Truthforyou

“นักวิชาการดัง” ด่าสนั่น สันดานชอบทำการทุจริต พร้อมฝาก “ธนาธร” ทวงคืนผืนป่า หลังประกาศ เตรียมยึดพัทยา

ความจริง ที่ไม่ยอมบอก!? “นักวิชาการดัง” หวดยับ สันดานชอบทำการทุจริต พร้อมฝาก “ธนาธร” ทวงคืนผืนป่า หลังประกาศลั่น เตรียมยึดพัทยา!?

สืบเนื่องจากกรณีที่ทางด้านของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

“ถึงเวลาทวงพัทยา คืนมาเป็นของทุกคน วันนี้เวลา 17.30 น. เป็นต้นไป เชิญชวนทุกท่านร่วมฟังวิสัยทัศน์ของแคนดิเดตนายกเมืองพัทยาของเรา พร้อมกับเปิดตัวทีมผู้สมัครสมาชิกสภาเมืองพัทยา (ส.ม.) ครบทุกเขต ที่ลานจอดรถเอกชนท่าเรือบาลีฮาย เมืองพัทยา และชมถ่ายทอดสดได้ที่ เพจเฟซบุ๊กคณะก้าวหน้า”

ต่อมาทางด้านของ นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระชื่อดัง ก็ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวในเรื่อง ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ดีจริงหรือ? ระบุว่า ก้าวหน้า-ก้าวไกล ของธนาธรและเดอะแก๊ง ประกาศรณรงค์นโยบายทวงคืนอำนาจสู่ท้องถิ่น

ด้วยยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค และการส่งเสริมการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งที่ความจริงประชาชนคนไทยมีส่วนร่วมในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของตนผ่านการเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่นอยู่แล้ว ทวงคืนอำนาจทางการเมืองที่มีอยู่แล้วทำไม

พื้นที่ป่าไม้ซึ่งเป็นสมบัติของคนทั้งชาติที่ถูกบางคนบุกรุกและยึดครองอย่างผิดกฎหมายต่างหากที่ประชาชนควรทวงคืน การบริหารราชการส่วนกลาง ได้แก่ คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่สังกัดราชการส่วนกลาง ที่สามารถใช้อำนาจบริหารครอบคลุมทั่วประเทศ การบริหารราชการส่วนภูมิภาค คือการแบ่งอำนาจ (Deconcentration ) อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของการรวมอำนาจในเรื่องของความล่าช้าและไม่ทั่วถึงทุกท้องที่พร้อมๆกัน

ราชการส่วนกลางจึงแบ่งมอบอำนาจการตัดสินใจทางการบริหารในบางเรื่องให้เจ้าหน้าที่ของราชการส่วนกลางที่ส่งไปประจำปฏิบัติหน้าที่ในภูมิภาค / เขตการปกครองต่างๆ (Field office) ให้สามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของราชการส่วนกลาง หน่วยในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด สำหรับงานอำเภอ สำนักงาน(แรงงาน/คลัง/พาณิชย์/เกษตร/ขนส่ง/สัสดี)จังหวัด

การบริหารราชการราชการส่วนท้องถิ่น หมายถึง รูปแบบการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตามหลักการกระจายอำนาจการปกครอง (Decentralization) เป็นวิธีการที่รัฐ / ราชการส่วนกลาง โอนอำนาจการปกครอง หรือ บริหารบางส่วนบางเรื่อง ที่เกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะให้องค์กรหรือนิติบุคคลอื่นรับไปดำเนินการแทน ภายในอาณาเขตของแต่ละท้องถิ่น

ด้วยงบประมาณและเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่น โดยมีอิสระพอสมควร ให้ประชาชนในท้องถิ่นไปดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระ โดยที่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายของประเทศหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน ภายใต้กำกับดูแลจากราชการส่วนกลาง โดยมิใช่บังคับบัญชา

องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยมี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ 1. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วประเทศทุกจังหวัด มี 3 ประเภท ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 2. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา

วัตถุประสงค์หลักของการกระจายอำนาจการบริหารในส่วนภูมิภาคและการบริหารราชการท้องถิ่น มีลักษณะใกล้เคียงกัน ได้แก่ 1. เพื่อให้การดำเนินงานของรัฐ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดขั้นตอนการดำเนินการ อันเนื่องจากการล่าช้าในการตัดสินใจจากส่วนกลาง 2. เพื่อให้บริการต่างๆ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริง

ข้อแตกต่างระหว่างการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นคือ การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากกว่าการบริหารราชการส่วนภูมิภาคซึ่งรับคำสั่งจากส่วนกลาง ข้อดีของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

1.ถ้านักการเมืองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่ซื่อสัตย์สุจริต จะมีการช่วยเหลือที่ทันท่วงทีไม่ต้องผ่านระบบซับซ้อนของส่วนกลาง 2.นักการเมืองท้องถิ่นอาจจะเข้าใจและทราบปัญหาที่แท้จริงของชาวบ้านได้มากกว่าข้าราชการส่วนภูมิภาคที่ถูกส่งมาจากส่วนกลาง 3.ประชาชนมีโอกาสเลือกคนที่ตนเองต้องการให้เข้ามาบริหารราชการ และลงโทษนักการเมืองท้องถิ่นที่ไม่ทำประโยชน์ด้วยการไม่เลือกให้เข้ามาบริหารราชการ

ข้อเสียของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น 1. อาจเป็นการผูกขาดทางอำนาจให้แก่ผู้มีอิทธิพล ในพื้นที่ เช่น สังเกตจากนายก อบจ.หรือ อบต. ส่วนมากมีหน้าซ้ำๆ และมักเป็นคนในเครือของผู้ทรงอิทธิพลในพื้นที่ ซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอรัปชันได้ง่ายกว่าการบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่มีข้าราชการจากส่วนกลางซึ่งมีการหมุนเวียนข้าราชการมารับตำแหน่งในพื้นที่ต่างๆ

3.ยากต่อการตรวจสอบ เพราะข้าราชการท้องถิ่นอาจเป็นคนในเครือข่ายผู้ทรงอิทธิพลในท้องถิ่นที่มักจะปกป้องผลประโยชน์ของตน และประชาชนในพื้นที่ก็อาจจะเกรงกลัวต่ออิทธิพลของผู้ทรงอิทธิพลในท้องถิ่นนั้นๆ

อย่าลืมว่า นักการเมือง ไม่ว่าจะเป็นระดับประเทศหรือระดับท้องถิ่น ถ้าเป็นคนดี มีความสามารถ ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ย่อมสร้างคุณูปการให้กับชาติและประชาชน แต่ความเป็นจริงในทางปฏิบัติตลอดเวลานับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นต้นมา เรามีนักการเมืองที่เป็นคนดี มีความสามารถ ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ น้อยกว่านักการเมืองที่มุ่งกอบโกยผลประโยชน์ของชาติและชุมชนมาเป็นของตนและพรรคพวก

ดังนั้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ ….“ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค โดยให้มีเฉพาะการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น แล้วประเทศชาติจะวัฒนาสถาพร การทุจริตคอรัปชันจะหมดไป ประชาชนจะอยู่ดีกินดีมีความสุข” แต่ปัญหาอยู่ที่…

“นักการเมืองไทยส่วนใหญ่ เป็นผู้ไร้ความสามารถและมีสันดานชอบทำการทุจริตคอรัปชัน” ปัญหาคือ…1. ประเทศไทย หานักการเมืองที่เป็นคนดี มีความสามารถและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ได้ยากเย็นเหลือเกิน 2. ประชาชนคนไทยยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง เพราะฉะนั้น…สิ่งที่ต้องปฏิรูป คือ นักการเมือง และการศึกษาของประชาชน

มิใช่ การปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่เหนือการเมืองและไม่มีอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน(อย่างแท้จริง) มิใช่ ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค หรือการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น เพราะไม่ว่าจะปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์หรือปฏิรูปการเมืองการปกครองอย่างไรก็ตาม

ถ้าหากไม่ปฏิรูปการศึกษาให้กับประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจและมีความสามารถในการตัดสินใจเลือกผู้แทนราษฏรที่เป็นคนดี มีความสามารถและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่แล้ว เราก็จะได้นักการเมืองที่ไร้ความสามารถและมีสันดานทุจริตคอรัปชันตลอดไป เหมือนกับตลอดเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 นั้นเอง จริงหรือไม่ เขียนคำตอบลงในคอมเมนท์

อยากฝากธนาธรและปิยะบุตร ช่วยทวงคืนที่ดินที่ได้มาจากการบุกรุกป่า ดีกว่าการไปทวงคืนพัทยาหรือทวงคืนอำนาจส่วนท้องถิ่น ไปทวงอำนาจการปกครองท้องถิ่นซึ่งประชาชนมีอยู่แล้วให้เสียเวลาทำไม ไปชวนชาวบ้านทวงคืนพื้นที่ป่าซึ่งเป็นสมบัติของคนทั้งชาติที่ถูกครอบครัวมหาเศรษฐีฮุบเอาไปเป็นของตนหรือชวนกันผลักดันให้เจ้าหน้าที่รัฐตรวจสอบว่าผิดกฎหมายหรือไม่และผลักดันให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา จะดีกว่ามั้ย

Exit mobile version