อเมริกาผวา!!’รัสเซีย-จีน-อินเดีย’ผงาด ประกาศยุทธการโค่นอำนาจสหรัฐ-ต.ต. นำโลกสู่ยุคอำนาจใหม่หลายขั้ว

2433

กลางศึกยูเครนที่รัสเซียชิงความได้เปรียบในพื้นที่อย่างเห็นได้ชัด แม้สหรัฐและตะวันตกจะโฆษณาชวนเชื่อว่า รัสเซียกำลังจะพ่ายแพ้ก็ตาม สถานทูตรัสเซียประจำอินเดียได้ประกาศย้ำชัด ถึงการผนึกกำลังระหว่างประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก รัสเซีย-อินเดีย-จีน จะเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ยุคอำนาจหลายขั้ว หรือ Multi-Polar World ซึ่งปูตินกล่าวไว้ชัดเจนว่าเป็นยุคใหม่หลังการครอบงำของตะวันตกที่กำลังล่มสลาย

นอกจากนี้รัสเซียยังได้ออกมาเปิดเผยถึง 10 ยุทธศาสตร์สำคัญที่เครมลินจะใช้เพื่อเอาตัวรอดจนเป็นผู้ชนะในสงครามสั่งสอนนาโต้ผ่านยูเครนครั้งนี้ และจะพิสูจน์ว่าฝันของตะวันตกที่จะสืบทอดการครอบงำโลกต่อไปนั้นไม่อาจเป็นจริงได้ในที่สุด

มาดูยุทธศาสตร์ 10 ด้านที่ได้รัสเซียทำไปแล้วว่ามีอะไรบ้าง

  1. ระบบการชำระเงินของรัสเซีย  รัสเซียจะใช้ระบบ Mir เข้ามาแทนที่ระบบการชำระเงิน “ภายในประเทศ” ของรัสเซีย โดยทางธนาคารรายใหญ่ทั้งหมดจะตัดขาดจากระบบ #SWIFT และใช้ Mir ในการทำธุรกรรมภายในประเทศทั้งหมด ซึ่งทั้งนี้ รัสเซียไม่จำเป็นต้องง้อระบบชำระเงินของตะวันตก อีกต่อไป
  2. การค้าจะใช้สกุลเงิน รูเบิล และสกุลเงินของประเทศปลายทางมากขึ้น โดยรัสเซียจะลดการถือครองสกุลเงินดอลลาร์และยูโร ต่อเนื่องลงเรื่อย ๆ หลังจากนี้ ขณะที่ทางการจีนนั้นมีระบบชำระเเงินระหว่างหยวน-รูเบิลมาสักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งแน่นอนว่ารัสเซียจะหันไปค้าขาย ทำธุรกิจกับจีนด้วยระบบนี้ รวมถึงสกุลเงินรูเบิล-รูปี และทั้งนี้ยังอาจมีการเชื่อมต่อระหว่างหยวน-ริยัล ของ -ซาอุดิอาระเบีย ด้วย  คาดว่าการค้าระหว่างประเทศเหล่านี้จะเติบโตขึ้นทั้งหมดในระบบใหม่
  3. ผู้ส่งออกของรัสเซีย จะได้รับคำสั่งให้เทขายเงินดอลลาร์สหรัฐทั้งหมด โดยมาตรการที่ออกมาแล้วตอนนี้คือ ผู้ส่งออกของรัสเซียต้องเทขายสกุลเงินต่างประเทศ 80% ของรายได้ทั้งหมดเปลี่ยนเป็นรูเบิล โดยจะเก็บสกุลต่างประเทศไว้ได้เพียง 20% เพื่อซื้อขายตามสภาพคล่องเท่านั้น ซึ่งมาตรการนี้จะเป็นการอุ้มเสถียรภาพของรูเบิลในระยะสั้น หลังจากโดนคว่ำบาตรอย่างรุนแรง และแน่นอนว่ารัสเซียจะสนับสนุนการลงทุนภายในประเทศมากขึ้นด้วย

  1. ห้ามส่งออกธัญพืช เพื่อรักษาเสบียงไว้ภายในประเทศ ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องปกติในยามสงคราม “เงินทองของมายา ข้าวปลาคือของจริง” รัสเซียทำไปเพื่อไม่ให้อาหารในประเทศขาดแคลนและราคาสูงขึ้น
  2. ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อรองรับสกุลเงินต่างชาติที่ไม่ใช่ดอลลาร์และยูโร โดยล่าสุดธนาคารกลางรัสเซีย ประกาศขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากรูเบิลไปถึง 20%  เพื่อเสริม Demand ให้รูเบิลโดยด่วน ทั้งนี้ช่วยไม่ให้เงินเสื่อมค่าและป้องกันความเสี่ยงจาก เงินเฟ้อ ในอนาคต หลังจากทุนสำรองของประเทศโดนแช่แข็งไปราว 3 แสนล้านดอลลาร์หรือ 10 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นประมาณ 50% ของทุนสำรองทั้งหมดของรัสเซียเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ สนับสนุนการปล่อย สินเชื่อ และลดภาษี ต่าง ๆ อีกด้วย
  3. อนุญาตให้ธุรกิจของรัสเซียชำระหนี้ เป็นสกุลเงินรูเบิลได้  มาตรการนี้เรียกได้ว่าปูติน “หักดิบ” กับเจ้าหนี้เลยทีเดียว ซึ่งนับเป็นหมากที่เดินได้อย่างชาญฉลาดเพราะถ้าเจ้าหนี้คว่ำบาตรอยู่ รัสเซียจ่ายเป็นรูเบิลก็แลกกลับเป็นดอลลาร์ไม่ได้ และจะมาเอาโทษอะไรกับรัสเซียก็ไม่ได้ด้วย เป็นการแก้ปัญหาที่สหรัฐต้องการผลักดันให้รัสเซียเป็นประเทศล้มเหลว ผิดนัดชำระหนี้ซึ่งก็ไม่สำเร็จในที่สุด

  1. การสนับสนุนภาคพลเรือน ซึ่งรวมถึงมาตรการคุมเงินเฟ้อ การว่างงาน และปัญหาทางด้าน Supply ที่เกี่ยวข้องกับการคว่ำบาตรทั้งหมด โดยจะเน้นไปที่การดูแลเด็กและผู้สูงอายุภายในประเทศ ทั้งนี้รวมถึงการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เงินเดือนในภาครัฐ และเพิ่มสวัสดิการสังคม รวมถึงเงินบำนาญ
  2. จะให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับผู้ประกอบการ โดยรัฐบาลรัสเซียได้อนุมัติร่างแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับธุรกิจ SMEs ขณะที่หน่วยงานท้องถิ่นได้รับคำสั่งให้จัดหามาตรการสนับสนุนแก่องค์กรต่าง ๆ รวมถึงผู้ประกอบการรายบุคคล และพลเมืองที่ประกอบอาชีพอิสระ ทั้งนี้รวมถึงเงินอุดหนุนช่วยเหลือและสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
  3. ปูตินสั่งให้ผู้ส่งออกของรัสเซียไม่ลดกำลังการผลิต แต่ให้หันมาจัดหา Supply ให้แก่ Demand ภายในประเทศแทน ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้ราคาสินค้าจำเป็นในรัสเซียไม่พุ่งสูงขึ้น และไม่ขาดแคลน ท่ามกลางสงครามที่จะดันเงินเฟ้อทั่วโลก  โดยมาตรการนี้  รัสเซียกำหนดว่าจะเป็นการควบคุมเพดานราคาน้ำมัน เบนซิน ดีเซล โลหะมีค่า และสินค้าอื่น ๆ ทั้งหมดที่ต้องใช้ดำเนินเศรษฐกิจในยามสงคราม

  1. สำหรับธุรกิจต่างชาติที่ต้องการดำเนินธุรกิจต่อในรัสเซีย ปูตินกล่าวว่ารัสเซียจะเคารพความเป็นเจ้าของส่วนตัวของบริษัทต่างชาติ คือไม่ฮุบหรือยึดมาทำเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่ทั้งนี้ เขากล่าวว่าอาจต้องมีมาตรการควบคุมหรือสนับสนุนบางอย่าง เพื่อให้บริษัทต่างชาติสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ โดยที่มีผู้ถือหุ้นบางส่วนอยู่ในรัสเซีย ซึ่งตอนนี้ทางกระทรวงเศรษฐกิจ กำลังจัดทำร่างกฏหมายเพื่อควบคุมขั้นตอนดังกล่าว 

เมื่อต้นสัปดาห์นี้ สำนักข่าวทาซซ์รายงานว่า เดนิส อะลิพอฟ(Denis Alipov) เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำประเทศอินเดีย ได้ออกมาประกาศชัดว่า “ความร่วมมือระหว่างรัสเซีย-อินเดียและจีน จะถือเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ยุคอำนาจหลายขั้ว ที่เรียกว่า มัลติโพลาร์เวิลด์(Multi-Polar World) ซึ่งทางปูตินนั้นได้ประกาศไปชัดเจนแล้วว่านี่คือยุคใหม่หลังจากการครอบงำทางการเมืองของตะวันตก

อะลิพอฟย้ำว่า “รัสเซีย อินเดีย และจีน ถือเป็น 3 ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่ยูเรเซียน และไม่มีวิธีอื่นใดนอกจากการร่วมมือกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบ การผนึกกำลังทางการเงิน เศรษฐกิจ และการทหาร  รูปแบบนี้มีอนาคตที่ดี และในความเป็นจริง มันได้สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์เป้าหมายที่กำลังก่อตัวขึ้น บนเส้นทางของภูมิรัฐศาสตร์โลก กล่าวคือ การเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาต่อไปสู่ยุคแห่งโลกหลายขั้วอำนาจ”

นักการทูตกล่าวเสริมว่า “อินเดียไม่เพียงแต่เข้าใจจุดมุ่งหมายของปฏิบัติการพิเศษในยูเครน แต่ยังเข้าใจที่มาของมันในบริบทของความปลอดภัยในยุโรป และนี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ว่า ทำไมอินเดียถึงมีจุดยืนที่ค่อนข้างสมดุล เกี่ยวกับการคว่ำบาตรรัสเซียจากสหรัฐและตะวันตก”