ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของไทย ที่ตึงเครียดในปัจจุบันนั้นมีองค์กรเครือข่ายต่างชาติ เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรนิรโทษกรรมสากล หรือ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล (Amnesty International) และฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch – HRW)
ทั้ง 2 องค์กรนี้มีการเปิดเผยมาก่อนแล้วว่า ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ Open Society Foundations ของนายจอร์จ โซรอส และมีพฤติกรรมสนับสนุนการเมืองต่อต้านรัฐบาลและสถาบันหลักของของราชอาณาจักรไทย เผยแผ่ชุดความคิดคลั่งประชาธิปไตยสุดโต่ง และเชื่อมโยงกระบวนการสร้างทัศนคติล้มล้างการปกครองโดยอาศัยสื่อหลัก-โซเชียลมีเดียเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบ
แต่ไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียว ที่เครือข่ายของนายโซรอสพยามแทรกแซง เพราะมีหลายประเทศทั่วโลกที่ถูกองค์กรของนายโซรอสแทรกแซงการเมือง แล้วโต้ตอบกลับ จนสามารถหยุดยั้งการแทรกแซงจากเครือข่ายของนายโซรอสได้สำเร็จ ซึ่งประเทศที่สามารถแบน หรือหยุดการแทรกแซงจากเครือข่ายนายโซรอสได้สำเร็จ เพื่อหยุดยั้งไม่ให้เสถียรภาพของประเทศ ถูกกัดกร่อนไปมากกว่านี้มีหลายประเทศ ที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกดดันจนเครือข่ายโซรอสทำงานต่อไม่ได้
นายจอร์จ โซรอส อายุ 86 ปี เป็นอัครมหาเศรษฐีทางการเงิน สัญชาติยิวฮังการี ปัจจุบันเป็นฮังกาเรียน-อเมริกันหรือแปลงสัญชาติเป็นคนอเมริกันไปแล้ว มีองค์กรของตัวเองชื่อว่า มูลนิธิสังคมเปิด (The Open Society Foundations) ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มเอ็นจีโอต่างๆทั่วโลกเพื่อสนับสนุนให้เปิดสังคมนั้นๆเป็นประชาธิปไตยแบบสหรัฐ หรือเป็นสังคมประชาธิปไตยเสรี สร้างอาณานิคมจากจิตวิญญาณ โดยทำลายรากฐานแนวคิด วัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างเป็นระบบ
ประเทศที่ตอบโต้และแบนโซรอสและองค์กรเครือข่ายแล้วในช่วงเวลา 5 ปี(รายงานก่อนหน้านี้ไปแล้ว 9 ประเทศ)ได้แก่
1.ประเทศรัสเซีย
-30 พฤศจิกายน 2558/2015 รัสเซียสั่งปิดองค์กรของนายจอร์จ โซรอส โดยสำนักงานอัยการสูงสุดของรัสเซีย ได้ขึ้นบัญชีองค์กร Open Society Foundations (OSF) และ Open Society Institute Assistance Foundation ให้อยู่ในบัญชีกลุ่มองค์กร “ไม่เป็นที่พึงปรารถนา” เนื่องจากทั้ง 2 องค์กรของนายโซรอส มีพฤติกรรมที่เป็นภัยคุกคามต่อระบบการใช้กฎหมาย และเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของรัสเซีย นอกจากกิจการภายในของรัสเซียแล้ว นายจอร์จ โซรอส ก็เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการภายในของยูเครน ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของรัสเซีย แต่รัฐบาลยูเครนเป็นรัฐบาลที่เป็นมิตรกับตะวันตกและต่อต้านรัสเซีย โดยช่วงต้นปี 2558 นายโซรอสพยายามเรียกร้องให้กลุ่มประเทศตะวันตก สนับสนุนเงิน 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.5 ล้านล้านบาท) ให้แก่รัฐบาลยูเครน สำหรับใช้เป็นงบประมาณกลาโหม เพื่อสู้รบกับรัสเซีย ส่งผลให้นายโซรอสกลายเป็นภัยคุกคามสำหรับรัสเซีย
2.ประเทศฮังการี
รัฐบาลฮังการี ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี วิกเตอร์ ออร์แบน (Viktor Orbán) แม้ว่าเขาจะเคยได้รับทุนการศึกษาจากมูลนิธิโซรอส (Soros Foundation) เพื่อไปศึกษาต่อที่คณะรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด แต่เมื่อกลับมาลงเล่นการเมืองในฮังการี นอกจากจะไม่ทำตามเป้าหมายของนายโซรอส ผู้เป็นนายทุนที่เคยให้ทุนการศึกษาแก่ตนแล้ว ยังออกนโยบายที่เป็นผลเสียกับเครือข่ายของนายโซรอส เพื่อยับยั้งปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศฮังการี
หลังจบการศึกษาจากอ็อกซ์ฟอร์ด แล้วกลับมาทำงานด้านการเมืองที่บ้านเกิด และก้าวขึ้นมาเป็นนายกฯบริหารประเทศฮังการี นายวิกเตอร์ ออร์แบน ก็พบว่า นายทุนผู้เคยสนับสนุนเงินการศึกษาให้แก่เขาในสมัยหนุ่ม ๆ นั้น เป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการบังคับให้ประเทศต่าง ๆ ในสหภาพยุโรป ต้องเปิดพรมแดนให้ผู้อพยพจากตะวันออกกลางและแอฟริกาเข้ามาภายในประเทศ เขาจึงตัดสินใจเสนอร่างกฎหมายฉบับใหม่ที่มีชื่อว่า “Stop Soros” เพื่อหยุดยั้งนายจอร์จ โซรอส ทั้ง ๆ ที่ฮังการีเป็นบ้านเกิดของนายโซรอส และเพื่อขัดขวางเครือข่าย NGOs ของนายโซรอส ที่พาผู้อพยพจำนวนมากเข้ามาในฮังการี ซึ่งร่างกฎหมาย “Stop Soros” ถูกร่างขึ้นจนแล้วเสร็จ และได้รับการรับรองจากเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาฮังการี เมื่อเดือนมิถุนายน 2561/2018 โดยมีกฎข้อบังคับให้องค์กร NGOs ที่รับเงินจากเครือข่ายของนายโซรอส หรือรับเงินจากต่างชาติ ต้องเสียภาษี 25% และหาก NGOs องค์กรใดแอบลักลอบพาผู้อพยพเข้ามาในประเทศฮังการี ก็จะต้องถูกลงโทษจำคุกตามที่ร่างกฎหมาย “Stop Soros” กำหนด
และด้วยเงื่อนไขของร่างกฎหมาย “Stop Soros” เมื่อเดือนพฤษภาคม 2561/2018 ว่า องค์กร Open Society Foundations (OSF) จำเป็นต้องย้ายสำนักงานจากฮังการี ไปอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เนื่องจากร่างกฎหมาย “Stop Soros” ทำให้ OSF และเครือข่าย ไม่สามารถเคลื่อนไหวในฮังการีต่อไปได้ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยเซ็นทรัลยูโรเปียน (Central European University – CEU) ก็ถูกรัฐบาลฮังการีกดดันอย่างหนัก จนต้องย้ายมหาวิทยาลัยไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งมหาวิทยาลัย CEU นี้ ก่อตั้งโดยนายจอร์จ โซรอส เมื่อปี 2534/1991 ซึ่งแนวคิดด้านวิชาการของ CEU โดยเฉพาะเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ย่อมมีแนวคิดแบบเดียวกับเจ้าของผู้ก่อตั้ง และย่อมมีแนวคิดหัวรุนแรง คล้าย ๆ หรือมากกว่า มหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วโลก
3.ประเทศจีน
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2561/2018 นายไมเคิล คอฟ์ริก (Michael Kovrig) อดีตนักการทูตชาวแคนาดา ถูกทางการจีนควบคุมตัว หลังจากที่นางเมิ่ง หว่านโจว (Meng Wanzhou; 孟晚舟) ผู้บริหารฝ่ายการเงิน (CFO) ของบริษัทหัวเว่ย ถูกตำรวจแคนาดาควบคุมตัวเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561 ซึ่งนายไมเคิล คอฟ์ริก มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาอาวุโสของ International Crisis Group (ICG) องค์กรวิจัย หรือ “Think Tank” ด้านการต่างประเทศ ที่มีนายจอร์จ โซรอส และนายอเล็กซานเดอร์ โซรอส (Alexander Soros – ลูกชาย) เป็นคณะกรรมการ ICG
จึงทำให้สามารถประเมินได้ว่า รัฐบาลจีนใช้นโยบาย “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” กับชาติตะวันตกที่จับผู้บริหารของหัวเว่ย ด้วยการจับที่ปรึกษาอาวุโส ICG ซึ่งเป็นเครือข่ายของนายโซรอส และ ICG ก็ยังเป็นองค์กร Think Tank ที่ได้รับความไว้วางใจจากทั้งอดีตนักการเมืองของทั้งพรรคเดโมแครต และพรรครีพับลิกัน โดยเฉพาะ พลเอก คอลิน พอเวลล์ (Gen. Colin Powell) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ที่เคยโกหกในเวทีการประชุมสหประชาชาติ ว่าอิรักมีอาวุธชีวภาพทำลายล้างสูง เพื่อชักจูงให้ชาติพันธมิตรร่วมทำสงครามถล่มอิรัก
4.ประเทศอินเดีย
วันที่ 29 กันยายน 2563/2020 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า รัฐบาลอินเดีย ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี (Narendra Modi) ได้สั่งอายัดบัญชีธนาคาร ขององค์กรนิรโทษกรรมสากล หรือ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล อินเดีย (Amnesty International India) เป็นผลให้ทั้งองค์กร ไม่สามารถเคลื่อนไหวภายในประเทศอินเดีย
แอมเนสตี้ ระบุว่าเพิ่งจะทราบเมื่อวันที่ 10 กันยายน ว่าบัญชีธนาคารในอินเดียถูกรัฐบาลสั่งอายัด ซึ่งทำให้จำเป็นต้องปลดพนักงานออก รวมถึงยุติกิจกรรมรณรงค์ และโครงการวิจัยทั้งหมด ซึ่งมีการเปิดโปงในต่างประเทศว่า องค์กรแอมเนสตี้ในสหรัฐฯ และองค์กรแอมเนสตี้ในไอร์แลนด์ ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก Open Society Foundations ของนายจอร์จ โซรอส
5.ประเทศกัมพูชา
-ปี 1017 รัฐบาลกัมพูชา โดยนายกรัฐมนตรี ฮุนเซ็นสั่งปิดองค์กรเอกชนอเมริกันที่ทำงานด้านส่งเสริมประชาธิปไตย พร้อมสั่งเจ้าหน้าที่ต่างชาติออกนอกประเทศภายใน 7 วัน อ้างไม่จ่ายภาษี ไม่จดทะเบียนให้ถูกต้อง ทางการของกัมพูชาได้มีคำสั่งปิดองค์กรเอกชนอเมริกันที่ทำงานด้านส่งเสริมประชาธิปไตย พร้อมสั่งเจ้าหน้าที่ต่างชาติออกนอกประเทศภายใน 7 วัน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีคำสั่งปิดหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ กัมพูชาเดลี ไปแล้วเช่นกัน
โดยสาเหตุของการสั่งปิดนั้น ทางรัฐบาลได้ให้เหตุผลว่า เป็นเพราะองค์กรด้านประชาธิปไตยดังกล่าว ไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ได้จ่ายภาษี ทำตัวเหมือนหัวขโมย จึงสั่งให้องค์กรนี้ปิดทำการ และให้เจ้าหน้าที่ชาวต่างชาติเดินทางออกจากกัมพูชาภายใน 7 วัน อีกทั้งเขายังเชื่อว่าองค์กรดังกล่าวมักวิจารณ์รัฐบาลโดยการนำของเขาไปแบบเสียๆ หายๆ มานับครั้งไม่ถ้วนนั่นเอง
-ปี 2019:สมเด็จฯฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ระบุในการกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชอาร์ซี) ประณามชาติตะวันตกว่าใช้ “สิทธิมนุษยชน” เป็น “เครื่องมือทางการเมือง” โดยฮุน เซน ระบุในสุนทรพจน์ว่า กัมพูชารู้สึกเสียใจที่ได้รู้ว่าทุกวันนี้สิทธิมนุษยชนถูกใช้เป็นเครื่องมือโดยชาติมหาอำนาจ หรือใช้เป็นข้ออ้างในการแทรกแซงประเทศอ่อนแอที่มีอำนาจอธิปไตย แม้ประเทศเหล่านั้นเองจะมีประวัติสิทธิมนุษยชนในประเทศที่เต็มไปด้วยปัญหา หวาดกลัวชาวต่างชาติ เหยีดเชื้อชาติ ปัญหาผู้ลี้ภัย ก็ตาม
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีกัมพูชายังโจมตีองค์กรเอ็นจีโอต่างๆด้วยว่าถูกใช้เป็นเครื่องมือหุ่นเชิดเพื่อผลประโยชน์ของต่างชาติ ทั้งนี้การแสดงความเห็นดังกล่าวของฮุน เซน มีขึ้นหลังอียูยกเลิกผลประโยชน์ทางการค้าให้กับกัมพูชาตอบโต้การเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใสของกัมพูชา ส่งผลกระทบอย่างหนักกับธุรกิจส่งออกเสื้อผ้าของกัมพูชาเอง นอกจากนี้ความเห็นดังกล่าวยังมีขึ้นหลังรัฐบาลสหรัฐนำโดยโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีวิพากษ์วิจารณ์การยุบสภาของกัมพูชาว่าเป็นการกัดกร่อนประชาธิปไตยในกัมพูชา