สหรัฐ-อียูวุ่นอีก! รัสเซีย จ่อถอนตัว “สถานีอวกาศนานาชาติ” ทำเสียการควบคุม อาจดิ่งสู่พื้นโลก?

2085

สหรัฐ-อียูวุ่นอีก! รัสเซีย จ่อถอนตัว “สถานีอวกาศนานาชาติ” ทำเสียการควบคุม อาจดิ่งสู่พื้นโลก?

จากกรณีที่สื่อต่างประเทศได้รายงานว่า ดมิทรี โรโกซิน ผู้อำนวยการองค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซีย หรือรอสคอสมอส หให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์รอสซิยา 24 ของรัสเซีย ว่า ได้กำหนดกรอบเวลาของการถอนตัวออกจากไอเอสเอสแล้ว ทางการรัสเซียยังไม่จำเป็นต้องประกาศต่อสาธารณะ แต่จะมีการแจ้งบรรดาพันธมิตรของไอเอสเอสหนึ่งปีล่วงหน้า เขากล่าวว่า ขอบเขตของการทำกิจกรรมบนไอเอสเอสนั้นจะกำหนดโดยรัฐบาลและประธานาธิบดี รอสคอสมอสจะมีเวลาในการทำหน้าที่บนไอเอสเอสไปจนถึงปี 2024 ซึ่งสิ่งที่เขาสามารถบอกได้ตอนนี้คือ จากข้อบังคับ รัสเซียจะต้องแจ้งเตือนประเทศพันธมิตรหนึ่งปีล่วงหน้าหากจะยุติการปฏิบัติหน้าที่บนไอเอสเอส

โรโกซิน ยังกล่าวด้วยว่า ในช่วงเวลาที่เหลือนี้ รัสเซียจะเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้งาน Russian Orbital Service Station หรือ รอสส์ ซึ่งเป็นสถานีอวกาศแห่งใหม่ของรัสเซีย และจะสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ

เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โรโกซินกล่าวโทษมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกว่า เป็นอุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้รอสคอสมอสดำเนินการตามปกติได้เมื่อต้องทำงานร่วมกับสหรัฐฯและชาติตะวันตกอื่นๆ บนไอเอสเอส และว่ารัสเซียต้องยุติภารกิจบนไอเอสเอสตราบใดที่สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และแคนาดา ไม่ยกยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศของรัสเซีย

ทั้งนี้ รัสเซียควบคุมระบบควบคุมการเคลื่อน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของไอเอสเอส โดยปกติแล้ว เมื่อไอเอสเอสอยู่ในวงโคจร แรงโน้มถ่วงของโลกจะดึงไอเอสเอสมายังชั้นบรรยากาศ ดังนั้น ไอเอสเอสจึงต้องใช้โมดูลขับเคลื่อน พยุงให้ไอเอสไอสอยู่ในที่ที่ควรจะเป็น หากไม่มีการควบคุมนี้ของรัสเซีย ไอเอสเอสจะค่อยๆ ตกไปสู่ชั้นบรรยากาศโลกและจะเผาไหม้ แม้นักบินอวกาศยังมีเวลาในการหนีออกมา และเดินทางกลับโลกได้ แต่หากไม่มีการควบคุม อาจมีชิ้นส่วนหนักจำนวนมาก ตกลงมาที่พื้นผิวโลกได้

นอกจากนี้ ชาติต่างๆ ต้องใช้ยานโซยุซของรัสเซียในการนำนักบินอวกาศทั้งจากสหรัฐฯ ยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น และแขกคนอื่นๆ ไปยังไอเอสเอส โดยโรโกซินเคยกล่าวว่า ไม่มีอะไรแทนที่ยานโซยุซได้ สหรัฐฯ ก็ไม่มียานเช่นนนี้ นอกจากนี้ รัสเซียยังช่วยขับเคลื่อนไอเอสเอสไม่ให้ชนขยะบนอวกาศและรักษาระดับโคจรที่ถูกต้อง เน้นย้ำว่ารัสเซียคือผู้อุทิศหลักให้กับไอเอสเอส ดังนั้น การที่ไม่มีรัสเซียในไอเอสเอส ไอเอสเอสก็จะไม่มีอยู่อีกต่อไป

สถานีอวกาศนานาชาติเป็นโครงการร่วมกันระหว่างหน่วยงานด้านอวกาศ 5 หน่วยจากชาติต่างๆ ได้แก่ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA, สหรัฐอเมริกา), องค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซีย (RKA, รัสเซีย) ,องค์การอวกาศแคนาดา (CSA, แคนาดา) ,องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA, ญี่ปุ่น) และ องค์การอวกาศยุโรป (ESA, สหภาพยุโรป)

การระบุความเป็นเจ้าของและการใช้สอยสถานีดำเนินการภายใต้สนธิสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับ โดยที่รัสเซียเป็นเจ้าของชิ้นส่วนโมดูลของรัสเซียเองโดยสมบูรณ์ ESA ประเมินค่าใช้จ่ายของโครงการสถานีอวกาศนานาชาติอยู่ที่ประมาณ 100,000 ล้านยูโรตลอดช่วงระยะเวลา 30 ปี ด้วยงบประมาณมหาศาลนี้ทำให้โครงการกระสวยอวกาศนานาชาติตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์มากมายทั้งในด้านการเงิน ความสามารถในการทำวิจัย และการออกแบบทางเทคนิค

ส่วนต่างๆ ของสถานีถูกควบคุมโดยศูนย์ควบคุมปฏิบัติการบนพื้นโลกหลายแห่ง รวมไปถึง ศูนย์ควบคุมปฏิบัติการของนาซา (MCC-H) ศูนย์ควบคุมปฏิบัติการของ RKA (Russian Space Agency – TsUP) ศูนย์ควบคุมโครงการโคลัมบัส (Col-CC) ศูนย์ควบคุม ATV (ATV-CC) ศูนย์ควบคุมปฏิบัติการของญี่ปุ่น (JEM-CC) และศูนย์ควบคุมปฏิบัติการสำคัญอื่นๆ (HTV-CC และ MSS-CC)  การซ่อมบำรุงสถานีอวกาศนานาชาติดำเนินการโดยกระสวยอวกาศทั้งแบบที่ใช้มนุษย์และไม่ใช้มนุษย์ควบคุม รวมถึงกระสวยอวกาศโซยูส กระสวยอวกาศโพรเกรส ยานขนส่งอัตโนมัติ และ ยานขนส่ง H-IIมีนักบินอวกาศและนักสำรวจอวกาศจากประเทศต่างๆ 15 ประเทศได้ขึ้นไปเยี่ยมชมแล้ว