เปิดเส้นทางหมอการเมือง-หมอการค้าแฝงมากับดีลสินค้า-ยา-อุปกรณ์แพทย์ ผ่านเครือข่ายตระกูลส.หมออ้างชนบท??

1680

เรื่องราวสำคัญเบื้องหลังกรณีอื้อฉาวหมอทะเลาะกับหมอเรื่อง ชุดตรวจโควิดด้วยตนเองที่เรียกว่า Antigen Test Kit หรือ ATK แม้นายกฯจะมีคำสั่งเดินหน้าจัดซื้อชุดตรวจATK ของBeijing Lepu อ่านว่า เป่ยจิง เล่อผู่ (乐普) เป็นรัฐวิสาหกิจที่ผลิตยาและอุปกรณ์การแพทย์ที่ใหญ่สุดของจีน แต่ละปีขายของได้มากกว่างบประมาณแผ่นดินของไทย ผลิตสารพัดนวัตกรรมทางการแพทย์นั้น องค์การเภสัชได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามขั้นตอนจัดซื้อแล้ว ดูเหมือนทางฝั่งชมรมแพทย์ชนบทจะยังไม่ยอมจบ เรื่องนี้น่าจะมีเบื้องหลังเพราะเจาะจงว่าATK ยี่ห้อ Standard Q ดีเลิศประเสริฐสีกว่าของเล่อผู่

มาฟังดร.อานนท์ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า เล่าได้แซ่บว่า

ดร.อานนท์กล่าวที่มาว่า เดิมยี่ห้อ Standard Q เป็นยี่ห้อที่มีคนเอาเข้ามาขายให้ สปสช. และพวกแพทย์อ้างชนบทได้ใช้ ราคาขายในตลาดคือ 280 บาท ราคาต้นทุนไม่ทราบ แต่อนุมานจากเว็บนี้ที่อินเดีย

https://www.indiamart.com/proddetail/sd-biosensor-rapid-antigen-standard-q-covid-19-ag-test-kit-22605467762.html

 

รุ่น professional use ขายกันที่ 120 รูปี หรือ 54 บาท

ถ้าขายให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ที่ทาง สปสช. โดยนายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ เป็นประธานกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายของ สปสช. อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท ผอ. รพ. มหาราชนครราชสีมา, นายแพทย์อารักษ์ วงษ์วรชาติ ผอ. โรงพยาบาลสิชล ที่ปรึกษาชมรมแพทย์ชนบท ที่มีการโทรเข้าไปข่มขู่ ผอ. องค์การเภสัชกรรมและล็อกสเปค

รวมไปถึงนายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ผอ. โรงพยาบาลจะนะ ที่ร่วมมือกับพรรคก้าวไกลออกตรวจ ATK ในกทม. และออกรายการเจาะลึกทั่วไทย ยอมรับว่าเป็นการล็อกสเปค

รุ่นนี้ professional use องค์การอนามัยโลกหรือ WHO รับรองของ Standard Q ส่วนรุ่น home use นั้น WHO ไม่เคยรับรอง หมอสุภัทรบอกว่าต่างกันแค่ไม้สั้นไม้ยาว

แต่เสี่ยเป็ดแห่งเอ็มพีส่งประมูลโดยเป็นรุ่น home use ซึ่งหมอสุภัทรบอกว่า เลขาธิการ สปสช. นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารีย์ กำหนดมาไม่ตรงกับที่ชมรมแพทย์ชนบทอยากได้ หมอสุภัทรแกว่าอย่างนั้น พวกเดียวกันทำไมตีกันเอง อ้อ! นี่คงเข้ากับภาษิตโบราณที่กล่าวไว้ว่าเวลาหายนะ สัตว์ทั้งหลายจะตีกันเองตะกายหนีเอาตัวรอดหรือไม่?

หมอสุภัทรยังพูดอีกว่า professional use ต้องแพงกว่า home use ไม้มันยาวกว่า มันเหมือนกันทุกอย่างแค่ไม้สั้นไม้ยาว หมอสุภัทรยังอ้างว่าองค์การอนามัยโลกรับรอง professional use ก็เหมือนรับรอง home use เพราะมันต่างกันแค่ไม้สั้นไม้ยาว เดี๋ยวก่อนนะสินค้ามันคนละรหัสเลยอาจจะต่างโรงงานกันเลยก็ได้ จะรับรองได้อย่างไร

กลับมาดูที่คณิตศาสตร์การเงินกันดีกว่า

เอาเป็นว่า หากเราติ๊งต่างว่า ราคาของ home use และ professional use ไม่แตกต่างกัน และหากเสี่ยเป็ดชนะประมูล โดยที่ หมอฉิก หมออารักษ์ และหมอจุ๊กฮาสามกีบ ช่วยกันล็อกสเปคร่วมกับ สปสช. ได้สำเร็จ

เสี่ยเป็ดเอ็มพี่จะได้กำไรเท่ากับ (ราคาประมูล-ราคาทุน)*8.5 ล้านชิ้น เท่ากับ (118.19-54)*8,500,000 หรือเท่ากับ 545,615,000 บาท มีข่าวมาว่าเสี่ยเป็ดขาย Standard Q รุ่น home use ให้ประชาชนในราคา 280 บาทต่อชิ้น และมีสินค้าที่สต็อกหรือกักตุนไว้มากพอสมควรประมาณ 200 ล้านชิ้น 

ข้อนี้แหละที่ทำให้สามารถ lock speck ได้ว่าสามารถส่งของสามล้านชิ้นได้ในหนึ่งวันหลังลงนามในสัญญา และอีกสามล้านชิ้นในสามวันหลังลงนามในสัญญา ซึ่งหมอเกรียงศักดิ์ พยายามกำหนดมาเช่นนี้ ทำให้ไม่มีเจ้าไหนจะส่งของได้ทัน เลยต้องลากันไป ไม่อาจจะเข้าประมูลได้ เรื่องนี้มีแนวฎีกาการประมูลปุ๋ย ทำให้รัฐมนตรีเข้าคุกมาแล้วนะครับ ต้องส่งของให้ไวมากจนไม่มีเจ้าไหนมาประมูลแข่งได้ หากไม่กักตุนสินค้าไว้ก่อน ผมอยากเอ่ยชื่อรัฐมนตรีออกมา แต่อยากให้ สปสช. และพวกแพทย์อ้างชนบทได้ดูเอาไว้ เตรียมใจรอเข้าคุก มีโอกาสสูง

คำถามคือ ถ้าหากเสี่ยเป็ดมีการกักดุนสินค้า ATK รุ่น home use ไว้จริง จำนวน 200 ล้านชิ้น และราคาขายต่อชิ้นคือ 280 บาท เป็นราคาขายปลีกที่ประชาชนซื้อ เสี่ยเป็ดจะมีกำไรเท่าไหร่

สมมุติอีกว่าราคาทุนของ Standard Q รุ่น home use เท่ากับรุ่น professional use คือเท่าราคาขายปลีกในอินเดีย 120 รูปีหรือ 54 บาท เสี่ยเป็ดจะได้กำไรจากการกักตุนสินค้า ATK เท่ากับ (280-54)*200,000,000 =45,200,000,000 นี่คือกำไรหากขายได้หมด หรือสี่หมื่นห้าพันสองร้อยล้านบาท น่าจะทำให้เสี่ยเป็ดเปลี่ยนเป็นเสี่ยเป็ดโคตรรวยกันเลยทีเดียวครับ

แต่คนคำนวณวางแผนล็อกสเปคฮั้วประมูล หรือจะสู้ฟ้าลิขิต

กลับมี ณุศาสิริ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ ใจถึงพึ่งได้ ที่ทำธุรกิจโรงพยาบาลในต่างประเทศหลายแห่ง ส่งบริษัทลูกเข้าร่วมประมูล และทำลายโครงสร้างตลาดผูกขาดน้อยรายได้สำเร็จย่อยยับ

จริง ๆ เสี่ยเป็ดขายปลีก ATK 280 บาท ต่อชิ้นก็ถือว่าถูกสุดในตลาดเมืองไทย แต่ก็ยังกำไรมหาศาลในภาวะความเดือดร้อนของประชาชน

ผมตรวจสอบราคาคร่าว ๆ ATK แบบ home use สารพัดยี่ห้อในเมืองไทยเวลานี้ ชิ้นละประมาณ 300-400 บาท มีบางรุ่นราคาถึง 500 บาท

ณุศาสิริ ไม่รอการประมูลของ อภ. ทั้ง ๆ ที่ชนะประมูล 8.5 ล้านชิ้น แต่เจอปัญหามากมาย ราคาประมูลชนะคือ 65 บาท บวกภาษีมูลค่าเพิ่มนำเข้าเป็น 70 บาท ณุศาสิริ ไม่สนใจรอมติคณะรัฐมนตรี เลยเอา ATK ที่ชนะประมูล ออกมาขายในตลาดในราคา 75 บาท ก็ได้กำไรนิดหน่อย และบวกค่าขนส่งผลคือทุบโครงสร้างราคาตลาด ATK ให้เกิดความปั่นป่วนอย่างหนัก ที่กระอักสุดน่าจะเป็นเสี่ยเป็ดคนที่กักตุน ATK เอาไว้ตามข่าวที่ผมได้ยินมา

ผมมีเพื่อนเป็นเจ้าของบริษัทกิจการขนาดเล็ก มีพนักงาน 100 คน ตรวจ ATK ให้พนักงาน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ จากเคยซื้อชิ้นละ 350 บาท* 2 ชิ้น ต่อสัปดาห์ * 4 สัปดาห์ต่อเดือน *พนักงาน 100 คน จ่ายเดือนละ 280,000 บาท แต่วันนี้เพื่อนผมจ่ายเพียง ชิ้นละ 75 บาท* 2 ชิ้น ต่อสัปดาห์ * 4 สัปดาห์ต่อเดือน *พนักงาน 100 คน หรือ 60,000 บาท ทำให้ประหยัดไปได้ 220,000 บาทต่อเดือน

 

สำหรับชาวบ้านทั่วไป ประหยัดจาก ATK ชิ้นละ 300-400 บาทที่ต้องตรวจกันบ่อย ลงมาเหลือ 75 บาท ผมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่ช่วยเหลือประชาชนในยามยาก อยากกราบขอวิงวอนให้ ณุศาสิริ ทำราคา ATK แบบนี้ต่อไป แม้ว่าจะขาย 8.5 ล้านชิ้นหมดไปแล้ว และองค์การเภสัชกรรมจะทำสัญญาแล้วอีก 8.5 ล้านชิ้น ซึ่งต่อไปกระทรวงสาธารณสุข จะแจกจ่ายประชาชน

ผมก็ยังอยากกราบขอร้องณุศาสิริให้ขายในราคา 75 บาท ต่อไปหลังจาก 17 ล้านชิ้นนี้ แม้ณุศาสิริ จะไม่ได้กำไรมากนัก แต่การไม่ยอมขึ้นคาไปที่ 140 บาทตามที่ประกาศไว้ จะเป็นการสร้างตรายี่ห้อ ณุศาสิริ ให้ประชาชนจดจำในใจไปอีกนานแสนนาน เป็นการทำ CSR: Corporate social responsibility ที่สังคมจะจดจำ เพราะจะทำเช่นนี้ได้ นอกจากจะคำนึงถึงประชาชนและสังคมแล้ว ยังต้องมีความกล้าหาญทางจริยธรรมอย่างยิ่งยวด ที่กล้าทุบโครงสร้างราคาตลาดที่ได้กำไรเกินปกติ (Supernormal profit) ในภาวะสงครามมหาโรคระบาด (Pandemic) ของโควิด-19

เป็นไงล่ะแซ่บถึงทรวงไหม ตระกูลส. หมออ้างชนบท???