จีนประกาศพร้อมช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจอัฟกาฯใต้เงาตอลิบัน!?!ขอรัฐบาลใหม่ปรับคบนานาชาติ หยุดกลุ่มก่อการร้าย ขณะยุโรปหวั่นคลื่นอพยพ

1796

ภูมิภาคตะวันออกกลางไม่เคยหลับไหลอย่างสงบสุข นับตั้งแต่ท็อปบูตของสหรัฐอเมริกา-พันธมิตรตะวันตกเยียบย่างเข้าไปรุกรานยาวนานกว่า 40 ปี และเมื่อวันของตอลิบันมาถึง เข้ายึดครองประเทศกลับมาอยู่ใต้การนำอีกครั้ง ทั้งสหรัฐและตะวันตกต่างวิตกกังวลต่อผลที่จะเกิดตามมา ต่างพากันก่นด่าอเมริกาคิดสั้น แต่นางแองเกลา แมร์เคิลแห่งเยอรมนีแย้มว่า เพราะการเมืองภายในสหรัฐนั่นแหละ

ขณะที่นายพลสหรัฐฯชี้เป้าระวังก่อการร้ายคืนชีพ สัญญาณจากผู้สนับสนุนหลักของกลุ่มก่อการร้าย IS พูดแบบนี้ จีนไม่อาจนอนใจ เพราะสหรัฐฯเร่งโฆษณาสร้างภาพโหดร้ายของจีน ในซินเจียงไม่หยุดหย่อน การป้องกันชายแดนติดอาฟกาฯทั้งจีน-รัสเซียจึงเริ่มขึ้นอย่างแน่นหนา ล่าสุดทางการจีนให้หว่า ชุนอิง หนึ่งในทีมวู๊ฟวอริเออร์ทางการทูต แสดงจุดยืนจีนท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลภายใต้การนำของกลุ่มตอลิบัน จีนเรียกร้องให้ตอลิบัน’รับรองการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติ’ และ ‘หยุดยั้งการก่อการร้าย’

เมื่อวันจันทร์ที่ 16 ส.ค.2564 หว่า ชุนอิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวในกรุงปักกิ่งว่า รัฐบาลจีนหวังว่ากลุ่มตอลิบันจะ “ปฏิบัติตามคำพูดเพื่อให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปอย่างราบรื่น”และ “ควบคุมการก่อการร้ายทุกประเภท” ในอัฟกานิสถาน หลังจากการเข้ายึดครองประเทศอย่างรวดเร็ว

ชุนอิงกล่าวว่า “สถานการณ์ในอัฟกานิสถานมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั้น จีนเคารพในความปรารถนาและทางเลือกของชาวอัฟกัน”  “สงครามที่กินเวลากว่า 40 ปี ควรจบสิ้นลง การตระหนักถึงสันติภาพคือเสียงของชาวอัฟกันกว่า 30 ล้านคนและเป็นความปรารถนาของประชาคมระหว่างประเทศและประเทศในภูมิภาค เราสังเกตคำแถลงจากกลุ่มตอลิบานอัฟกันเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ว่า สงครามสิ้นสุดลงและพวกเขาจะเริ่มปรึกษาหารือเพื่อจัดตั้งรัฐบาลอิสลามที่เปิดกว้างและครอบคลุม และจะดำเนินการที่จำเป็นเพื่อรับรองความปลอดภัยของพลเมืองอัฟกันและคณะทูตต่างประเทศ  เราคาดหวังว่ากลุ่มตอลิบันจะปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาเพื่อให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในอัฟกานิสถานเป็นไปอย่างสันติ  และมีการระงับการก่อการร้ายและอาชญากรรมทุกประเภท”

การเรียกร้องให้หยุดการก่อการร้ายสะท้อนข้อความจากเจ้าหน้าที่จีนเมื่อปลายเดือนที่แล้ว เมื่อพวกเขาเป็นเจ้าภาพคณะผู้แทนตอลิบันในเมืองเทียนจิน นับเป็นบทใหม่ในการเข้าถึงกลุ่มนี้ของปักกิ่ง ด้วยความเร็วที่ไม่คาดคิดของการยึดอำนาจของตอลิบันในช่วงหลายสัปดาห์นับแต่นั้นมา ปักกิ่งหวังว่าการมีส่วนร่วมในระยะแรก จะช่วยให้เกิดผลประโยชน์ในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความกังวลเกี่ยวกับกลุ่มญิฮาดที่มีความเชื่อมโยงกับภูมิภาคซินเจียงตะวันตกซึ่งมีพรมแดนติดกับ อัฟกานิสถาน

เมื่อถูกถามว่าจีนจะยอมรับระบอบตอลิบานใหม่หรือไม่ หว่า ชุนอิงกล่าวว่า “จีน พร้อมจะพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนบ้าน มิตร และความร่วมมือกับอัฟกานิสถาน และมีบทบาทเชิงสร้างสรรค์ในสันติภาพและการฟื้นฟูอัฟกานิสถานอย่างเต็มที่”

“หลายครั้งที่กลุ่มตอลิบานได้แสดงความหวังที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน โดยกล่าวว่าพวกเขาตั้งตารอที่จีนจะมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและพัฒนาอัฟกานิสถาน และจะไม่มีวันยอมให้กองกำลังใดๆ ใช้ดินแดนอัฟกันเพื่อทำอันตรายต่อจีน ” “เราหวังว่ากลุ่มตอลิบันจะร่วมมือกับทุกฝ่ายและกลุ่มชาติพันธุ์ในอัฟกานิสถานเพื่อสร้างโครงสร้างทางการเมืองที่กว้างขวางและครอบคลุม ซึ่งเหมาะสมกับเงื่อนไขของประเทศของตนเอง ในการวางรากฐานสำหรับสันติภาพที่ยั่งยืนในอัฟกานิสถาน จีนเคารพสิทธิของชาวอัฟกันในการกำหนดชะตากรรมของตนเองอย่างอิสระ”

ในขณะที่หลายประเทศได้อพยพบุคลากรและปิดภารกิจในประเทศ นางสาวฮัวกล่าวว่าสถานทูตจีนในกรุงคาบูล “ยังเปิดทำการตามปกติ” และ “พลเมืองจีนส่วนใหญ่ในอัฟกานิสถานได้เดินทางกลับจีนแล้ว” สถานการณ์แบบนี้สำหรับสถานทูตรัสเซีย ก็ยังเปิดทำการ แต่พลเมืองรัสเซียส่วนใหญ่เดินทางกลับประเทศเช่นกัน

เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จีนได้เป็นเจ้าภาพคณะผู้แทนตอลิบาน นำโดยอับดุล กานี บาราดาร์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นหัวหน้าสำนักงานการเมืองในโดฮา และขณะนี้คาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในสมัยการเปลี่ยนผ่านใหม่ หวัง ยี่ รัฐมนตรีต่างประเทศจีนบอกกับคณะผู้แทนของตอลิบันว่า จีนหวังอัฟกาฯจะทำลายล้างองค์กรก่อการร้ายทั้งหมด รวมทั้ง ETIM(กลุ่มต่อต้านด้วยอาวุธในซินเจียง)” 

ในขณะที่ปักกิ่งได้ให้การสนับสนุนทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและขยายเขตเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน (CPEC) ไปยังประเทศข้างเคียง หวัง ยี ได้ประ่ชุมร่วมกับชาห์ มาห์มูด กูเรชี รมต.ต่างประเทศปากีสถาน เพื่อประสานงานยุทธศาสตร์ของพวกเขาที่เกี่ยวพันกับอัฟกานิสถาน

นอกเหนือจากถ้อยแถลงของวันจันทร์และการเข้าถึงกลุ่มตอลิบานเมื่อเร็วๆ นี้ ปักกิ่งยังมีความกังวลมานานแล้ว เกี่ยวกับทั้งความเร็วของการถอนตัวของสหรัฐฯ ที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ตลอดจนความเชื่อมโยงในอดีตของตอลิบานกับกลุ่มก่อการร้าย รวมถึงขบวนการอิสลามแห่งเตอร์กิสถานตะวันออก (ETIM) ที่ดำเนินการโจมตีในซินเจียง

หากไม่คำนึงถึงความกังวลเหล่านี้ อารมณ์ที่เกิดขึ้นทันทีเมื่อภาพสหรัฐฯเผ่นจากอาฟกานิสถานอย่างอลหม่าน  สื่อจีนส่วนใหญ่เน้นที่ความล้มเหลวของสหรัฐฯ มากกว่าความกังวลด้านความปลอดภัย ด้านการก่อการร้ายที่กระทบต่อจีนและภูมิภาค สื่อทางการของจีนชื่นชมยินดีในการถอนตัวของสหรัฐฯ แต่ประณามวอชิงตันในด้านความล้มเหลวที่ยุ่งเหยิงและความอ่อนแอที่แท้จริงประหนึ่งเสือกระดาษ

“กองทหารสหรัฐฯ เข้าสู่อัฟกานิสถานเมื่อสองทศวรรษก่อนในนามของ ‘สงครามต่อต้านการก่อการร้าย’ จากนั้นสหรัฐฯ พยายามสร้างรัฐอัฟกันสมัยใหม่ ในขณะที่อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน และประธานาธิบดีคนก่อนแทบไม่มีคุณสมบัติตามตามที่อวดอ้างชัยชนะแม้แต่น้อย มีแต่ความล้มเหลวและยุ่งเหยิง”

ฝ่ายตะวันตกแฉว่า สหรัฐฯถอนทหารจากอัฟกาฯเพราะการเมืองภายในของอเมริกาเอง โดย นายกรัฐมนตรีเยอรมัน แองเกลา แมร์เคิล เปิดเผยว่า ส่วนหนึ่งของสาเหตุการถอนตัวของสหรัฐฯจากอัฟกานิสถานเนื่องมาจากเหตุผลการเมืองในสหรัฐฯเอง พร้อมเตือนว่าเยอรมันอาจต้องอพยพสูงสุด 10,000 คนกลับประเทศ และมีรายงานว่าแกนนำอาวุโสพรรคยืนกรานจะไม่ยอมให้เยอรมันเจอปัญหาวิกฤตผู้อพยพเข้าซ้ำ จากสถานการณ์อัฟกานิสถานเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 2015 แต่ไม่ได้บอกว่าจะทำอย่างไร

แมร์เคิลกล่าวสรุปว่า “เรามักกล่าวเสมอว่าหากว่าสหรัฐฯอยู่พวกเราจะอยู่ด้วย การถอนกำลังทหารออกไปทำให้เกิดการล้มคลืนแบบโดมิโนขึ้นมาอย่างฉับพลัน ที่มาจากการที่ตอลิบันทะยานกลับมาสู่อำนาจอีกครั้ง”

พอล ซีเมียค(Paul Ziemiak)เลขาธิการพรรค CDU ย้ำว่า เยอรมันไม่สามารถอดทนด้วยการเปิดประตูรับผู้อพยพเหมือนเช่นที่เคยทำในวิกฤตคลื่นผู้อพยพเข้ายุโรปปี 2015 ต่อการแก้ไขสถานการณ์อัฟกานิสถานได้

“สำหรับเรามันเป็นที่ชัดเจนว่าปี 2015 จะต้องไม่เกิดขึ้นซ้ำ” และเขาเสริมว่า “เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาอัฟกานิสถานผ่านการอพยพมายังเยอรมันได้”