ทั้งสหประชาชาติในนามอังค์ถัดและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร ต่างประเมินแนวโน้มสินค้าส่งออกอาหาร-เกษตร-แปรรูปเกษตร ของไทยเติบโตและฟื้นตัวในไตรมาส 4 ปี 2563 มีสัดส่วนถึง 74.5% เฉพาะอาหารมูลค่า 1 ล้านล้านบาท หมายถึงผู้ประกอบการไทยมีโอกาสขยายการส่งออกสินค้าข้างต้นได้ ทั้งนี้ยังคงต้องจับตาปัจจัยภายนอกและภายใน ทั้งการระบาดโควิด-19 สถานการณ์การค้าโลก สงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน การกีดกันทางการค้า การแข่งขันทางด้านราคาที่จะมีมากขึ้น เมื่อระดับการผลิตของแต่ละประเทศกลับมาเหมือนเดิม รวมทั้งเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน และปัจจัยการเมืองภายในประเทศที่เกิดขึ้นว่าจะจบเร็วหรือยืดเยื้ออีกด้วย
รายงานการค้าและการพัฒนาของอังค์ถัด2020
Trade and Development Report 2020: From Global to Prosperity for All: Avoiding Another lost Decade เปิดเผยว่า
-แนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity)ปี 2563 ราคาจะลดลง 21% ขณะที่ราคาสินค้ากลุ่มอาหารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 4.9% แบ่งเป็นกลุ่มพืชอาหารเขตร้อน (Tropical beverages) เพิ่มขึ้น 7.1% กลุ่มอาหารเพิ่มขึ้น 4.4% กลุ่มธัญพืชให้น้ำมัน เพิ่มขึ้น 4.8% กลุ่มโลหะมีค่า (Precious metals) เพิ่มขึ้น 24.1%
-โลกค้าขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ 597,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ป้องกัน อุปกรณ์ห้องทดลอง ยา และเทคโนโลยียา โดยพบว่าการค้าสินค้าประเภทนี้ในปี 2562 มีการส่งออก 597,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 1.7% ของการค้าโลก โดยประเทศที่ผลิต 10 อันกับคิดเป็นกว่า 1 ใน 3 ของการส่งออกของโลก ขณะที่ประเทศผู้ซื้อ 10 อันดับแรกคิดเป็น 2 ใน 3 ของการนำเข้า
“ความร่วมมือขององค์กรระหว่างประเทศ รวมไปถึงข้อตกลงการค้าต่างๆ พยายามช่วยการเก็บภาษีการค้าจากสินค้าเหล่านี้และพยายามให้แต่ละประเทศสามารถเข้าถึงได้ โดยภาษีการค้าของสินค้าเหล่านี้อยู่ที่เฉลี่ย 4.8% ต่ำกว่าภาษีเฉลี่ยของสินค้าเกษตร โดยประเทศถึง 70 ประเทศจาก 164 สมาชิกขององค์การการค้าโลกได้เก็บภาษีของสินค้าเหล่านี้ 5% หรือต่ำกว่า โดยมี 4 ประเทศที่ไม่ได้เก็บเลยคือมาเก๊าและฮ่องกงของจีน ไอซ์แลนด์ และสิงค์โปร์ แต่อีกหลายประเทศยังเก็บภาษีในระดับสูงถึง 55%”
สถาบันเอกชนฟันธงส่งออกครึ่งปีหลังบวก
สถาบันอาหาร, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารไทยลดลงร้อยละ 8.6 ด้านการส่งออกมีมูลค่า 505,584 ล้านบาท หดตัวลงเล็กน้อยร้อยละ 2.0 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 พบกลุ่มสินค้าอาหารแปรรูปขยายตัวเพิ่มขึ้น (+0.1%) กลุ่มสินค้าเกษตรวัตถุดิบหดตัวลง (-3.7%)
คาดการณ์การส่งออกอาหารไทยครึ่งปีหลังจะพลิกเป็นบวก มูลค่าราว 519,416 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ทั้งนี้ประเมินว่าหากกิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว เงินบาทไม่แข็งค่าและผันผวนมากนัก และการขาดแคลนวัตถุดิบมีแนวโน้มลดลงจากภัยแล้งที่เริ่มคลี่คลาย ภาพรวมการส่งออกอาหารจะมีมูลค่า 1,025,000 ล้านบาท ขยายเพิ่มจากปีก่อน 0.8%
นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผอ.สถาบันอาหารกล่าวว่า จากการรวบรวมข้อมูลทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องภายใต้การดำเนินงานของ ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร (Food Intelligence Center) โดยมีสภาอุตสาหกรรม และสภาหอการค้า ร่วมบูรณาการข้อมูล
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. ชี้ปัญหาภัยธรรมชาติ ภาวะตลาดโลกและนโยบายรัฐ ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรเดือนตุลาคม 2563มีแนวโน้มราคาสูงขี้น เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ยางพาราแผ่นดิบ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ด้านข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกเหนียว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ น้ำตาลทรายดิบ สุกรและกุ้งขาวแวนนาไม มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง
-ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาอยู่ที่9,479 – 9,628 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.05 – 1.63 เนื่องจากปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรงในประเทศออสเตรเลีย ส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลงร้อยละ 90 จึงมีสต็อกข้าวไม่เพียงพอต่อการบริโภค ทำให้ประเทศออสเตรเลียอาจนำเข้าข้าวจากประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
-ยางพาราแผ่นดิบ ชั้น 3 ราคาอยู่ที่ 48.00 – 48.25 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.23 – 0.75 เนื่องจากความต้องการใช้ยางพาราภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากมาตรการภาครัฐ ประกอบกับคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดลดลงจากภาวะฝนตกชุกซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยางพารา
-มันสำปะหลัง ราคาอยู่ที่ 1.77 – 1.82 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.57 – 3.41 เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูกาลผลิตปี 2563/64 ผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มาก ประกอบกับความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากต่างประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง และ
-ปาล์มน้ำมัน ราคาอยู่ที่ 4.07 – 4.15 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.25 – 2.22 เนื่องจากราคาน้ำมันปาล์มดิบยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความต้องการใช้พลังงานไบโอดีเซลภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น จึงผลักดันให้ราคาปาล์มน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย (TMB Analytics) ประเมินทิศทางการส่งออกสินค้าในครึ่งปีหลัง 2563 จะฟื้นตัวจากกลุ่มสินค้าอาหาร อาหารสัตว์ ผักผลไม้ ยารักษาโรคและเครื่องมือแพทย์ เครื่องดื่ม พลังงาน เคมีภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน สินค้าอุปโภค เครื่องจักรกล สินค้าเกษตร ซึ่งมีสัดส่วน 3 ใน 4 ของมูลค่าส่งออกรวม แนะผู้ประกอบการเร่งปรับปรุงมาตรฐานสินค้าไปพร้อมกับเสริมศักยภาพการผลิต หาตลาดใหม่เป็นทางเลือก และแนะภาครัฐใช้โอกาสนี้ช่วยเจรจาเปิดตลาดสินค้า อำนวยความสะดวกทางการค้าและเสาะหาตลาด ช่องทางในการกระจายสินค้าของผู้ประกอบการไทย ช่วยให้การส่งออกฟื้นตัวกลับมาได้อย่างแข็งแกร่ง
ทั้งนี้ TMB Analytics ทำการวิเคราะห์แนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 โดยประเมินจากปัจจัยลักษณะสินค้าและทิศทางการฟื้นตัวของอุปสงค์ ซึ่งได้แก่ ความจำเป็นของลักษณะสินค้าบริโภค นโยบายปลดล็อกประเทศในโครงสร้างตลาดส่งออก ภาวะตลาดส่งออกก่อนเกิดการระบาด ซึ่งจากการประเมินแบ่งการฟื้นตัวของการส่งอออกได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มหนึ่ง : สินค้าที่คาดว่าจะเติบโตในช่วงโควิด-19 ได้แก่ อาหาร อาหารสัตว์ ผักผลไม้ ยารักษาโรคและเครื่องมือแพทย์ สินค้ากลุ่มนี้ล้วนเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นต่อผู้บริโภค ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกี่ยวข้องกับภาคเกษตร เช่น ข้าว อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป รวมทั้งอาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งประเทศไทยมีความสามารถในการผลิตเพื่อรองรับความต้องการในตลาดได้อีกมาก รวมทั้งมีปัจจัยหนุนจากกำลังซื้อในตลาดจีนที่ฟื้นตัวแล้ว แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจากปัญหาวัตถุดิบที่ถูกกระทบจากภัยแล้งและการแข่งขันสูงในตลาดโลก โดยสินค้ากลุ่มนี้ในครึ่งปีแรก ส่งออกเพิ่มขึ้น 7.5% yoy มีมูลค่าส่งออกรวม 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 12.7% ของมูลค่าส่งออกสินค้าทั้งหมด
กลุ่มสอง : สินค้าที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ได้แก่ เครื่องดื่ม พลังงาน เคมีภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน สินค้าอุปโภค เครื่องจักรกล สินค้าเกษตร สินค้าในกลุ่มนี้จะได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวเศรษฐกิจหลังคลายล็อกดาวน์และการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ระดับราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังลดลงมากในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ช่วยพยุงในเรื่องของราคาสินค้า โดยสินค้ากลุ่มนี้ในครึ่งปีแรก ส่งออกลดลง -9.2% yoy มีมูลค่าส่งออกรวม 6.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 61.8% ของมูลค่าส่งออกสินค้าทั้งหมด
กลุ่มสาม : สินค้าที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงปี 2564 ได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์เหล็ก เครื่องแต่งกายและเครื่องประด้บ สินค้ากลุ่มนี้จะฟื้นตัวช้า เนื่องจากกำลังซื้อที่หดหายจากทั่วโลกกระทบต่อสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อรายได้ เป็นสินค้าที่มีต้นทุนสูงกว่าคู่แข่งต่างประเทศทำให้เสียเปรียบและเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มถูกผลกระทบจากการกีดกันการค้าทางตรงและทางอ้อมหรือไม่ได้สิทธิประโยชน์ทางการค้า โดยสินค้ากลุ่มนี้ในครึ่งปีแรก ส่งออกลดลง -24.2% yoy มีมูลค่าส่งออกรวม 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 25.5% ของมูลค่าส่งออกสินค้าทั้งหมด
ยุทธศาสตร์ 20 ปีของกระทรวงเกษตรฯ(โดยย่อ)
นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภาระกิจเร่งด่วนที่ทางกระทรวงต้องเร่งทำ เพื่อพัฒนาการผลิตทางการเกษตรของไทยให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างจริงจัง
ด้านการผลิต-ตัวเกษตรกรผู้ผลิต กำลังแรงงานภาคเกษตรมีทักษะสูงแต่สูงวัย ต้องเสริมด้วยเทคโนโลยี -พื้นที่การเกษตรจะต้องเชื่อมโยงกับโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ปรับโครงสร้างโดยอาศัยแผนที่การเกษตร (Agri-Map) -เสริมบิ๊กดาต้าให้เกษตรกรเท่าทันสถานการณ์ ทั้งพื้นที่ ปัจจัยการผลิต น้ำและการตลาด
ด้านการตลาด จะใช้การตลาดนำการเกษตร โดยชูสินค้าเกตรที่มีอัตลักษณ์, หาตลาดใหม่ มีอัคราชทูตที่ปรึกษา(ฝ่ายเกษตร)ศึกษาตลาดและแนะนำการผลิต, การรักษาตลาดเดิม ด้วยการเพิ่มคุณภาพสินค้าและบริการ
ด้านน้ำนั้นในช่วง 2 ปีจะผลักดันการผันน้ำยวมเข้าสู่เขื่อนภูมิพล ใช้งบฯลงทุน 7 หมื่นล้านบาทสร้างความมั่นคงทางด้านน้ำ ขยายพื้นที่ชลประธานปีละ6-7 แสนไร่