ประเทศสมาชิก EU แบ่ง 2 ฝั่ง ล้มการประชุม “คว่ำบาตรรัสเซีย” ไม่เห็นด้วยมาตรการของยุโรป

1404

เริ่มแตกหักหนักขึ้น!? ประเทศสมาชิก EU แบ่ง 2 ฝั่ง ล้มการประชุม “คว่ำบาตรรัสเซีย” หลายประเทศไม่เห็นด้วยกับมาตรการของยุโรป!?

ล่าสุดทางด้านของเพจสาธารณะชื่อ World Maker ได้รายงานถึงการประชุม EU ในเรื่องมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ซึ่งล่มอีกรอบแล้ว หลังจากที่มีหลายประเทศสมาชิกไม่เห็นด้วยรวมถึงโหวตขวางไม่ให้มีการคว่ำบาตรรัสเซีย โดยมีรายละเอียดว่า

ด่วน ! ล่มอีกรอบ !!! ล่าสุด EU ยังไม่สามารถสรุปมาตรการคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียได้ ! เนื่องจากประเทศฮังการีโหวตขัดขวางไม่ให้ผ่านกฏหมาย ทำ EU ต้องประชุมต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าทุกประเทศจะยอม

ล่าสุดมีรายงานออกมาอีกแล้วว่า EU ยังไม่สามารถออกมาตรการคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียได้ ! แม้แต่ตั้งใจสรุปผลมาหลายสัปดาห์แล้วก็ตาม เนื่องจากประเทศฮังการีได้โหวตปฏิเสธไม่ให้ออกกฏหมายได้นั่นเอง !

Bloomberg รายงานว่า ฮังการี สโลวาเกีย และสาธารณรัฐเช็ก ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของ EU ที่เสนอให้เลิกใช้น้ำมันของรัสเซียภายใน 6 เดือน ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่เสนอให้ 3 ประเทศเหล่านี้สามารถขยายเวลาเลิกใช้น้ำมันของรัสเซียไปได้จนถึงสิ้นปี 2024 แต่ก็ยังโดนปฏิเสธกลับมา !

ฮังการีไม่สนใจว่าจะใช้เวลากี่ปีในการเลิกใช้น้ำมันดิบของรัสเซีย เพราะพวกเขากล่าวว่าจะขัดขวางความพยายามใดก็ตามที่จะคว่ำบาตรพลังงานของรัสเซีย หรือกล่าวง่าย ๆ ว่าตอนนี้ EU แตกเป็น 2 ขั้วอย่างชัดเจนแล้ว ! ฝั่งหนึ่งต้องการแบนพลังงานรัสเซีย แต่อีกฝั่งหนึ่งไม่ยอมแบน

ทั้งนี้ จะมีการจัดประชุมผู้นำสุดยอดของกลุ่ม G7 ในวันนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับสงครามในยูเครน ขณะที่ EU ตั้งใจว่าจะสรุปมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียให้ได้ก่อนวันนี้ แต่สุดท้ายก็ยังล้มเหลวมาจนถึงปัจจุบัน

ข้อเสนอในมาตรการคว่ำบาตรเบื้องต้นในร่างกฏหมายใหม่ของ EU มีดังนี้

1.เสนอให้ตัดธนาคารรัสเซียอีก 3 แห่งออกจากระบบ SWFT รวมถึง Sberbank ธนาคารรายใหญ่ที่สุดของรัสเซีย

2.เสนอข้อจำกัดไม่ให้บริษัทและบุคคลในรัสเซียเข้าซื้ออสังหาริมทรัพย์ในสหภาพยุโรป

3.เสนอห้ามให้คำปรึกษาใด ๆ แก่บริษัทของรัสเซีย รวมถึงแบนการค้าเคมีภัณฑ์อีกจำนวนหนึ่ง

4.เสนอการคว่ำบาตรบุคคลธรรมดาและเจ้าหน้าที่ทหารหลายคนที่ EU กล่าวว่ามีความสนิทสนมกับปูติน ตลอดจนบริษัทที่จัดหาอุปกรณ์ เสบียง และบริการต่าง ๆ ให้แก่กองทัพรัสเซีย

ซึ่งเราจะต้องมาติดตามดูกันต่อไปอย่างใกล้ชิด ! ว่าในท้ายที่สุดแล้วกลุ่มประเทศใน EU จะสามารถกลับมารวมพลังกันเป็น 1 แนวเพื่อประสานมือออมาตรการคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซีย ? หรือจะแตกออกเป็น 2 ฝั่งและทำให้สมรภูมิต่าง ๆ วุ่นวายขึ้นไปอีกกันแน่ ?