Truthforyou

เปิดเบื้องหลังสหรัฐ จุ้นยูเครน ไม่หยุด เพราะผลประโยชน์จากความขัดแย้ง ไหลเข้าเพียบ!?

หลังจากที่มีรายงานว่า ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ เปิดเผยชุดความช่วยเหลือทางทหารมูลค่า 800 ล้านดอลลาร์ ให้แก่ยูเครน ซึ่งรวมถึงยุทโธปกรณ์ เช่น ปืนครก เนื่องจากการสู้รบเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นในยูเครนตะวันออก และยังอ้างถึงการส่งเครื่องบินขับไล่ไปช่วยเหลือยูเครน แต่บางสื่อก็รายงานว่า สหรัฐฯยังไม่กล้าพอที่จะออกตัวเต็ม ๆ ว่าจะสนับสนุนยูเครน เพราะยังเกรงอำนาจปูติน และต้องการทำการค้าบางธุรกิจต่อเนื่อง แต่พบข้อมูลว่า การส่งอาวุธ และยุทโธปกรณ์บางอย่าง ต้องมีการแอบส่งเป็นชิ้นส่วนย่อย ๆ เท่านั้น และคุณภาพไม่ได้เป็นอาวุธชั้นเลิศแต่อย่างใด

ขณะที่หลายฝ่ายต่างตั้งคำถาม ถึงปมความขัดแย้งที่ยืดยื้อของ 2 ประเทศ ว่าต้องมีบุคคลหนุนหลัง ยื้อให้เรื่องราวไม่จบ ท่ามกลางการเคลื่อนไหวของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ที่มีต่อยูเครนเรื่อยมา นับตั้งแต่การเปิดฉากยึดยูเครนตั้งแต่วันแรก ๆ ของรัสเซีย


ล่าสุดสื่อต่างประเทศรายงานอีกว่า สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยังไม่มีทีท่าจะยุติ หนำซ้ำยังทำให้เศรษฐกิจรัสเซีย-ยูเครนมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะ recession และฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เผชิญกับหลายปัจจัยรุมเร้า ทั้งผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ยังสูง เงินเฟ้อที่สูงสุดในรอบหลายทศวรรษ

แต่ก็มีอีกมุมหนึ่ง ที่น่าจับตา ว่าท่ามกลางความขัดแย้ง เกิดขึ้นคู่ขนานไปกับสงครามทางเศรษฐกิจผ่านมาตรการลงโทษที่ชาติตะวันตกและรัสเซียตอบโต้กัน ไม่ได้มีเพียงผู้ที่เสียประโยชน์เท่านั้น แต่ในระยะสั้นอาจมีผู้ผลิตในบางประเทศที่ได้กำไร จากความขัดแย้งดังกล่าวในบางมิติด้วย

เช่น ผู้ผลิตธัญพืช เนื่องจากรัสเซีย-ยูเครนเป็นผู้ผลิตธัญพืชรายใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก โดยเฉพาะข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และน้ำมันดอกทานตะวัน ที่ทั้งสองประเทศมีสัดส่วนการส่งออกรวมกันราว 25%, 30% และ 75% ของทั้งโลก ตามลำดับ

ซึ่งการที่ผลผลิตมีแนวโน้มลดลง ขณะที่การขนส่งก็ทำได้ยากขึ้น ส่งผลให้ตลาดธัญพืชโลกเกิดภาวะอุปทานตึงตัวสวนทางกับความต้องการที่สูงขึ้น ผลักดันให้ปัจจุบันราคาของธัญพืชทั้ง 3 ชนิดในช่วงต้นเดือนเมษายน 2565 ปรับเพิ่มขึ้นถึงราว 30% เทียบกับต้นปี 2565 ปัจจัยดังกล่าวทำให้ผู้ส่งออกธัญพืชสำคัญรายอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย และสหรัฐ (มีส่วนแบ่งตลาดข้าวสาลี 13% และ 11% ของโลก) รวมถึงออสเตรเลีย และแคนาดา (มีส่วนแบ่งตลาดข้าวบาร์เลย์ 26% และ 5% ของโลก) อาจได้ประโยชน์จากคำสั่งซื้อและราคาที่ขยับสูงขึ้น

และประเด็นความมั่นคงด้านอาหารก็อาจเป็นข้อจำกัดที่ทำให้บางประเทศไม่ได้ประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากนัก อย่างล่าสุดอาร์เจนตินา และฮังการี ก็ห้ามส่งออกธัญพืชเพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศแล้ว

ผู้ผลิตพลังงาน รัสเซียถือเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติถึงราว 11% และ 17% ของโลก ซึ่งปัจจุบันราคาของสินค้าพลังงานทั้งสองในช่วงต้นเดือนเมษายน 2565 ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 30% จากต้นปี ทั้งนี้ การที่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นแหล่งรายได้หลักคิดเป็นราว 40% ของรายได้ประเทศรัสเซีย ทำให้ที่ผ่านมามาตรการลงโทษของชาติตะวันตกพยายามมุ่งเป้าไปที่การตัดท่อน้ำเลี้ยงดังกล่าว

ล่าสุดสหรัฐและชาติตะวันตกบางแห่งประกาศห้ามหรือพยายามลดสัดส่วนการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียแล้ว สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจทำให้ประเทศผู้ผลิตพลังงานอื่นโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ OPEC ที่มีกำลังการผลิตน้ำมันดิบเกือบ 40% ของโลก รวมถึงสหรัฐ กาตาร์ และนอร์เวย์ (สัดส่วนผลิตก๊าซธรรมชาติราว 20%, 4% และ 3% ของโลกตามลำดับ) อาจได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น

 

แต่อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา มักจะมีประเด็นที่สหรัฐฯยังคงนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย และสินค้าจากจีนจำนวนมาก เพื่อนำไปขาดต่อในราคาที่สูงขึ้น แม้ว่าระยะสั้นสงครามที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบทางตรงต่อไทยไม่มากนัก เนื่องจากไทยมีการค้ากับรัสเซีย-ยูเครนเพียง 0.6% ต่อการค้ารวม ขณะที่สินค้าไทยบางชนิดอาจได้อานิสงส์จากการเข้าไปทดแทน เช่น การส่งออกข้าวไปทดแทนข้าวสาลี การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางไปสหรัฐ หรือสินค้าประมงไป EU เพื่อแทนสินค้าจากรัสเซียที่อาจถูกมาตรการลงโทษด้วย

 

 

 

Exit mobile version