จุฬาฯเคลื่อนไหวแล้ว! จ่อสอบฟันวินัย! อบจ.ออกแถลง-ทำหนังสือส่อหมิ่นสถาบันฯ?
จากที่เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ หลายๆคนต่างตั้งคำถามสงสัยดังไปถึง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงการยกเลิกกิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ ที่ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญที่ถูกสืบทอดต่อกันมานานนั้น
ทั้งนี้ เมื่อลองย้อนกลับไปดู ภายในเพจของ องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล เป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯนายกองค์การบริหารฯคนใหม่ ยิ่งทำให้ได้ทราบถึงการขับเคลื่อนในเรื่องนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะก่อนที่ทางด้านของ ด้านเพจสาธราณะขององค์การบริหารจุฬา จะออกแถลงการดังกล่าว ทางด้านขององค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ก็ได้โพสต์ข้อความ พร้อมภาพที่หลายๆคนต่างตั้งคำถามในมุมมองต่อสถาบันฯ โดยมีรายละเอียดว่า
หากความดีเปรียบเป็นสีขาว ความชั่วเปรียบเป็นสีดำ มนุษย์ทุกคนล้วนเป็นสีเทา แต่ไม่ว่าจะเป็นสีเทาโทนไหน “ความเป็นมนุษย์” ล้วนเท่ากัน
เนื่องในโอกาสครบรอบ 99 ปี หนังสือ “มหาวิทยาลัย” สาราณียกรขอน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “ราชาผู้เป็นที่รัก”
ด้วยจุดมุ่งหมายการศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ “การรับใช้ประชาชน” แผนกสาราณียกรขอเรียนเชิญพี่น้องชาวจุฬาฯ ทั่วไทย ทั่วโลก และผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำความดี ที่มิใช่เพียงการบริจาคเงิน หากแต่เป็นการศึกษาและวิเคราะห์มุมมองประวัติศาสตร์หลากแง่มุม เพื่อประโยชน์แห่งประชาชนอย่างแท้จริง ดังพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สาราณียกรภูมิใจนำเสนอ มหาวิทยาลัย ฉบับ 23 ตุลาคม “ปิยมหาประชานุสรณ์” โดยภายในเล่มนี้ มีเนื้อหามากมายที่ชาวสาราณียกรได้ใช้ความเพียรพยายามและความมุมานะ ร้อยเรียงขึ้น เพื่อพินิจพิจารณามุมมองประวัติศาสตร์แห่ง “ความเป็นมนุษย์” ที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น – ปลุกความ’ชังชาติ’ในตัวคุณ: วาทกรรมว่าด้วยสยามกับการเสียดินแดน
– “กบฏผีบุญ” เลือดอีสานหลั่งรินริมแผ่นดินรัชกาลที่ ๕
– การเลิกทาส ผลพลอยได้จากการสลายขั้วอำนาจ
– ความเชื่อเทวราชากับสังคมไทย
– บอกเล่าเก้าสิบ: บันทึกการสนทนาว่าด้วยการเปลี่ยนผ่านรัฐไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕
– #มาตรา๑๑๒ ราชนิติธรรมที่มาพร้อมกับการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน
– ตุลามหาประชานุสรณ์ – เดือนตุลาฯ เป็นของประชาชน
ล่าสุดวันนี้ ทางสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกประกาศถึงกรณีดังกล่าวว่า
โดยที่ประเทศไทยเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายในทางเชื้อชาติ ศาสนา ตลอดจนความเชื่อถือและความเลื่อมใสศรัทธาต่างๆ หากแต่เราสามารถอยู่ร่วมกันโดยสันติมาช้านาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักและให้ความสำคัญกับคุณลักษณะของสังคมไทยดังกล่าว ที่สอดคล้องกับอุดมคติในวงวิชาการเสมอมา มหาวิทยาลัยจึงให้ความสำคัญกับการยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความเชื่อ อายุ เพศ ภูมิหลังทางสังคม หรือแม้แต่ความเชื่อในทางการเมือง ดังจะเห็นได้จากการที่มหาวิทยาลัยเคารพในเสรีภาพทางความคิดและทางวิชาการของบุคลากรและนิสิตของมหาวิทยาลยมาโดยตลอด ยิ่งไปกว่านั้น มหาวิทยาลัยตระหนักดีว่า การเปลี่ยนแปลงในทางความคิดย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ และเป็นเหตุการณ์ปกติสามัญของทุกสังคม
อย่างไรก็ดี ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นสูงที่มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม สมดังปณิธานของมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นบทบาทตลอดมาที่จะต้องแนะนำและดูแลให้กิจกรรมของนิสิตอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย ตลอดจนกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยโดยดำเนินการหนักเบาตามควรแก่กรณี
ฉะนั้น หากความปรากฎว่า นิสิตของมหาวิทยาลัยได้กระทำการในลักษณะที่เป็นการไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกผ่านการออกแถลงการณ์ หรือหนังสือสิ่งพิมพ์ ที่มีเนื้อหากระทบกระเทือนต่อบุคคลที่เป็นที่เคารพเทิดทูนสักการะของผู้อื่น โโยมิได้เป็นไปตามหลักวิชาการ กล่าวคือ มิได้กระทำไปด้วยคาวมมุ่งหมายที่จะให้ข้อมูลอย่างสุจริตและรอบด้าน อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อคุณธรรมซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับในระดับสากล หรือเป็นการแสดงออกที่ไม่เคารพต่อความเห็นต่าง หรือความเชื่อความเลื่อมใสของผู้อื่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยย่อมไม่อาจนิ่งเฉยพร้อมกับถือเป็นหน้าที่ที่จะดำเนินการที่จำเป็นและเหมาะสมเพื่อกล่อมเกลานิสิตของมหาวิทยาลัยให้อยู่ครรลองของหลักความรู้คู่คุณธรรม รวมทั้งจะได้ดำเนินการสอบหาข้อเท็จจริงโดยเร็ว หากพบว่า มีการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย หรือกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจะดำเนินการทางวินัยต่อไป
มหาวิทยาลัย ของยืนยันว่า การดำเนินการของมหาวทิยาลัยตามแนวทางดังกล่าว ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อลิดรอนหรือจำกัดเสรีภาพทางความคิด เสรีภาพทางวิชาการ หรือทางอื่นใด หากแต่เป็นไปเพื่อให้นิสิตของมหาวิทยาลัยเป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรมงามพร้อมทุกด้านเท่านั้น