จากที่ ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ นักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ถึงผู้นำบางประเทศที่ยอมเป็นหุ่นเชิดให้สหรัฐอเมริกา จนท้ายที่สุดต้องเผชิญชะตากรรมอย่างสาหัส โดยไม่ต่างจากผู้นำยูเครนในขณะนี้!!!
ทั้งนี้โดยดร.ปฐมพงษ์ ได้เผยแพร่ข้อมูลที่น่าสนใจอย่างยิ่งลงในเฟซบุ๊กในวันนี้ 30 เมษายน 2565 โดยฝากเตือนสติประเทศอื่นๆด้วยว่า “ภาพเตือนสติ: ‘หุ่นเชิดอเมริกาในโบลิเวีย’:
ยูเครนเหมือนโบลิเวียครับ คือโดนอเมริกาทำสงครามพันทาง ไล่ประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งลง แล้วสถาปนาหุ่นเชิดตนเองเข้าไปเป็นประธานาธิบดีแทน
๑.ผู้หญิงคนนี้ชื่อ Jeanine Anez เป็นอดีตประธานาธิบดีของโบลิเวีย ประเทศอเมริกาซึ่งสร้างภาพลวงโลกว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย เคารพสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมเสรีภาพ
ได้ติดต่อให้นายทหารในโบลิเวีย ทำรัฐประหารประธานาธิบดีอีโว โมราเลสที่มาจากการเลือกตั้ง แล้วสถาปนานาง Jeanine Anez หุ่นเชิดตนขึ้นเป็นผู้นำแทน
๒.นาง Jeanine Anez เมื่อได้เป็นผู้นำโบลิเวียได้แก้กฎระเบียบเอื้อประโยชน์ให้รัฐบาลอเมริกาและนายทุนอเมริกันเข้าไปฮุบทรัพยากรธรรมชาติของโบลิเวียอย่างเต็มที่ระหว่างที่นางดำรงตำแหน่ง
๓.ประชาชนโบลิเวียปลุกกระแสรักชาติกันให้เกิดขึ้น เลือกตั้งต่อมา หุ่นเชิดอเมริกาจึงพ่ายแพ้ เมื่อผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจ นาง Jeanine Anez หุ่นเชิดของอเมริกาจึงถูกจับเข้าคุก

ผู้นำหุ่นเชิดอเมริกามีทางไป ๒ อย่าง ๑.ติดคุก ๒.หนีคดีพร้อมหอบเงินไปอยู่นอกประเทศ โปรดระวังเครือข่าย ‘สงครามพันทาง’ โดยเฉพาะนักรบแนวหน้าของสงครามนี้คือสื่อครับ
ผมเตือนทุกท่านมาตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๕๗ แล้ว ต้องปฏิรูปสื่อในชาติให้แปลข่าวจากสำนักข่าวรอบด้านตามจรรยาบรรณสื่อ จะช่วยได้ระดับหนึ่งครับ”
อย่างไรก็ตามทีมข่าวเดอะทรูธ จึงได้ตรวจสอบย้อนหลังไปก็พบว่าเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2564 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลาปาซ ประเทศโบลิเวีย เมื่อวันที่ 13 มีนาคม นางยานีน อาเนซ อดีตประธานาธิบดีหญิงของโบลิเวีย เดินทางเข้าสู่ทัณฑสถานหญิง ในกรุงลาปาซ หลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงไปเชิญตัวเธอมาจากบ้านพัก เพื่อรอการไต่สวนข้อกล่าวหา
“อัยการสั่งฟ้องเธอ และอดีตรัฐมนตรีอีกหลายคน ฐานก่อการร้าย ปลุกระดม และสมคบคิดก่อการรัฐประหาร เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2562 เพื่อล้มล้างอำนาจบริหารของผู้นำโบลิเวียในเวลานั้น คือ ประธานาธิบดีอีโว โมราเลส”
ก่อนเข้าสู่เรือนจำ อาเนซ วัย 53 ปี ส่งหนังสือถึงองค์การนานารัฐอเมริกัน ( โอเอเอส ) และสหภาพยุโรป ( อียู ) เรียกร้องให้มีการส่งคณะผู้สังเกตการณ์นานาชาติ ร่วมรับฟังการไต่สวนคดีของเธอและบรรดาอดีตรัฐมนตรี และกล่าวด้วยว่า เธอเป็นเหยื่อของ การกดขี่ข่มเหงทางการเมืองที่ผิดปกติวิสัย
สำหรับ อาเนซขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อเดือน พ.ย. 2562 หลังได้รับการรับรองจากศาลรัฐธรรมนูญ แม้ที่ประชุมรัฐสภาไม่สามารถบรรลุมติเห็นชอบ ขณะที่ตอนนั้นโมราเลสลาออก ตามคำขอของผู้บัญชาการกองทัพและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จากการที่ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปลายเดือน ตุลาคม ปีเดียวกัน ไม่โปร่งใสตามการสังเกตการณ์ของโอเอเอส