หน้าแหกกลับไปอีกราย! ผู้นำอียู แจ้นคุยอินเดีย ยุตีห่างรัสเซีย แต่ถูกฟาดกลับไม่เอาด้วย

1174

หน้าแหกกลับไปอีกราย! ผู้นำอียู แจ้นคุยอินเดีย ยุตีห่างรัสเซีย แต่ถูกฟาดกลับไม่เอาด้วย

จากกรณีที่ สื่อต่างประเทศได้ รายงานว่า บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ได้เดินทางไปอินเดียเมื่อวันที่ 21  เมษายนที่ผ่านมา โดยเข้าพบหารือกับนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ในความพยายามที่จะโน้มน้าวอินเดียให้หยุดการพึ่งพาพลังงานและอาวุธจากรัสเซีย หลังจากที่อินเดียแสดงจุดยืนที่เป็นกลางกรณีสถานการณ์การสู้รบในยูเครน โดยอินเดียงดออกเสียงในระหว่างการลงมติประนามรัสเซียบนเวทียูเอ็น นอกจากนี้ก็ปฎิเสธที่จะใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์อินเดียมองว่าความพยายามของจอห์นสันไม่น่าจะประสบผลเนื่องจากอังกฤษมีน้ำมันไม่เพียงพอสำหรับอินเดีย และอาวุธยุทโธปกรณ์ของอังกฤษก็สเปคไม่ตรงกับที่อินเดียต้องการ โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของอาวุธของอินเดีย ล้วนนำเข้ามาจากรัสเซีย ทั้งนี้อินเดียพึ่งพาอาวุธจากรัสเซียเป็นหลักเนื่องจากมักมีปัญหาพิพาทตามชายแดนกับจีนและปากีสถาน

โดยจอห์นสันจะเริ่มที่การไปเยือนรัฐคุชราฎ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของโมดีก่อนเพื่อเยี่ยมโรงงานที่เพิ่งเปิดใหม่ของอังกฤษ และพรุ่งนี้จะพบหารือกับโมดีที่กรุงนิวเดลีเรื่องความร่วมมือด้านความมั่นคง และข้อตกลงเรื่องการค้าเสรีระหว่างอังกฤษและอินเดีย ซึ่งการเยือนอินเดียครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของจอห์นสันนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งผู้นำอังกฤษ

แต่ยังไม่ทันจะไปถึง ชาวอินเดียที่รัฐคุชราฎก็เตรียมต้อนรับจอห์นสันด้วยการเรียกร้องให้ผู้นำอังกฤษกล่าวคำขอโทษจากเหตุกองกำลังอังกฤษสังหารหมู่คนอินเดีย 1 พัน 200 คน เมื่อ 100 ปีที่แล้วในยุคที่อินเดียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ จากเหตุที่ชาวรัฐคุตราฎออกมาประท้วงที่อังกฤษเอาเปรียบ บังคับใช้แรงงานและเก็บภาษีสูงลิ่วจากคนอินเดีย

ล่าสุดเมื่อวานนี้ (25 เมษายน 2565) นางอัวร์ซูลา ฟอน แดร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ( อีซี ) ซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป ที่กรุงนิวเดลี โดยเธอกล่าวอย่างตรงไปตรงมา ว่าอินเดียและนานาประเทศในภูมิภาคแห่งนี้ย่อมได้รับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นในยูเครน

ในส่วนของยุโรปได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรที่มีประสิทธิภาพต่อรัสเซียแล้วหลายระลอก ตอนนี้ เธอจึงหวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าอินเดียจะร่วมใช้ “มาตรการที่มีประสิทธิภาพ” เช่นกัน ขณะเดียวกัน ฟอน แดร์ เลเยน เน้นย้ำว่า อินโด-แปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญสำหรับอียู ในการแบ่งปันคุณค่าและรักษาผลประโยชน์ร่วมกัน โดยในเบื้องต้น ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องการยกระดับความร่วมมือด้านการค้า เทคโนโลยี และการต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลนิวเดลียังคงไม่ตอบสนอง โดยกล่าวว่า การดำเนินนโยบายของอินเดีย “เป็นอิสระและไม่ขึ้นกับฝ่ายใด” โดยก่อนหน้านี้ อินเดียยังไม่ออกเสียงในที่การประชุมสหประชาชาติที่มีการโหวตให้รัสเซียพ้นจากการเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนอีกด้วย