Truthforyou

สหรัฐหน้าแตกยับ!!ซาอุฯเมินไบเดน จับมือสี จิ้นผิงสร้างโรงกลั่นน้ำมันใหญ่เบิ้มในจีน ผลิต 3 แสนบาร์เรลต่อวัน

สถานการณ์ล่าสุดของผลกระทบการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างสุดโต่งของสหรัฐฯและพันธมิตรตะวันตกต่อรัสเซีย เกิดภาพสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจสหรัฐกับพันธมิตรนอกนาโต้ชัดเจนขึ้นว่าไม่ค่อยราบรื่นเท่าใดนัก ตะวันออกกลางที่ในอดีตสหรัฐเข้าแทรกแซงและควบคุมอย่างต่อเนื่อง วันนี้แม้แต่ฝ่ายที่เคยเป็นมิตรชิดใกล้ก็เริ่มถอยห่าง จากพฤติกรรมของสหรัฐในสมัยของปธน.โจ ไบเดนที่กดดันบีบบังคับอย่างซึ่งหน้า นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง  ล่าสุดผู้นำซาอุดิอาระเบียแกนหลักสำคัญของพันธมิตรอ่าวของสหรัฐกลับไม่ยอมรับสายจากไบเดน แต่วันนี้กลับประกาศจับมือกับจีน ตกลงร่วมสร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ในเมืองเหลียวหนิง

วันที่ 11 มี.ค.2565 สำนักข่าวสปุ๊ตนิกและบลูมเบิร์กรายงานว่า บริษัทซาอุดิอะรามโค(Saudi Aramco) บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของซาอุดิอาระเบียประกาศว่าจะร่วมกับจีน สร้างโรงกลั่นแห่งใหม่ขนาดใหญ่ที่สุด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ข่าวดังกล่าวมีขึ้นหนึ่งวันหลังจากริยาดปฏิเสธคำขอของไบเดนให้ขยายการผลิตน้ำมัน เพื่อสนับสนุนการคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียของสหรัฐฯ

อะรามโคฯ กล่าวว่าจะทำงานร่วมกับนอร์ท หัวจิน เคมีคัล อินดัสตรี กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น(North Huajin Chemical Industries Group Corporation) ของจีน และปันหยิน ซินเจียง อินดัสเตรียล กรุ๊ป (Panjin Xincheng Industrial Group) เพื่อสร้างโรงกลั่นแบบบูรณาการขนาดใหญ่ และศูนย์ปิโตรเคมีในเมืองปันหยิน(Panjin) มณฑลเหลียวหนิง โรงงานดังกล่าวจะสามารถผลิตน้ำมันได้ 300,000 บาร์เรลต่อวัน และจะมีเอทิลีนแครกเกอร์ 1.5 ล้านเมตริกตันต่อปี และพาราไซลีน 1.3 ล้านเมตริกตันต่อปี

การเจรจาเพื่อสร้างศูนย์อุตสาหกรรมเริ่มตั้งแต่ปี 2019 หลังจากการเยือนปักกิ่งโดยมกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซาลมาน(Mohammed bin Salman) แห่งซาอุดีอาระเบีย แต่ถูกหยุดชั่วคราวหลังจากการระบาดของ COVID-19 พวกเขาฟื้นฟูการติดต่อในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ข้อตกลงดังกล่าวมีมูลค่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากรายงานข้อมูลของ S&P Global

ข้อตกลงมีขึ้นเมื่อวันที่ 4 ก.พ.2565 บริษัทก๊าซรอซเนต(Rosneft)ของรัสเซีย ได้ลงนามในข้อตกลงระยะเวลา 10 ปีกับบริษัท ไชนา เนชั่นแนล ปิโตรเลียม คอร์ป หรือCNPC(China National Petroleum Corp ) เพื่อจัดส่งน้ำมัน 100 ล้านเมตริกตันหรือ 200,821 บาร์เรลต่อวันไปยังโรงกลั่นทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน

รอซเนตกล่าวว่า”ตามข้อตกลงของ Rosneft และ CNPC จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคาร์บอนต่ำ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงมีเทน เทคโนโลยีด้านประสิทธิภาพพลังงาน ตลอดจนการดักจับ CO2 และ การจัดเก็บ CCS” 

ข้อตกลงจัดทำขึ้นสองสัปดาห์ก่อนที่รัสเซียจะเปิดตัวปฏิบัติการพิเศษในยูเครนโดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้ประเทศเป็นกลางก่อนที่จะกลายเป็นฐานยิงสำหรับการโจมตีของ NATO ในรัสเซีย การดำเนินการดังกล่าวก่อให้เกิดการคว่ำบาตรครั้งใหญ่จากสหรัฐฯ และพันธมิตร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำลายเศรษฐกิจรัสเซีย ซึ่งรวมถึงการตัดสินใจเมื่อวันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมาห้ามการนำเข้าน้ำมันของรัสเซียเข้าสู่สหรัฐอเมริกา

ด้วยเหตุนี้ ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นแล้วจึงพุ่งขึ้นแตะระดับ 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาน้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ ก็เริ่มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพื่อเป็นการตอบโต้ ไบเดนได้ติดต่อกับผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นๆของโลก รวมทั้งซาอุดีอาระเบียและเวเนซุเอลา ซึ่งเป็นสองประเทศที่เขาเคยวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงมาก่อน

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ทำเนียบขาวพยายามจัดการโทรศัพท์ระหว่างปธน.โจไบเดน กับมกุฏราชกุมารบิน ซัลมานแห่งซาอุดิอาระเบีย และชีค โมฮัมเหม็ด บิน ซายิด อัล นาห์ยาน ผู้ปกครองของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) แต่ต้องผิดหวังที่ผู้นำชาติอ่าวไม่รับสาย

ในการให้สัมภาษณ์กับThe Atlantic เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดิอาระเบียบอกกับนิตยสารว่า “ฉันไม่สนใจว่าไบเดนจะเข้าใจฉันหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับเขาที่จะคิดถึงผลประโยชน์ของอเมริกา”

ในทำนองเดียวกัน เจน ซากีโฆษกทำเนียบขาว(Jen Psaki)กล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า นักการทูตสหรัฐฯ ได้เดินทางไปยังเวเนซุเอลา ที่เมืองหลวงการากัสเพื่อพยายามแสวงหาช่องทางซื้อน้ำมัน โดยคณะผู้แทนของสหรัฐฯได้เข้าพบปธน.นิโคลัส มาดูโร (Nicolas Maduro) แห่งเวเนซุเอลาแต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการบรรลุข้อตกลงใดๆ โดยทางการเวเนซูเอล่าได้ปล่อยนักโทษชาวอเมริกัน2 คนตามคำขอของสหรัฐฯ เพื่อแสดงท่าทีพร้อมเริ่มความสัมพันธ์ใหม่

ความพยายามตลอดทั้งปีของสหรัฐฯในการรื้อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านปี 2015 อาจได้รับผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากพรรครีพับลิกันโจมตีไบเดนให้ทำงานร่วมกับนักการทูตรัสเซียในข้อตกลงนี้ต่อไป เพราะทั้งสหรัฐฯ และรัสเซียต่างเป็นภาคีของข้อตกลงนี้ พร้อมด้วยมหาอำนาจโลกอีกหลายประเทศ หากฟื้นคืนชีพข้อตกลงได้  อิหร่านจะต้องยอมรับข้อจำกัดที่เข้มข้นในด้านคุณภาพและปริมาณของยูเรเนียม ที่สามารถปรับให้เข้ากับโครงการพลังงานนิวเคลียร์พลเรือนของตน เพื่อแลกกับการลดมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ถึงจะทำให้วอชิงตันสามารถซื้อน้ำมันอิหร่านได้ 

คงต้องติดตามกันต่อไปว่า กลยุทธ์ของสหรัฐฯกับรัสเซียตอบโต้กันในสงครามเศรษฐกิจ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพลังงาน จะส่งผลต่อพันธมิตรทั้งสองฝ่ายอย่างไร ซึ่งแน่นอนย่อมกระแทกมาถึงไทยด้วย  จนถึงช่วงเวลานี้ คู่ขัดแย้งไม่มีใครยอมใครอีกแล้ว!

Exit mobile version