เปิดลึกฉายาส.ศิวรักษ์! จาก“สวะสังคมถึงคนเนรคุณในหลวง” ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย?

4286

จากที่วันนี้ 31 สิงหาคม 2564 เพจเฟซบุ๊ก Sulak Sivaraksa ของ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความโดยกล่าวถึง ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเรื่องราวนี้น่าสนใจเกี่ยวกับฉายา เพราะไม่มานมานี้ก็เคยมีคนให้ฉายา ปัญญาชนสยามแก่ ส.ศิวรักษ์ด้วย!?!

ทั้งนี้เนื้อหาที่เฟซบุ๊ก นายสุลักษณ์ ปัญญาชนแห่งสยาม ได้โพสต์ไว้ระบุว่า คำว่า “สวะสังคม” (Social Scum) นายปรีดีให้ความหมายไว้ว่า “เศษโสมม (Rottenmass) ซึ่งสังคมเก่าได้โยนทิ้งไป แต่ตกค้างอยู่ในสังคมใหม่ เป็นชนชั้นอันตราย (Dangerous Class) เห็นแก่ตัว (Egoist) เป็นสำคัญ ซึ่งแสดงด้วยอาการอวดดี ยกตัวว่าวิเศษกว่าคนอื่น”

นายปรีดีอธิบายความหมายของคำนี้ผ่านการยกตัวอย่างในหลายประเด็น แต่มุ่งหมายถึง ส. ศิวรักษ์ โดยเฉพาะ ในที่นี้จึงขอยกมาเพียงข้อเดียว คือ

“(ซ) “สวะสังคม” บางคนอ้างตนเองเป็นตัวแทนของชนรุ่นใหม่ชี้ขาดเอาว่าเอาคนนั้นไม่เอาคนนี้ โดยสายตาคับแคบตามลักษณะอวดดี และเห็นแก่ตัว ตนเองมองชนรุ่นใหม่จำนวนมหาศาลว่าเหมือนตนเองไปทั้งหมด ซึ่งเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามชนรุ่นใหม่ทั้งหมด นอกจากตัวเขากับเพื่อนสวะสังคมจำนวนหยิบมือเดียว ชนรุ่นใหม่จำนวนมหาศาลมิใช่สวะของสังคม แต่เป็นคนไทยที่เป็นพลังใหม่ที่กำลังพัฒนาก้าวหน้าทั้งทางกายและทางจิตใจ ปราศจากวิญญาณปฏิกิริยาและวิญญาณแห่งสวะของสังคม”

กล่าวคือ นายสุลักษณ์เคยเขียนตอนท้ายของบทวิจารณ์หนังสือ The Devil’s Discus เมื่อ พ.ศ. 2507 ว่า

“ในตอนท้าย ผู้เขียน [Rayne Kruger] สรุปว่า ‘ในบรรดาคนหนุ่มในเมืองไทยปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะผู้ที่สำเร็จจากมหาวิทยาลัย ต่างก็พากันรู้สึกอัดอั้นตันใจที่ขาดโอกาสทางประชาธิปไตย  สำหรับบุคคลเหล่านี้ ชื่อนายปรีดียังคงเป็นประดุจเสียงกังวาน อันเรียกร้องเสรีภาพและความยุติธรรมทางสังคม แม้เขาผู้นั้นจะถูกหาว่าเป็นคอมมูนิสต์ก็ตาม’  ข้าพเจ้าถือตัวว่าเป็นบุคคลในกลุ่มนี้ และก็ยอมรับว่าต้องการ ‘เสรีภาพและความยุติธรรมทางสังคม’ แต่หาต้องการนายปรีดีไม่  ในกรณีนี้ข้าพเจ้ากล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าพูดแทนคนรุ่นข้าพเจ้าเกือบทั้งหมด”

และถ้าใครได้อ่านในข้อ (ก)-(ช) ของบทความ “บางเรื่องเกี่ยวกับการก่อตั้งคณะราษฎร และระบบประชาธิปไตย” ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2515 ก็คงจะเดาจากคุณสมบัติได้ไม่ยากว่า นายปรีดีมุ่งจะ ‘ด่า’ ส.ศิวรักษ์ นั่นเอง

กระนั้นเองที่ทีมข่าวเดอะทรูธ จึงตรวจสอบว่า ปัญญาชนแห่งสยามนาม ส.ศิวรักษ์ เคยได้ฉายาอื่นอีกหรือไม่ กระทั่งปัจจุบัน ก็พบว่าเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กหัวข้อ ส.ศิวรักษ์…. เนรคุณ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

“อยากให้ทุกคนรู้ความจริง ผมเป็นคนร่าง (ฎีกา)จดหมายขอพระราชทานอภัยโทษ มาตรา 112 ให้ส.ศิวรักษ์ เอง ที่โดนคดีสมเด็จพระนเรศเพราะปากดีที่ธรรมศาสตร์ ตอนแรกแกเขียนมาอ่านไม่รู้เรื่องใช้ราชาศัพท์ผิด เห็นคุยนักคุยหนาว่ารู้ขนบธรรมเนียม มันก็ขี้กรากตัวหนึ่ง ไม่รู้เรื่องอันใด

ผมเป็นคนแนะนำทุกขั้นตอนเสียด้วยซ้ำว่าจะปฏิบัติอย่างไร มหาดเล็กในพระที่เป็นพยานได้ จนให้มันหาโอกาสถวายฎีกาความทุกข์ส่วนตัวของมัน

เมื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐ ที่พระที่นั่งอัมพร พระองค์ท่านมีเมตตามาก ถึงโปรดเกล้าฯให้เข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ มีคนไทยสักกี่คนจะมีวาสนา ทรงให้นำเก้าอี้มาให้นั่งเกือบเสมอเพราะเห็นว่าแก่ชรามากเดินเหินต้องใช้ไม้เท้า ทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ความเป็นกันเอง และทรงให้งานสำคัญ 3 ชิ้นเพื่อถวายคำแนะนำพระองค์ท่าน

มันโคตรโชคดีเลยว่าไหม? ผมจึงสงสัยว่าทำไมมันถึงเนรคุณได้ถึงเพียงนี้ ใครจะนับถือมันก็นับถือไป แต่ผมไม่เอามันไว้ คนอกตัญญู โทรมาหาผม แทบจะกราบเท้า อ้อนวอนขอความช่วยเหลือ ผมเห็นแก่ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์จึงช่วย แต่พอได้สมใจตนเองก็ไปอวดอ้างตน และไปเข้าข้างพวกที่ใส่ร้ายป้ายสี พวกที่จะล้มพระองค์ท่าน

เป็นใครที่ได้เห็นได้รับรู้การกระทำแบบนี้จะเสียใจไหม ผมขอถามหน่อยเถอะ มีความเป็นคนมากน้อยเพียงใดกัน มาวันนี้มันชัดแล้วไม่ต้องมาขอพระราชทานอภัยโทษอะไรอีก คนเยี่ยงนี้ตายไปก็มีแต่คนสาปแช่ง นรกขุมไหนเดาเอาเองครับ ขี้เกียจพูดแล้ว ผมเองรู้สึกผิดจริงๆ ที่ช่วยมันครับ”

อย่างไรก็ตามทีมข่าวเดอะทรูธ จึงย้อนถึงเรื่องราวว่าอาจารย์เทพมนตรี โพสต์ถึง ส.ศิวรักษ์ ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงเช่นนี้จากสาเหตุใดก็พบว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ย.2563 นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ  ส.ศิวรักษ์  ได้ปรากฎตัวในพื้นที่การชุมนุมของกลุ่ม “คณะราษฎร”   บริเวณด้านหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่  พร้อมเปิดปราศรัยโจมตี  พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อ้างว่าการที่เปิดช่องทางให้มีการนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาใช้ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด  เป็นการทำให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมโทรม ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9  การกระทำในลักษณะดังกล่าว จึงเท่ากับไม่ทำตามกระแสพระราชดำรัส