สงครามเงินตรา…ชิงธงนำโลกเศรษฐกิจดิจิทัล Who will win the New Digital Currency War

6001

สงครามเงินตรา…ชิงธงนำโลกเศรษฐกิจดิจิทัล
Who will win the New Digital Currency War
วัดพลังกันเป็นช็อตๆ ใครเร็วกว่าแรงกว่าหนักหน่วงกว่ากัน ระหว่างอำนาจเงินเก่า-อำนาจเงินใหม่
เมื่อโลกถูกบังคับให้ใช้ชีวิตบนมายาเศรษฐกิจอย่างเฉียบพลัน
ขณะที่สหรัฐอเมริกา กำลังระส่ำกับปัญหาการระบาดของเชื้อโควิด-19 ภายในประเทศ
จนมีผู้ติดเชื้อรวมกันเป็นอันดับ 1 ชองโลก ติดเชื้อสะสม 1,695,776 ราย เสียชีวิต 100,047 ราย
สหราชอาณาจักรเสียชีวิตรองลงมา เป็นจำนวน 37,542 รายแต่ติดเชื้อสะสม 268,616 ราย (28 พค.63)
โดยยังไม่มีแนวโน้มว่าจะหยุดหรือลดลงแม้แต่น้อย เมื่อสหรัฐอเมริกาเซ อาจเพราะประมาท
คาดไม่ถึงฤทธิ์มฤตยูโควิด-19 ทำให้ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เอาแต่แสดงบทกร้าว
ประกาศโทษคนนั้น คนนี้คือต้นเหตุวิกฤติโรคระบาด, วิกฤติเศรษฐกิจของอเมริกา
อีกทั้งประกาศจะทำสงครามการค้ารอบใหม่อีกครั้ง ก่อกระแสหวั่นวิตกกว้างขวางไปทั่วโลก
จึงเป็นโอกาสอันดีและเป็นจังหวะเหมาะสมที่สุดของจีน ที่ได้ประกาศ เปรี้ยง-เงินสกุลดิจิทัลของโลกใหม่
ปักธงนำหยวน-หยวนดิจิทัลชูเป็นเงินสกุลหลักของโลกใหม่หลังโควิด เป็นที่ตกตะลึงพรึงเพริดยิ่ง
“จีนเปิดฉากรุกยึดหัวหาด Yuan Digital Currency Electronic Payment (DCEP)
ในนามประเทศครั้งแรกในโลก ณ บัดนาว”
ไชน่าเดลี่ เปิดเผยว่า หยวนดิจิทัลซึ่งออกโดยธนาคารกลางจีน (PBOC)
จะทดลองใช้ทำธุรกรรมครั้งแรกใน 4 เมืองหลัก คือ เสิ่นเจิ้น ซูโจว เฉิงตู สงอัน
และยอมรับว่าเป็นแผนการที่เตรียมการล่วงหน้ามาหลายปีแล้ว อีกด้านหนึ่ง
จีนได้ประกาศกฎหมายรองรับในเดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมา พร้อมจับมือกับพันธมิตร Digital
Payment ในประเทศเช่น Alipay ของ Alibaba และ WeChat Pay ของ Tencent
สร้างแพลตฟอร์มรองรับการใช้งานระบบเงินดิจิทัลได้ทันที
ในการนี้มีภาคธุรกิจที่ให้การตอบรับอย่างคึกคัก 19 แห่ง ซึ่งรวมถึงเชนร้านอาหารชื่อดังจากสหรัฐฯ อย่าง
Starbucks, Subway และ McDonald’s
อาวุธช็อตแรกของจีนที่ปล่อยออกมาคือ หยวนดิจิทัลเคอร์เรนซี่ และบล็อกเชนแพลตฟอร์ม
ทั่วโลกถูกกดดันบังคับให้ปรับเปลี่ยน เรียกว่าเป็นการ Forced Transformation
ให้ปฏิวัติสู่วิถีใหม่ซึ่งเรียกกันว่า Disruption ด้วยบทบาทของไวรัสจิ๋วที่ชื่อว่าโควิด-19
ในประเทศจีน การทำธุรกรรมการเงินผ่านดิจิทัลมีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ
eMarketplace รายใหญ่ เช่น Alibaba Taobao Lazada และ Shopee
ขณะที่สำนักงานบริหารเงินตราต่างประเทศแห่งชาติจีน ระบุว่า
สัดส่วนการใช้เงินหยวนในการชำระเงินระหว่างประเทศสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ถึง 38% ในเดือนมีนาคม
2563 มากกว่า 1 ใน 3 ของการชำระเงินซึ่งสะท้อนว่าเงินหยวนมีความสำคัญเพิ่มขึ้นมาก
นับจากที่ถูกนำมาคำนวณในตะกร้าเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศในปี 2015
ความสำคัญของเงินหยวนมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระบบการชำระเงินของโลก
ขณะที่เดิมก็เป็นหนึ่งในสกุลเงินหลัก 1 ใน 5 ของโลก
ที่มีบทบาทในการค้าที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทจีน
และยังเป็นสกุลเงินหลักที่มีทองคำหนุนหลังมากที่สุด
แน่นอนเงินหยวนดิจิทัลย่อมมีทองคำแบคอัพแข็งแกร่งเช่นกันอีกด้วย

นักวิเคราะห์ต่างประเมินว่าหยวนดิจิทัล
มีโอกาสสั่นคลอนสถานะของดอลลาร์สหรัฐที่ครองความเป็นเจ้าสกุลเงินของโลกมานานหลายทศวรรษ
การทำธุรกรรมด้วยเงินดิจิทัลจะเป็นโอกาสดีของจีนในการเพิ่มบทบาทและทำให้ทั่วโลกหันมาใช้เงินหย
วนกันแพร่หลายมากขึ้น ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ
เปิดทางให้ธุรกิจต่างชาติสามารถทำข้อตกลงการค้าโดยที่ไม่ต้องใช้เงินดอลลาร์
ซึ่งลดความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนและมีต้นทุนต่ำกว่า

การเปลี่ยนรูปแบบจากเงินกระดาษมาเป็นดิจิทัลเป็นมากกว่าสัญญาณว่าถึงเวลาของยุคดิจิทัล (Digital
Age) อย่างเต็มตัวแล้ว
จีนได้นำเสนอทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการควบคุมการทูตทางเศรษ
ฐกิจโลก ในศตวรรษที่ 21 ด้วยการริเริ่มกำหนดมาตรฐานสำหรับระบบเงินตราดิจิทัลก่อนใคร ทั้งๆที่
ภาคเอกชนฝั่งตะวันตกได้ชิมลางนำเสนอมาก่อน ผ่าน ลิบรา (Libra) และบิทคอยน์
(Bitcoin)ซึ่งเป็นคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency)ฝั่งอำนาจตะวันตก แต่มีจุดอ่อนที่เอกชนนำเสนอ
มีเงื่อนไขต่างกันไปตามใจเจ้าของ ต่างกับเงินดิจิทัลที่ประเทศเป็นผู้ให้การรับรองของจีน
ซึ่งมีเครดิตมากกว่า งานนี้… ใครลงมือก่อน ยึดพื้นที่ได้ก่อนได้เปรียบ

ฝ่ายตะวันตกมีท่าทีตั้งรับ ขณะที่รัสเซียและอินเดีย ก็ยังไม่มีท่าทีคัดค้านหรือสนับสนุนอย่างเด่นชัด
เป็นที่ทราบกันดีว่า ที่ผ่านมาบทบาทของเงินสกุลดอลลาร์ทำให้สหรัฐฯ
มีอำนาจมหาศาลในทุกมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมของโลก
ศูนย์กลางของระบบการเงินโลกตั้งอยู่ในมหานครนิวยอร์ก
ที่ซึ่งมีธุรกรรมชำระเงินในรูปดอลลาร์จำนวนนับล้านล้านครั้งในทุกวินาที ขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯ
ยังใช้ประโยชน์จากดอลลาร์ในการคว่ำบาตรประเทศอื่นๆที่แข็งขืน เช่นเกาหลีเหนือและอิหร่าน
ตลอดจนประเทศอื่นๆในตะวันออกกลางและอาฟริกา

ดังนั้นเพื่อปกป้องอำนาจอธิปไตยในการปริวรรตเงินตราระหว่างประเทศ
เราจึงได้เห็นจีนเปิดฉากชิงการนำก่อน ในขณะที่ฝั่งตะวันตกยังละล้าละลัง
อาจด้วยมั่นใจว่าประเทศจีนพร้อมแล้ว ทั้งขนาดเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น
แค่กรณีเดียวที่ปักกิ่งให้เงินสนับสนุน WHO จำนวน 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหนุนช่วยสู้โควิด-19
ในขณะที่สหรัฐฯ ตัดเงินช่วยเหลือ
หรือพร้อมทั้งบทบาทการเมืองระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับมากขึ้นทั่วโลก
และที่สำคัญพร้อมทางด้านความมั่นคงทางทหาร ทั้งขนาดและความทันสมัยของกองทัพ
ที่พร้อมดูแลพันธมิตรอย่างถึงที่สุด ดูจากเม็ดเงินที่ปักกิ่งทุ่มลงไปในด้านเทคโนโลยีประมาณ 10
ล้านล้านหยวน (1.4 ล้านล้านดอลลาร์ สหรัฐ) ครอบคลุมไปถึง ปี 2025
และงบพัฒนากองทัพเพิ่มจากปีก่อนอีก 9%

ประเทศไทย จะอยู่ตรงไหนในกระแสปริวรรตเงินตราโลกโดยไม่ตกเป็นแค่เหยื่อของสถานการณ์
คงต้องเกาะติดทั้งสองฝั่งอย่าได้กะพริบตา

…………………………………………………………..