ไม่รอดคุก! เปิดพฤติกรรม “ธนาธร-ปิยบุตร” ปลุกเด็กโจมตีสถาบัน เป็นสะพานหวังล้มล้างการปกครอง?
จากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้อ่านคำวินิจฉัยคำร้องนายณัฐพร โตประยูร ขอให้ศาลวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่าการกระทำของนายอานนท์ นำภา นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือ ไมค์ และ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง ชุมนุมปราศรัย เพื่อเสนอข้อเรียกร้องเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง
ซึ่งทำให้กลุ่มแนวร่วมสามนิ้ว รวมไปถึงพรรคการเมือง หรือกลุ่มคนที่ออกมาสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มคณะราษฎรในการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบัน และโจมตีไปที่สถาบัน ก็เกิดความสงสัยว่า จะโดนดำเนินคดีด้วยหรือไม่
ล่าสุดทางด้าน นายถาวร เสนเนียม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าว ในรายการ Thaimove Talk โดยมีดร.เวทิน ชาติกุล ผอ.สถาบันทิศทางไทย เป็นผู้ดำเนินรายการ ในหัวข้อ “คำวินิจฉัยศาลรธน. ล็อคเป้า ธนาธร ปิยบุตร คุกแน่ๆ” ว่า กรณีของ นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ที่ได้ไปพูดที่มหาวิทยาลัยลอนดอน เมื่อปี 2559 กล่าวหาว่า สถาบันพระมหากษัตริย์เข้าไปมีอิทธิพลต่อผู้พิพากษา อย่างนี้ถือว่า เข้าตามความผิดแล้ว
หรือนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ที่ไปพูดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการชุมนุมทางการเมือง หากสืบเสาะพฤติกรรมอื่นอย่างเช่น ธนาธร เคยเขียนในหนังสือ Portrait ธนาธร ในหน้าที่272 ว่า นักข่าวถามว่า เมื่อคุณเข้ามาเล่นการเมือง คำว่าตำแหน่งนายกคือลิมิตสูงสุดหรือไม่ หรือมากกว่านั้น ธนาธรบอกว่า ไม่ใช่ แล้วก็ถามว่าตำแหน่งอะไร ก็บอกว่า อำนาจที่พอที่จะไปต่อรองกับ…พฤติกรรมอย่างนี้ บวกกับพฤติกรรมอื่นๆ ก็จะนำไปสู่การวินิจฉัยได้ว่า คนๆนี้ ทำผิดม.116 หรือไม่
หรือการที่นายธนาธรไปพูดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2562ที่แฟลชม็อบที่ธรรมศาสตร์ ว่าการแก้รัฐธรรมนูญมี 2 ทาง หนึ่ง ยินยิมให้แก้ สอง แก้ด้วยเลือด และในขณะที่บอกว่า แก้ด้วยเลือดก็มีคนชูป้ายพระบรมฉายาลักษณ์ อันมิบังควรที่เขียนไว้ในถ้อยคำ พฤติกรรมตั้งแต่ 3 ปี มานี้ ใช้เด็กเป็นเครื่องมือและเป็นสะพานการนำไปสู่อำนาจที่เขาคิด แต่เผอิญพรรคการเมืองที่เขาจัดตั้งมาถูกยุบเสียก่อน
แม้จะมีพรรคขึ้นมา พฤติกรรมเหล่านี้ เราเก็บรวบรวมก็สามารถเป็นหลักฐานว่า คุณกำลังทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยการด้อยค่า หรือแม้แต่ในวันที่ขบวนเสด็จเมื่อปี 63 นั่นก็เป็นพฤติกรรมหนึ่งนั่นก็สามารถนำคำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปเป็นเครื่องมือ เป็นแนวทางในการรวบรวมพฤติกรรมมาดำเนินคดี