีความร่วมมือกับประเทศในเอเชียมากขึ้นเพื่อคานอำนาจกับจีน ผ่านความร่วมมือ TPP โดยเฉพาะกับเวียดนามและญี่ปุ่น

ทรัมป์ยังคงเผชิญหน้ากับจีนอย่างแข็งกร้าวอยู่ต่อเนื่อง โดยจะมีการแบนบริษัทเทคโนโลยีของจีนเน้นการทำ AI และ 5G รวมถึงเดินหน้าเก็บภาษีนำเข้าจาก EU

ฝ่ายวิเคราะห์เอเอสแอล มองว่า หากไบเดนชนะการเลือกตั้ง จะช่วยลดความไม่แน่นอนของความเสี่ยงสงครามการค้าได้มากขึ้น แล้วนโยบายของไบเดนเกี่ยวกับประเด็นการค้า เป็นบวกต่อตลาดหุ้นในเอเชียเป็นส่วนใหญ่ ตลาดหุ้นไทย เอเชียและยุโรปจะได้ประโยชน์  ถ้าทรัมป์การเลือกตั้งตลาดหุ้นสหรัฐจะได้ประโยชน์มากกว่า สำหรับหุ้นไทยหุ้นในกลุ่ม Big cap. จะน่าสนใจ เช่น กลุ่มพลังงานอย่าง PTTEP PTT

ผลกระทบกับประเทศไทย

ทางด้านเศรษฐกิจ– นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า ถ้าไบเดนได้รับเลือก สงครามการค้าจะเบาลง ท่าทีแข็งกร้าวน้อยลง เอเซียจะได้ประโยชน์  กรณีนี้มองว่า ไม่ว่าไบเดนหรือทรัมป์ ชนะเลือกตั้ง นโยบายของสหรัฐจะยังไม่เปลี่ยน เพราะบาดแผลจากสงครามภายในของสหรัฐเองทำให้เศรษฐกิจยากฟื้น  และโลกหลังโควิด-19 จางคลาย นโยบายทางเศรษฐกิจของนานาชาติและไทยจะไม่เหมือนเดิม เนื่องจากเครื่องมือทางเทคโนโลยี ดิจิทัลจะทุบทำลาย ระบบการเงิน-ธนาคารแบบเก่า ที่มีนายเงินและนายทุนยักษ์ครอบงำ ทั่วโลกได้บทเรียนในยามยากลำบากเผชิญโรคร้ายไวรัส โควิด-19ว่า การพึ่งตนเอง เป็นหนทางเพื่อชีวิตรอด บทบาทการเป็นมหาอำนาจครอบโลกของสหรัฐสั่นคลอนเพราะเผยธาตุแท้ความเห็นแก่ได้ ในทุกมิติแก่การพัฒนาเศรษฐกิจโลก ประเทศไทยได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจดิจิทัลรองรับสถานการณ์ใหม่แล้วอย่างเป็นระบบ

ทางด้านการเมือง-ไม่ว่าไบเดนหรือ ทรัมป์จะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี สหรัฐจะยังคงยืนหยัดในยุทธศาสตร์ อินโด-แปซิฟิคอย่างเหนียวแน่น นั่นคือ “แผ่อิทธิพล ครอบงำ ไม่ยอมต้องทำลาย” ภายใต้คำโฆษณาชวนเชื่อ “เพื่อเศรษฐกิจที่เปิดกว้าง”  เหตุการณ์การประท้วงในประเทศไทย เปิดเผยให้เห็นการเชื่อมโยงแผนต้านจีนอย่างชัดเจน จากฮ่องกง-ไต้หวัน-สู่ประเทศไทย  จากม๊อบปลดแอก-สู่ม๊อบราษฎรณ์ จะม๊อบอะไร ก็เคลื่อนไหวภายใต้ยุทธศาสตร “ต้านจีน” อย่างชัดเจน วันนี้แผ่ขยาย ประสานแนวร่วมในต่างประเทศอย่างเอาการเอางาน มีหน่วยโฆษณาที่ทำกันอย่างเป็นระบบทั้งบนดิน ใต้ดิน ทั้งองค์กรNGO รับเงินโซรอสฯ ทั้งสื่อหลัก สื่อโซเชียลมีเดีย ทุ่มทุนมหาศาล เพื่อพื้นที่ทางยุทธศาสตร์สำคัญ คือ “ประเทศไทย” เรื่องนี้อยู่ที่รัฐบาลไทยจะจัดการปัญหานี้อย่างไร คนไทยต้องรู้เท่าทัน เพราะเป้าหมายเฉพาะหน้าทางการเมืองของสหรัฐต่อไทยคือ “โค่นล้มรัฐบาลที่ไม่ยอมทำตามเจตจำนงค์ต้านจีน”

ทางด้านการทหาร– ประเทศไทยแถลงจุดยืนเป็นกลาง และโน้มนำเพื่อนบ้านพันธมิตรอาเซียนแสดงจุดยืนเป็นกลางร่วมกัน ซึ่งทุกประเทศต่างมีบทเรียนในการคบหา พันธมิตรมหาอำนาจอย่างสหรัฐและจีนโดยถ้วนหน้า และตัดสินใจดำเนินนโยบายที่ยืดหยุ่น ตามประโยชน์ที่ประเทศของตนจะได้รับ ผลคือในพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ทหารของสหรัฐ

-พม่าตื่นตัวรู้ทัน การสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในพม่าโดยฝีมือ CIA  จึงพัฒนาสัมพันธ์ทางทหารกับพันธมิตรเซี่ยงไฮ้อย่างออกนอกหน้า ไปร่วมซ้อมรบที่ชายแดนประเทศรัสเซียเมื่อเร็วๆนี้

-ฟิลิปปินส์ ไม่อนุญาตให้สหรัฐใช้ฐานทัพ

-กัมพูชา ไม่ให้สหรัฐใช้ฐานทัพ เพราะสหรัฐหนุนหลังฝ่ายค้านต้านรัฐบาลฮุนเซน

-อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, เวียดนาม อาจมีท่าทีต้อนรับอเมริกา แต่อเมริการู้ดีว่าบาดแผลในอดีตที่สหรัฐได้เคยกระทำต่อประชาชน และสร้างความร้าวฉานไว้ใช่ว่าจะประสานได้ราบรื่น

ประเทศไทยจึงเป็นเป้าหมายสำคัญ ที่จะถูกลากจูงเข้าสู่ “สงครามตัวแทนย่านทะเลจีนใต้” (Proxi War)นี่คือปัจจัยสำคัญที่การชุมนุมประท้วง ไม่ว่าจะชื่ออะไร โดยใคร ก็เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ให้จงได้ กลุ่ม-พรรคของนักการเมืองที่สนับสนุนแผนการนี้ ย่อมคาดหวังว่า เมื่อมหาอำนาจชนะตนจะได้รับผลประโยชน์อะไรบ้าง จึงไม่สนใจว่า สถาบันหลักของชาติจะถูกทำลายย่อยยับอย่างไร สังคมไทยจะแตกแยกเหลวแหลกเพียงใด