จากกรณีเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2565 นายแอนโทนี บลิงเกน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ และนายลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ ได้เปิดเผยขณะเดินทางถึงยูเครนแล้ว เพื่อหารือเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางทหารกับประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน
โดยเจ้าหน้าที่อาวุโสรายหนึ่งกล่าวในการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการมาเยือนครั้งนี้ว่า คณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐประชุมกับนายดมิโทร คูเลบา รมว.ต่างประเทศยูเครน รวมถึงรมว.กลาโหมและรมว.มหาดไทยของยูเครน โดยทั้งสองฝ่ายหารือกันเรื่องความช่วยเหลือด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และมนุษยธรรม รวมทั้งจะมีการพิจารณาเรื่องเพิ่มอาวุธยุทโธปกรณ์ หลังจากก่อนหน้านี้มีรายงานว่า สหรัฐฯได้ส่งเครื่องบินขับไล่มาให้ยูเครน แต่ก็พบว่าเป็นเพียงชิ้นส่วนประกอบเท่านั้น อาวุธไม่ได้มีประสิทธิภาพสูง พอให้รับมือกับทางรัสเซียได้
ทั้งนี้ปธน.โจ ไบเดน ของสหรัฐ จะเสนอชื่ออย่างเป็นทางการให้บริดเจ็ต บริงก์ ซึ่งปัจจุบันเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสโลวาเกีย ให้เป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำยูเครนคนต่อไป และสหรัฐยังได้ให้คำมั่นว่าจะให้เงินสนับสนุนทางทหารแก่ต่างประเทศมากกว่า 713 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงการจัดหาเงินทุนสำหรับยูเครนและอีก 15 ประเทศพันธมิตรในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ตลอดจนกลุ่มประเทศบนคาบสมุทรบอลข่านด้วย
ล่าสุดสำนักข่าว Global Times รายงานว่า การที่โลกเกิดวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน จนนำไปสู่การคว่ำบาตรต่อรัสเซีย อาจกลายเป็นโอกาสของสหรัฐฯ ที่ทำให้หลายชาติต้องหันมาพึ่งพาตน ปฏิบัติการระยะที่ 2 กับยุทโธปกรณ์จากตะวันตก ในขณะที่วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน เข้าสู่ปฏิบัติการทางทหารระยะที่ 2 ในภูมิภาคดอนบาส ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้น สหรัฐฯ และบรรดาชาติตะวันตก ต่างให้คำมั่นว่าจะให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนมากขึ้น เพิ่มแรงกดดันและลดการใช้พลังงานของรัสเซีย
ทั่วโลกกำลังจับตาอย่างใกล้ชิดว่า รัสเซียจะสามารถเสริมกำลังทหารอย่างรวดเร็ว และบรรลุเป้าหมายปลดปล่อยภูมิภาคโดเนตสค์และลูฮันสค์ “อย่างแท้จริง” ก่อนวันที่ 9 พฤษภาคมนี้หรือไม่ วิกฤตครั้งนี้เหมือนจะกลายเป็นความขัดแย้งที่ยาวนานหลายเดือน ซึ่งการเป็นผู้นำโลก ทำให้สหรัฐฯ กลายเป็นประเทศที่ได้ผลประโยชน์ในแง่ภูมิศาสตร์ ทางการทหาร และทางเศรษฐกิจ ขณะที่รัสเซียเปิดปฏิบัติการระยะที่ 2 ในยูเครน ซึ่งก่อนหน้านี้กินเวลานานสองเดือน สหรัฐฯ ประกาศให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนอีก 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยสหรัฐฯ ได้ให้คำมั่นว่าจะให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับตั้งแต่เกิดความขัดแย้งในยูเครน ด้านพันธมิตรสำคัญอย่างสหราชอาณาจักรและแคนาดา ก็สัญญาว่าจะให้อาวุธแก่ยูเครนมากขึ้นด้วยเช่นกัน การที่สหรัฐฯ กดดันประเทศอื่น ๆ ให้ร่วมคว่ำบาตรรัสเซีย ขณะที่สหรัฐฯ ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจน้อยที่สุด และว่า สหรัฐฯ อยากให้ประเทศอื่น ๆ เปลี่ยนมาให้ก๊าซของสหรัฐฯ
นอกจากนี้ ซ่ง จงผิง ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารและผู้บรรยายรายการโทรทัศน์จีน กล่าวกับ Global Times สื่อของจีน ว่า การที่ชาติตะวันตกจัดหายุทโธปกรณ์ทางการทหารอย่างต่อเนื่องไปยังยูเครน เพื่อทำให้วิกฤตครั้งนี้ยืดเยื้อ โดยยูเครนกลายเป็นเครื่องมือที่สหรัฐฯ ใช้ตอบโต้รัสเซีย “อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสหรัฐฯ จัดหาอาวุธจำนวนมากให้ยูเครนจริงหรือไม่ เนื่องจากอาจทำให้มูลค่าความช่วยเหลือทางทหารเกินจริง และด้วยนโยบายให้ยืม-เช่า (Lend-Lease) สหรัฐฯ อาจจัดหาอาวุธให้ยูเครนมากขึ้น แต่เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุดลง ยูเครนจะต้องใช้คืนให้แก่สหรัฐฯ ด้วย”
อย่างไรก็ตาม “สหรัฐฯ กำลังเล่นเกมทางการเมืองและเศรษฐกิจ ในมุมมองด้านเศรษฐกิจ สหรัฐฯ หวังที่จะโค่นล้มรัสเซีย และช่วยให้อุตสาหกรรมการทหารของตัวเอง ได้ผลกำไรมากขึ้น” ผู้สังเกตการณ์ยังคาดการณ์ด้วยว่า การบูรณะยูเครนหลังวิกฤตอาจต้องใช้เงินจำนวนมาก และบริษัทสหรัฐฯ รวมถึงบริษัทข้ามชาติ อาจเป็นผู้รับประโยชน์หลักของการฟื้นฟูยูเครน