จับสัญญาณเตือน…ภัยสงครามโลกครั้งที่ 3

6163

จับสัญญาณเตือน…ภัยสงครามโลกครั้งที่ 3
Sign of the time….www III
ทำไมอเมริกาต้องทุ่มสุดตัวทั้งเงินและกำลังคนมหาศาล ไปกับความขัดแย้งในตะวันออกกลาง
ถ้าไม่ใช่เพราะผลประโยชน์ “น้ำมัน” ซึ่งผูกติดกับค่าเงินสกุลดอลลาร์ ในนาม “ปิโตรดอลลาร์”
และมีท่าทีแข็งกร้าวแบบสุด ในทุกเรืองที่เกี่ยวกับจีนและอิหร่าน หรือนี่คือสัญญาณบอกว่า
ใครก็ตามที่บังอาจบีบหัวใจทศกัณฑ์ มันผู้นั่นไม่อาจอยู่ร่วมโลก ไม่มีใครยอมถอย ก็ต้องชน
ปรากฏการณ์สงครามการค้า และสงครามราคาน้ำมันระหว่างมหาอำนาจ
ฝั่งตะวันตกและพันธมิตรฝั่งตะวันออก
ได้สร้างแรงกดดันสั่นสะเทือนภาวะเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางแก่ทุกประเทศ ในขอบเขตทั่วโลก
ซ้ำเติมด้วยพายุโควิด-19 ทุกประเทศซวนเซไม่เว้น ไม่ว่าปกครองระบอบอะไร
Trade War: สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ดำเนินต่อเนื่องมาถึงสองปี ทวีความรุนแรงขึ้น
ตั้งแต่สหรัฐฯ ได้ตั้งกำแพงภาษีต่อสินค้าจีนรอบใหม่มูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 6.5
ล้านล้านบาท ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ24 ก.ย.2562 โดยเริ่มเก็บจาก 10% และเพิ่มเป็น 25% ในช่วง 2563
เกิดภาวะตึงเครียดในห่วงโซ่การผลิต และการดำเนินธุรกิจการค้า ที่เกียวเนื่องกันของทั้งสองประเทศ
สืบเนื่องมาถึงปัจจุบันแค่พักยก แต่ยังไม่คลี่คลาย
Petro-Price War: ต้นปี 2563 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก จาก 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ร่วงลงมาถึง 20
ดอลลาร์ต่อบาร์เรลซึ่งถือว่าต่ำสุดในรอบ 18 ปี และจนถึงปัจจุบันก็ยังแกว่งในกรอบแคบๆ
อย่างไม่มีแนวโน้มจะกลับมาสูงขึ้นอย่างในอดีต ปรากฏการณ์นี้มีสาเหตุมาจาก
การไม่สามารถตกลงเรื่องลดกำลังการผลิตน้ำมัน ระหว่างรัสเซียและซาอุดีอารเบีย
บานปลายจนคุมกันไม่ได้ เสียหายกันไปอย่างทั่วหน้า โดยเฉพาะประเทศและบริษัทน้ำมันทั่วโลก
จึงได้เห็นมูลค่าหุ้นของบริษัทยักษ์ใหญ่น้ำมันที่เคยมั่งคั่งเหลือแสน
หดตัวดำดิ่งแบบช็อคกันไปอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
โดมิโนทางเศรษฐกิจที่ก่อตัวเป็นคลื่นสินามิ ได้เริ่มขึ้น และซ้ำเติมอย่างหนักเมื่อวิกฤติโควิด-19 มาเยือน
ได้ส่งผลให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันหยุดชะงัก เช่นอุตสาหกรรมการบิน การขนส่งคน
การขนส่งสินค้าชะงักงัน และมีแนวโน้มฟุ๊บไม่ฟื้นไปอีกไม่น้อยกว่า 3 ปี ตามการคาดการของ
สมาคมขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ หรือไออาต้า (IATA: International Air Transport Association)
โควิด-19 เป็นปัจจัยภายนอกสำคัญที่ทำให้โลกเปิดเผยกลไก
ที่ยึดเหนี่ยวระบบทุนนิยมโลกชัดเจนขึ้นผลประโยชน์ที่เคยเฟื่องฟูได้รับผลกระทบอย่างหนัก
ขาใหญ่อเมริกาที่เคยทำอะไรก็ได้ผ่านระบบปิโตรดอลลาร์ เริ่มติดขัดขลุกขลัก
เคยพิมพ์เงินมหาศาลเท่าไหร่ก็ได้โดยไม่ต้องมีทองคำมาค้ำประกัน
อัดฉีดเข้าประเทศสหรัฐและประเทศบริวารตามใจชอบ ทำได้ไม่สะดวกเหมือนอดีต
มีประเทศใดในโลกที่แก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยการพิมพ์เงินเข้าไปอุ้มได้ไม่อั้นโดยการรับรองของ
Federal Reserve (System) หรือ Fed ซึ่งใครกุมบังเหียน ถ้าไม่ใช่ 7
ตระกูลนายธนาคารเชื่อมโยงอิสราเอล
ความมั่นคงของ “ปิโตรดอลลาร์” เริ่มสั่นคลอน เมื่อจีนและรัสเซียซื้อขายน้ำมันกันด้วย หยวนและรูเบิล
ประเทศบริวารอย่างซาอุดิอาราเบีย เริ่มมีท่าทีเพิ่มสัมพันธไมตรีกับรัสเซียมากขึ้น
การวางเส้นทางสายไหมใหม่ของศตวรรษที่ 21 อย่าง One Belt One road
ของจีนได้รับการตอบรับอย่างมีนัยยะสำคัญ

แม้แต่ประเทศในยุโรป ยังกล้าปฏิเสธคำสั่งของสหรัฐในการกีดกันบริษัทหัวเหว่ยของจีนอย่างไม่เกรงใจ
ปัจจัยภายนอกเหล่านี้รุมเร้า เขย่ามหาอำนาจอย่างไม่ลดละ ในขณะที่ปัจจัยภายในประเทศ
สภาพง่อนแง่นทางเศรษฐกิจทั้งอเมริกาและยุโรป สมทบกับวิกฤติโควิด-19 ออกอาการชัดเจน
แม้องค์กรโลกบาลทางการเงินทั้งหลายพยายามอุ้มด้วยมาตรการทางการเงินอย่างเคยๆก็ไร้ผล
นักวิเคราะห์การเงิน นักธุรกิจ นักลงทุนของสหรัฐเก็บอาการไม่อยู่เรื่อง Hiper Inflation ของดอลลาร์
ตลาดหุ้นที่อ่อนไหวผันผวน
สะเทือนที่สุดน่าจะเป็น “New Digital Currency- Yuen Digital”
เมื่อจีนชิงประกาศเงินดิจิตอลสกุลใหม่ตอบสนอง New Nomal ของสังคมโลกหลังวิกฤติโควิด
ส่งหยวนดิจิตอล หรือ ปิโตรหยวนมาแข่งรัศมีกับDigital Coin (ยังไม่มีชื่อ) และปิโตรดอลลาร์
อะไรก็เกิดขึ้นได้
นอกจากนี้การประกาศท้ารบอย่างไม่กลัวเกรงของอิหร่านและพันธมิตร ในตะวันออกกลาง
สร้างบรรยากาศมาคุระอุร้อนแห่งสงครามอย่างแท้จริง ล่าสุด 18 พค.2563
รัฐสภาอิหร่านผ่านร่างกฎหมาย
“Facing Israeli hostile measures against regional and international security”
หรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการต่อต้าน/ตอบโต้ศัตรูอิสราเอลระดับภูมิภาคและนานาชาตินั่นเอง
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ประกาศฉีกสัญญาว่าด้วยการจำกัดการพัฒนานิวเคลียร์ที่ทำขึ้นเมื่อปี 2015
ไปเมื่อต้นปี
“ปิโตรดอลลาร์” คือหัวใจแห่งสายธารผลประโยชน์ทั้งมวลของมหาอำนาจตะวันตก
(อิสราเอล+สหรัฐ+พันธมิตร) เมื่อแหล่งน้ำแห่งผลประโยชน์ที่เคยตักตวงงวดลง เรื่องที่เคยคุยกันได้
ผ่อนปรนกันได้ ก็ชักจะไม่ได้ ความก้าวร้าวของมหาอำนาจแฝงด้วยความจนแต้มเมื่อช่องทางคับแคบลง
การปะทะกันของยักษ์มหาอำนาจ ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ด้วยอำนาจแห่งปิโตรดอลลาร์นี้ มหาอำนาจตะวันตกนำมาใช้ ภายใต้กฎกติกาที่พวกเขาวางขึ้น
ในรูปของสิทธิประโยชน์ทางการค้าการลงทุนมา ล่อหลอกแลกกับทรัพย์สินทั้งในอากาศ
ในน้ำและบนดินที่ประเทศอื่นๆมีอยู่ ไม่เว้นพืชพรรณธัญญาหารที่ธรรมชาติสรรค์สร้างให้แก่เพือนมนุษย์
นับแต่นี้ไปไม่น่าจะราบรื่นง่ายดายเท่าใดนัก
ใครที่ยังมืดบอดกับเม็ดเงิน ตัวเลขจีดีพีสวยหรู ผ่านสัญญาทาสทั้งหลายโปรดคิดใหม่
โลกจะไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว!
///21/05/2020