ศึก 2 ขั้วมหาอำนาจ ช่วงชิงโครงข่ายขนส่งโลก

1828

ศึก 2 ขั้วมหาอำนาจ ช่วงชิงโครงข่ายขนส่งโลก
Struggling for Wealth….through Transport & Logistic
มหาอำนาจโลก ได้วางยุทธศาสตร์สงครามสมัยใหม่ที่ซับซ้อน ผ่านการค้าแบบไร้พรมแดน
ทำให้การแข่งขันเข้มข้นในทุกปริมณฑลเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน
การช่วงชิงพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ของการเคลื่อนย้าย เงินทุน สินค้า เทคโนโลยีชั้นสูง
ถูกวางไว้อย่างแยบยล ซึมซ่านในวิถีการทำมาหากินของทุกพื้นที่ ทุกประเทศบนโลกใบนี้ ใครดีใครได้
ใครใหญ่แข็งแรงมีข่ม ชนะหมายถึง อำนาจและความมั่งคั่ง
มหาเกมภูมิรัฐศาสตร์ในยูเรเซีย เริ่มขึ้นเมื่อสหรัฐฯ ประกาศเปิดแผนเส้นทางสายไหมใหม่(New Silk
Road Economic Belt)
หวังเป็นเส้นทางเพื่อการส่งกำลังบำรุงและทรัพยากรเข้าไปสนับสนุนการทำสงครามในอัฟกานิสถาน
ซึ่งเป็นดินแดนที่ไม่มีทางออกทะเล
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างการเชื่อมโยงระหว่างอัฟกานิสถานกับภูมิภาคเอเชียกลาง
ซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางหรือฮับทางด้านโลจีสติกส์และเส้นทางส่งกำลังบำรุงให้แก่กองทัพสหรัฐอเมริกาย่
านตะวันออกกลางไปโดยปริยาย
ปี 2013 จีนตอบโต้ยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา และเรียกแผนการนี้ว่า “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (One
Belt, One Road: OBOR)คือเครือข่ายเส้นทางบกชื่อ “แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม” (Silk Road
Economic Belt) เชื่อมโยงจากจีนไปยัง 6 ภูมิภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเชียกลาง ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ เอเชียใต้ และยุโรป, และเครือข่ายทางทะเลชื่อ
“เส้นทางการค้าสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21” (21st Century Maritime Silk
Road)เชื่อมสู่่มหาสมุทรอินเดีย อ่าวเปอร์เซีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
โดยจะมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายทางรถไฟความเร็วสูง ถนน ท่าเรือ
และท่อส่งก๊าซและน้ำมัน
การก่อตัวของระบบสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคที่จีนริเริ่มนั้น
เป็นการท้าทายระเบียบโลกเดิมที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ
และส่งผลกระทบต่อสถานภาพความเป็นหมายเลข 1 อย่างมีนัยสำคัญ ในยุคที่สหรัฐฯมีโดนัลด์ ทรัมป์
เป็นประธานาธิบดี และจีนมีประธานาธิบดี สี จิ้นเผิงถือธงนำ
ยุทธศาสตร์การเคลื่อนย้าย เงิน สินค้า เทคโนโลยี ฯอย่างมีระบบนี้เกิดขึ้นเพื่อรองรับ
เป้าหมายแห่งชัยชนะ เพื่ออำนาจและความมั่งคั่ง ที่ยิ่งมีมาก ยิ่งอยากได้มากขึ้นไปไม่สิ้นสุด
ที่มาของคำว่า Logistics นั้น ได้มีการนำมาใช้ในยุคของจักรพรรดิ นโปเลียน (The age of Napoleon)
ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 โดยได้มีการออกกฎหมายที่เรียกว่า Levee En Masee
มีการจัดตั้งกระทรวงการขนส่ง มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการส่งอุปกรณ์และการขนส่งอย่างเป็นระบบ
นโปเลียนได้กล่าววลีที่มีความเหมาะสมกับ Logistics ปัจจุบันว่า “กองทัพเดินด้วยท้อง”
ซึ่งกลายเป็นต้นแบบของระบบพลาธิการของประเทศต่างๆ ในสมัยสงครามเวียดนาม Logistics
ได้ถูกนำมาใช้ในการสนับสนุนยุทธปัจจัยให้กองทัพสหรัฐฯ
การผลิตอาวุธและการส่งกำลังบำรุงของสหรัฐฯนั้นดำเนินโดยภาคเอกชนมาก่อน
ทำให้สหรัฐฯเป็นผู้นำทางด้าน Logistics เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจากยุคสงครามเย็น (Cold War) สิ้นสุดลง เมื่อปี 1990 เป็นการยุติการแข่งขันทางด้านการทหาร
โดยประเทศมหาอำนาจได้สนับสนุนบริษัทข้ามชาติแสดงบทบาทแทน

อาศัยกลไกการค้าโลกให้เข้ามาชิงความได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้า ใช้กิจกรรม Logistics
เป็นยุทธศาสตร์ในการเข้ามาสู่ยุคจักรวรรดินิยมสมัยใหม่ ผ่านคำเท่่ห์หรู “โลกาภิวัตน์” (Globalization)
เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีการพัฒนาไปสู่เครือข่าย Internet ความก้าวหน้าล้ำสมัยของ IOT
(Internet of Things) ล้วนมีส่วนสำคัญทำให้ Logistics กลายเป็นกระแสและเป็นเสมือนกระดูกสันหลัง
ของการดำเนินธุรกรรมการผลิต การค้า การบริการ ในปัจจุบัน
สำหรับประเทศไทยต้นทุนขนส่งและโลจิสติกส์คิดเป็น 13.4% ของ GDP
ตามการพัฒนาระบบขนส่งฯของไทย ซึ่งในปี 2561 ต้นทุน Logistics ของไทยคิดเป็น 2.11
ล้านล้านบาท ทั้งนี้สัดส่วนการขนส่งสินค้า ภายในประเทศไทย 79.3% จะเป็นการขนส่งทางถนน,
ทางราง 1.9 %, และน้อยกว่า 0.1% เป็นการขนส่งทางอากาศ อีก 18.7 % เป็นการขนส่งทางน้ำ
สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP เฉลี่ยของทุกประเทศทั่วโลกอยู่ที่ 11.0% โดยประเทศในทวีปอเมริกา
เหนือและยุโรปมีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP อยู่ในระดับต่ำที่สุดที่ 8.6 % และ 9.5 % ตามลำดับ
ในขณะที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP เฉลี่ยอยู่ที่ 12.7 %(ที่มา
:nesdc.go.th)
“เส้นทางสายไหมใหม่” ไม่ใช่แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานเพียงอย่างเดียว
แต่เป็นแผนการเปลี่ยนโฉมภูมิทัศน์ระเบียบโลก ระเบียบภูมิภาค ในแง่ที่ว่าระหว่างจีนกับสหรัฐ
ใครจะผงาดขึ้นมาครองเบอร์ 1โลกในศตวรรษที่ 21 ได้ในที่สุด (เหลียวไปด้านหลังของทั้งสองฝั่ง
ต่างมีพันธมิตรที่เข้มแข็งน่าเกรงขามไม่น้อยหน้ากัน)
ท่ามกลางคลื่นแห่งการแย่งชิงการเป็นเจ้า
ประเทศไทยย่อมเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้องอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง
เพราะตั้งอยู่บนทำเลยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ของเอเชียแปซิฟิก
การวางบทบาทต่อมหาอำนาจทั้งสองขั้วพึงต้องอยู่ในลักษณะสมดุล ไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายใด
ยึดถือประโยขน์ ยกระดับความกินดีอยู่ดีของประชาชนไทยเป็นเป้าหมายสำคัญ
…………………………………………………………