Truthforyou

สหรัฐฯย้อนแย้ง? หลังเปิดศึกอยากแบนจีน แต่พบหลักฐาน ยังคงนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นอีก 60%

หลังจากที่ค่าเงินรูเบิลของรัสเซีย กลับมาพุ่งแรง ในช่วงปมเดือด 2 ประเทศเกิดขึ้น โดยค่าเงินใกล้เทียบเท่าสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ท่าทีของปูติน ผู้นำรัสเซีย ก็ใช้กลยุทธ์เด็ด เอาคืนประเทศไม่เป็นมิตร ทั้งเรื่องก๊าซ พลังงานและน้ำมัน ส่งผลให้บางประเทศเดือดร้อนไปตาม ๆ กัน

ส่วนความเคลื่อนไหวทางประเทศมหามิตร อย่างจีน ที่โดนสหรัฐฯบีบทุกวิถีทาง เพื่อจะให้มาร่วมคว่ำบาตรรัสเซีย ก็โดนจีนประกาศอย่างเป็นทางการกลับมาแล้วว่า จะไม่มีการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย ยิ่งทำให้สหรัฐฯอยากตอบโต้กลับจีนมากขึ้น ด้วยการขายอาวุธให้ไต้หวันจำนวนมาก และมีท่าทีที่ต้องการจะแซงชั่นจีนต่อจากรัสเซียด้วย

ล่าสุดมีรายงานระบุว่า ยอดส่งออกของจีนไปยังสหรัฐอเมริกาพุ่งลิ่วแตะขีดสูงสุดใหม่ที่เกือบ ๆ 700,000 ล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ เป็นข้อมูลตัวเลขซึ่งเผยแพร่โดยสำนักงานสถิติของแดนมังกร ลองเอาตัวเลขนี้มาเปรียบเทียบกับยอดส่งออกสู่สหรัฐฯ ของจีนในเดือนสิงหาคม 2019 ซึ่งเป็นเวลาที่คณะบริหารโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศขึ้นอัตราภาษีศุลกากรเอากับสินค้าที่สหรัฐฯ นำเข้าจากจีนอย่างกว้างขวางหลายหลากประเภท ทั้งนี้ตามตัวเลขที่ผ่านการปรับปัจจัยฤดูกาลและคิดเป็นอัตราการเติบโตรายปี แล้วยอดส่งออกสู่สหรัฐฯ ของจีนในเดือนดังกล่าว จะอยู่ที่ระดับ 410,000 ล้านดอลลาร์

เท่ากับว่ายอดมูลค่ารวมของสินค้าที่สหรัฐฯ นำเข้าจากจีน ทะยานขึ้นไปถึงราว ๆ 60% ทีเดียวตั้งแต่ที่อัตราภาษีศุลกากรดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ด้านหนึ่งนี่เป็นการสะท้อนการใช้จ่ายของผู้บริโภคในอเมริกาซึ่งพุ่งพรวดพราดด้วยแรงขับดันจากมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลในระหว่างโรคระบาดใหญ่โควิด-19 ซึ่งมีมูลค่ารวมสูงถึง 6 ล้านล้านดอลลาร์ แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการสะท้อนการลงทุนด้านเงินทุนในอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในสภาพอ่อนปวกเปียกเต็มที รวมทั้งภาวะที่โรงงานอุตสาหกรรมขาดแคลนคนงานที่มีคุณภาพ และจีนในเวลานี้มีส่วนอยู่ถึงราว 28% ของสินค้าอุตสาหกรรมนำเข้าทั้งหมดของสหรัฐฯ ทีเดียว


ระหว่างช่วงสงครามเย็น ยอดการนำเข้าสินค้าจากรัสเซียของสหรัฐฯ อยู่ในระดับที่เล็กน้อยจนไม่มีความสำคัญอะไร ขณะที่สินค้าจากอเมริกาที่รัสเซียนำเข้านั้นที่หลักๆ เลยก็คือข้าวสาลี การเข้าเผชิญหน้าทางยุทธศาสตร์กับประเทศๆ หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้จัดส่งสินค้าสำคัญจำเป็นต่าง ๆ ตั้งแต่พวกอิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงยาเวชภัณฑ์และส่วนประกอบทางเคมี ในสัดส่วนที่สูงมาก จึงต้องถือว่าเป็นแนวคิดใหม่อย่างสิ้นเชิงในประวัติศาสตร์แห่งยุทธศาสตร์

ขณะที่ท่าทีของสหรัฐฯดูเหมือนจะมีความย้อนแย้งในตัว และยังเกรงอำนาจปูติน-สีจิ้นผิงอยู่บ้าง เพราะมีรายงานระบุอีกด้วยว่า ประธานสภาสหรัฐฯ เลื่อนเยือนไต้หวัน โดยอ้างว่าติดโควิด หลังจีนขู่จะปิดน่านฟ้า รวมทั้งสนามบิน-ท่าเรือของเกาะแห่งนี้ โดยที่ผ่านมา ทั้งกระทรวงการต่างประเทศ และสื่อมวลชนของจีนต่างออกมาเตือนสหรัฐฯ ว่า จะเจอกับผลพวงต่อเนื่องที่สาหัสร้ายแรง ถ้ายังขืนส่งเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสไปเยือนไต้หวัน ในวาระครบรอบ 43 ปีของการที่สหรัฐฯ ออกกฎหมายรัฐบัญญัติความสัมพันธ์กับไต้หวัน เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2565 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม การออกมาเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ในสหรัฐฯ ต่อท่าทีที่สืบเนื่องมาจากจีนไม่ร่วมคว่ำบาตรรัสเซียนั้น ทำให้ทางการจีนตอบโต้กลับด้วยว่า สหรัฐฯ ควรยึดมั่นปฏิบัติตามหลักการ “จีนเดียว” และข้อกำหนดต่าง ๆ ของแถลงการณ์ร่วมจีน-สหรัฐฯ ทั้ง 3 ฉบับ ยกเลิกแผนการของเปโลซีในการเยือนไต้หวันในทันที ยุติการติดต่ออย่างเป็นทางการกับไต้หวัน และเติมเต็มความมุ่งมั่นผูกพันของตนในการไม่สนับสนุน “เอกราชของไต้หวัน” ด้วยการกระทำต่างๆ ที่เป็นจริง

“ถ้าสหรัฐฯ ยืนกรานที่จะเดินไปตามวิถีทางของตนเองแล้ว จีนก็จะใช้มาตรการที่หนักแน่นและแข็งแกร่งเพื่อปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของตนอย่างเด็ดเดี่ยว ผลต่อเนื่องที่เป็นไปได้ทั้งหมดทั้งสิ้นซึ่งจะเกิดขึ้นจากการนี้ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะต้องเป็นผู้แบกรับเอาไว้อย่างสิ้นเชิง”

Exit mobile version