นักวิชาการ ฟันธง อนาคตยุโรปเจอวิกฤติจนหดหู่ “เยอรมัน” อ่วมเจอค่าก๊าซ-ไฟฟ้าพุ่ง ระบบเศรษฐกิจส่อพัง!

1367

หลังจากที่มีรายงานวิกฤติในหลายประเทศโซนยุโรป รวมถึงประเทศที่ประกาศตัวคว่ำบาตรรัสเซีย เช่น ฝรั่งเศส ที่ได้มีภาพแชร์ในโลกโซเชียล ถึงการแย่งซื้อน้ำมันพืช และยังขาดแคลนวัตถุดิบอาหาร ทั้งแป้ง ข้าวสาลี ที่ทำให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่รายได้น้อยในแต่ละประเทศอย่างมาก

แม้ว่าบางประเทศจะยอมอ่อนข้อ ไม่แข็งขืนต่อประธานาธิบดี ปูตินแล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่า บางประเทศที่ยังคงยืนยันจะไม่นำเข้าก๊าซจากรัสเซีย ต้องเผชิญกับความเดือดร้อนอย่างหนัก และเยอรมันก็กำลังเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบด้วย

มีรายงานด้วยว่า บรรดาผู้เชี่ยวชาญแถลงว่า ราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นในยุโรป ซึ่งยิ่งเลวร้ายมากขึ้นจากความขัดแย้งที่ขยายวงกว้างระหว่างรัสเซียกับยูเครน เพิ่มแรงกดดันต่อเยอรมนี มหาอำนาจอุตสาหกรรมอย่างหนัก และอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ หากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ต่อไป


ข้อมูลที่เผยแพร่โดยสำนักงานสถิติกลางของเยอรมนี ในช่วงสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ราคาก๊าซและค่าไฟฟ้า พุ่งกระฉูดถึง 256.5% และ 155.3% ตามลำดับเมื่อเทียบปีต่อปี

ผู้เชี่ยวชาญของสภาเศรษฐกิจเยอรมนี หรือจีซีอีอี (GCEE) หั่นการคาดการณ์อัตราการเติบโตเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 2022 ลงจากเดิม 4.6% เหลืออยู่ที่ 1.8% โดยอารีแบร์ท ปีเตอร์ส ประธานสมาคมผู้บริโภคพลังงานแห่งเยอรมนี กล่าวว่า เขารู้สึกกดดันมากอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน

สมาคมผู้บริโภคพลังงาน เป็นหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร มุ่งเน้นผลประโยชน์ของผู้บริโภคโดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง มีสมาชิก 13,000 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคพลังงาน เช่นครัวเรือนและธุรกิจขนาดเล็ก คาดว่าราคาเครื่องทำความร้อน, ก๊าซและไฟฟ้า จะพุ่งสูงขึ้นสองเท่าในปีนี้ ซึ่งหมายความว่า ภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากสำหรับสมาชิกของเรา น่าเสียดายที่ผู้คนจำนวนมากไม่ได้ตระหนักว่ามันตึงเครียดขนาดไหน

บริษัทขนาดใหญ่ของเยอรมนีบางแห่ง ได้สัมผัสถึงความตึงเครียดในการจัดหาพลังงานแล้ว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทผู้ผลิตเคมีภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดของโลก เตือนว่าการหยุดชะงักของก๊าซจะทำให้เยอรมนีเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

ส่วนประธานของบริษัท ซีเมนส์ (Siemens) ยอมรับด้วยว่า มาตรการคว่ำบาตรพลังงานของรัสเซียนั้น จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเยอรมนีเลวร้ายกว่ากระทบเศรษฐกิจรัสเซีย ราคาพลังงานที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น ยังผลักดันให้ราคาอาหารและสินค้าการผลิตอื่น ๆ พุ่งตามไปด้วย ภาวะเงินเฟ้อของเยอรมนี เพิ่มขึ้น 7.3% ในเดือนมีนคมที่ผ่านมา เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งแตะระดับสูงสุดครั้งใหม่ในรอบ 40 ปี

ราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ยังทำให้การบริโภคอ่อนแอด้วย และเมื่อรวมกับผลกระทบเชิงลบเหล่านี้ ก็จะเป็นอันตรายต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเยอรมนีในช่วงหลังโควิดระบาดอีกด้วย ปีเตอร์ส กล่าวว่า หากประชาชนใช้จ่ายค่าพลังงานมากขึ้น พวกเขาก็จะลดการใช้จ่ายสินค้าอื่น ๆ ซึ่งหมายความว่า การบริโภคสินค้าทุกประเภทลดลง ยกเว้นพลังงาน

อย่างไรก็ตามทางด้านนักวิชาการไทย อย่างดร.สมเกียรติ โอสถสภา ยังวิเคราะห์ถึงประเด็นนี้ไว้ด้วยว่า “ที่เยอรมันไม่ต้องแย่งกัน ไม่มีน้ำมันพืชขาย ไม่มีแป้งข้าวสาลี โรงงานทำขนมขาดวัตถุดิบด้วย เดือนเดียวรู้เรื่อง วันนี้ซูเปอร์ใหญ่ ๆ ของเยอรมันปรับราคาสินค้า 400รายการขึ้น 30 % จากน้ำมันทานตะวันที่ส่งออกจากยูเครน รัสเซียปีละ13ล้านตัน ตอนนี้รัสเซียจำกัดโควต้าส่งออกเหลือ1.5 ล้านตันจนสิ้นปี เพิ่งประกาศสามวัน ระบบการขนส่งน้ำมันและแก๊ซทางท่อของจีน เสร็จเมื่อใด สงครามยูเครนจึงสงบ

สามปีนี้ระวังพม่าให้ดี ระวังชายแดนไทย อนาคตยุโรปช่างหดหู่ สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มจริงจังเมื่อเยอรมันบุกรัสเซียเพื่อยึดบ่อน้ำมัน ครั้งนี้ก็เช่นกัน ที่เรียกว่า สงครามยูเครน วันนี้จะเปิดลับสงครามเศรษฐกิจที่ซับซ้อน และสงครามอินโดแปซิฟิกด้วย”