เปิดข้อมูลสุดอึ้ง! ปล่อยตัว “ดีเจต้อย” คดีเผาศาลากลางอุบลฯ เสียหายนับร้อยล้าน โทษคุกตลอดชีวิต ติดจริงแค่ 6 ปี 

2216

เปิดข้อมูลสุดอึ้ง! ปล่อยตัว “ดีเจต้อย” คดีเผาศาลากลางอุบลฯ เสียหายนับร้อยล้าน โทษคุกตลอดชีวิต ติดจริงแค่ 6 ปี

จากกรณีที่ นายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ผู้ดำเนินรายการ VOICE TV โพสต์ทวิตเตอร์ sirote klampaiboon @sirotek ว่า ด่วน! เสื้อแดงอุบล 2 คนสุดท้ายจากคดีปี 53 “อาจารย์ต้อย” และ “ชัชวาลย์” ได้รับการปล่อยตัวตามเกณฑ์ลดโทษหลังถูกศาลฎีกาจำคุกตลอดชีวิตตั้งแต่ปี 58 #เสื้อแดง #คนเสื้อแดง

ย้อนไปก่อนหน้านี้ เมื่อวัน 15 ธ.ค. 2558 ศาลจังหวัดอุบลราชธานีได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 ซึ่งมีผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีจำนวน 21 คน แต่มีการยกฟ้องและอัยการโจทก์ไม่ติดใจยื่นฎีกาจำนวน 8 ราย คงเหลือผู้ต้องหาที่มาขึ้นศาลฟังคำตัดสินของศาลฎีกา รวม 13 คน

ภายหลังศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาเสร็จ นายวัฒนา จันทศิลป์ ทนายจำเลย เปิดเผยว่า ศาลได้มีการกลับคำพิพากษาจำเลยเป็นรายบุคคล ประกอบด้วย

1.นายพิเชษฐ์ ทาบุดดา หรือดีเจต้อย แกนนำ นปช.อุบลราชธานี จากเดิมจำคุก 1 ปี เป็นประหารชีวิต แต่ลดโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต

2. นายชัชวาลย์ ศรีจันดา ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง แต่ศาลฎีกาพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิต

3. นางอรอนงค์ บรรพชาติ ศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 2 ปี ศาลฎีกาพิพากษาเป็นจำคุก 33 ปี 4 เดือน

4. นายลิขิต สุทธิพันธ์ จากจำคุก 2 ปี พิพากษาแก้เป็นจำคุก 33 ปี 4 เดือน

โดยทนายจำเลย กล่าวว่า การอ่านคำพิพากษาลงโทษจำเลยบางรายที่เคยถูกยกฟ้อง หรือได้รับโทษไม่มาก เพราะศาลฎีกาเชื่อตามพยานหลักฐาน และคำเบิกความของพยานว่า ทุกคนมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด โดยเฉพาะนายพิเชษฐ์ ทาบุดดา ศาลเชื่อว่าเป็นผู้บงการให้มีการเผาศาลากลางจังหวัดตามที่อัยการยื่นฟ้องจริง ส่วนมูลค่าความเสียหายนับร้อยล้านบาท

ทั้งนี้ หลังจากศาลมีคำพิพากษา ทางเรือนจำกลางจังหวัดอุบลราชธานีก็จะมารับตัวผู้ต้องหาทั้งหมดไปคุมขังตามคำพิพากษาในวันเดียวกัน มีเพียง จ.ส.อ.สมจิตร สุทธิพันธ์ ที่จะได้รับการปล่อยตัว เพราะได้ถูกคุมขังมาเกินกว่าโทษที่ศาลได้ตัดสินแล้ว

สำหรับ ดีเจต้อย พิเชษฐ์ ทาบุดดา ชาวตระการพืชผล ไม่ต่างหนุ่มอีสานที่เคยไปแสวงโชคยังต่างแดน แต่ต้องกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิดจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อดูแลมารดาที่แก่เฒ่า จึงมีโอกาสเป็นนักจัดรายการวิทยุชุมชน และได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะเป็นแนวบันเทิงสลับข่าวชาวบ้าน

ดีเจต้อย ยุควิทยุชุมชนเฟื่องฟู ไม่ต่างจากดีเจอีสานบ้านนอกกว่าร้อยละ 90 ที่นิยมชมชอบพรรคไทยรักไทย และชื่นชม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อเกิดรัฐประหาร 2549 ดีเจต้อยจึงกระโจนเข้าสู่แนวรบต้านเผด็จการ โดยยึดสูตร ขวัญชัย ไพรพนา ดีเจคนดังเมืองอุดรธานี ในการสร้างองค์กรมวลชน โดยใช้วิทยุชุมชนเป็นสื่อกลาง

ปี 2550 ดีเจต้อยสามารถระดมทุนตั้งสถานีวิทยุชุมชนได้ถึง 2 สถานี และแหล่งทุนใหญ่ของเขา ก็หนีไม่พ้นนักการเมืองขาใหญ่แห่งเมืองดอกบัว กลุ่มชักธงรบ กำเนิดขึ้นจากฐานคนรักทักษิณ ไม่ต่างจากชมรมคนรักอุดรของขวัญชัย

ย้อนไปเมื่อ 26 ก.พ. 2553 ที่สวนสาธารณะทุ่งศรีเมืองด้านถนนราชบุตร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี กลุ่มชักธงรบมวลชนคนเสื้อแดงนำโดยนายพิเชษฐ์ ทาบุดดี หรือดีเจต้อย ตั้งเวทีปิดถนนให้กลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 300 คน รวมตัวชมการถ่ายทอดสดการอ่านคำพิพากษาของศาลฏีกาที่ตัดสินยึดทรัพย์ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระหว่างนั้นกลุ่มคนเสื้อแดงได้ตั้งกล่องรับบริจาค พร้อมจำหน่ายสัญลักษณ์ของคนเสื้อแดงมีเสื้อ ผ้าโพกหัว และรับสมัครสมาชิกคนเสื้อแดง

หลังศาลมีคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์ นายทักษิณกว่า 4.6 ล้านบาท โฆษกบนเวทีได้กล่าวโจมตี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษอย่างเสียหาย โดยกล่าวว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังให้เกิดการยึดทรัพย์ครั้งนี้ พร้อมประกาศว่าให้รอสัญญาณจากแกนนำจากกรุงเทพฯ ซึ่งจะจัดชุมนุมใหญ่ระหว่างวันที่ 10-12 มี.ค. ถ้าแกนนำสั่งระดมพล กลุ่มชักธงรบจะเข้าร่วมเคลื่อนไหวด้วย สำหรับวันนี้ให้คนเสื้อแดงเดินทางกลับที่พัก เพื่อรอฟังคำสั่งจากแกนนำอีกครั้ง

ส่วนท่าที่คนเสื้อแดงอุบลราชธานี ที่ยังอยู่ในที่ตั้ง เพราะแกนนำมีการประเมินสถานการณ์หลังคำตัดสิน และดูท่าทีของสังคมมีความคล้อยตามหรือเห็นต่างต่อคำพิพากษาอย่างไร หากไม่ได้รับแรงสนับสนุนจากส่วนกลาง ก็จะไม่ออกมาเคลื่อนไหวอะไรในขณะนี้