ทัวร์ลงยับ! “นักวิทย์ผักตบ” แกว่งปาก เหน็บ “ปูติน” ยึดหลักพอเพียงยึดยูเครน? ย้อนฉายา ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย
จากกรณีที่ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงกรณีสงครามยูเครนและรัสเซีย โดยบอกว่า
ถ้า วลาดิเมียร์ ปูติน ยึดหลัก “พอเพียง” จริง .. ก็ไม่น่าจะโลภมาก บุกยึดยูเครนมาเป็นของรัสเซีย
ต่อมาก็ได้มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็น โดยบอกว่า ก็คุณเป็นผู้เชี่ยวชาญชีววิทยา ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางรัฐศาสตร์ ถึงได้โชว์การวิเคราะห์แบบเพี้ยนๆ ว่าปูดินจะยึดยูเครนมาครอบครอง แล้วอีกเรื่องที่ไม่เกี่ยวเลยคือ ไม่ว่าจะยึดเศรษฐกิจพอเพียง หรือ ยึดเศรษฐกิจแบบกู้หนี้ยืมสิน …
ต่อมาก็ได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าวว่า เห็นโพสนี้แล้วผมนึกถึงใบหน้าของบุคลากรคุณภาพต่ำแต่หิวแสงคนหนึ่งที่ทำให้ภาพลักษณ์ของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในยุคหลังๆตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย
ผมนึกย้อนกลับไปในอดีตเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน ผมศึกษาและสะสมฟอสซิลเป็นงานอดิเรก เมื่อเก็บตัวอย่างฟอสซิลได้ซ้ำกันหลายชิ้นจากแหล่งใด ผมก็รวบรวมนำเข้าไปมอบให้อาจารย์ที่ในเวลานั้นดูแลพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ท่านนั้นใจดีมาก กรุณาพาผมดูและอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งจัดแสดงที่น่าสนใจหลายอย่าง ที่จำได้แม่นยำคือเกล็ดปลาซีลาแคนท์ซึ่งเป็นเกล็ดแบบ Cosmoid มีลักษณะพิเศษต่างจากเกล็ดปลาทั่วไป เกล็ดนี้เก็บเอาไว้ในห้องด้านในสุดที่อาจารย์ท่านกรุณาพาเข้าไปชมอย่างใกล้ชิดไม่ถือตัวหรือหวงแหนปกปิดความรู้ใดๆ
ตอนที่อาจารย์ท่านแนะนำตัวผมถึงกับตะลึง เพราะท่านคือดร.ทศพร วงศ์รัตน์ที่ผมเคยได้ยินชื่อเสียงมานานด้านอนุกรมวิธานปลา ในภายหลังท่านได้เป็นทั้งศาสตราจารย์กิตติคุณ และยังเป็นราชบัณฑิตอีกด้วย
อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เก่งๆดีๆเช่นนี้ยังมีอีกหลายท่าน อาทิ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ผู้ที่เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานหอยทากและกิ้งกือ
ผมกล่าวถึงอาจารย์ระดับปูชนียบุคคลที่ทั้งเก่งและดี น่าเคารพมาแล้ว ลองมาดูบุคลากรคุณภาพต่ำแต่หิวแสงกันบ้าง บุคลากรคนนี้ยกตนราวกับเป็นพหูสูตที่สามารถตอบได้ทุกเรื่อง จึงมีการปล่อยไก่อยู่เนืองๆ ผู้คนยังแซวกันเรื่องเมนูผักตบกันอยู่จนถึงทุกวันนี้ แต่บุคคลากรคุณภาพต่ำคนนี้ก็ยังไม่มีความละอาย มาคราวนี้มีการยกเรื่องพอเพียงมาโยงกับปูตินและข้อพิพาทระหว่างรัสเซีย-ยูเครนทั้งที่ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกันแม้แต่น้อย มีบุคลากรคุณภาพต่ำแต่หิวแสงแฝงกายอยู่ในองค์กรแบบนี้ ผมสงสารภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจริงๆครับ
ปล.1 ฟอสซิลหลายชิ้นที่ผมมอบให้พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไป ยังคงจัดแสดงอยู่จนถึงทุกวันนี้ ได้แก่ ฟอสซิลหอยและปูจากชั้นดิน Bangkok Clay ฟอสซิลหอยน้ำจืดจากเหมืองแม่เมาะ ฟอสซิลปะการังและฟองน้ำจาก จ.เลย ฟอสซิลใบไม้จากเหมืองถ่านหิน อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี
ปล.2 ผมเรียนจบวิศวกรรมไฟฟ้า จรรยาบรรณหนึ่งของวิศวกรคือจะไม่พูดให้ความเห็นและไม่ทำในเรื่องที่เราไม่รู้ อยากให้บุคลากรคุณภาพต่ำแต่หิวแสงคนนี้สะกดคำว่าจรรยาบรรณเป็นบ้างจังเลยครับ
อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2559 รศ.เจษฎา ได้โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นกรณี วานนี้ (26ส.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเชิงประชดประชัน โดยไล่นักวิจารณ์ที่วิจารณ์การจัดการผักตบชวา เอาไปกินแทนผักบุ้ง โดยรศ.เจษฎาระบุว่า “ผักตบชวา แกงกินได้ อาหารพื้นบ้าน”
เห็น พล.อ.ประยุทธ์ไล่นักวิชาการไปกินผักตบชวาแทนผักบุ้ง เลยเอาเมนูพื้นบ้านมาให้ดูว่า ชาวบ้านเค้าเอาผักตบมาแกงกินกันได้นะครับ นี่ยังไม่นับว่าเอายอดมันมาลวกจิ้มน้ำพริกได้ด้วยนะ คนโบราณอย่าง พล.อ.ประยุทธน่าจะลองชิมดู เผื่อจะติดใจ
“แกงผักตบชวา อร่อยจากแหล่งน้ำ” จานเด็ด 76 จังหวัด ชายชาญ ไชยมั่น ข่าวสดจังหวัดเชียงราย แนะนำจานเด็ด แกงผักตบชวาปลาดุก ฝีมือ นางศรีบุตร ปินตาแก้ว ชาวบ้านหนองปึ๋ง เขตเทศบาลนครเชียงราย เจ้าของสูตร นางศรีบุตร เปิดเผยว่า บ้านอยู่ใกล้กับหนองน้ำชุมชน มีผักตบชวา หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า “บัวลอย” มากมาย ยามที่เบื่อกับข้าวทั่วๆ ไป ชาวบ้านริมหนองน้ำจะเก็บผักตบชวามาทำอาหาร การเก็บผักตบ เลือกเก็บแต่ยอดอ่อนและก้าน ลอกใบออก เอาเฉพาะส่วนที่คล้ายฟองน้ำสีเขียวอ่อนนุ่ม ล้างน้ำให้สะอาด ปลาดุกล้างให้หมดเมือกหั่นเป็นชิ้นๆ จากนั้นเตรียมเครื่องแกง ใช้น้ำพริกหนุ่ม โขลกรวมกับกะปิและเกลือเม็ด
ต้มน้ำให้เดือดใส่น้ำพริกแกง รอน้ำเดือดอีกครั้งใส่ชิ้นปลาดุกลงไป ไม่ต้องคนเพื่อไม่ให้มีกลิ่นคาว ปลาดุกสุกแล้ว ใส่ผักตบชวาที่เตรียมไว้ลงไป ปรุงรสด้วยน้ำปลา หากชอบเผ็ดใส่พริกแห้งเพิ่มได้ ต้มต่อสักครู่ก็ยกขึ้นโต๊ะได้ ก่อนกินอาจบีบมะนาวเล็กน้อยเพิ่มความหอม นอกจากใช้พริกแกงเป็นน้ำพริกหนุ่มแล้ว แกงผักตบชวายังทำแกงส้มได้ด้วย แค่ใช้เครื่องพริกแกงแกงส้มใส่แทนเท่านั้น ถ้าเป็นแกงส้มชาวบ้านเรียกว่า แกงส้มยอดบัวลอย
ทำให้นักวิชาการและชาวเน็ตจำนวนมาก ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ต่อกรณีดังดล่าวเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาภายหลัง รศ.ดร.เจษฎา ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวรับผิดชอบกรณีดังกล่าวโดย ระบุว่า
“ก่อนอื่น ผมขออภัยที่โพสต์เรื่อง ผักตบชวากินได้ โดยไปแซวกระทบนายกฯ ด้วยความตั้งใจเพียงแค่อยากให้คนในสังคมเมืองรู้ว่า จริงๆ ผักตบชวามันเป็นอาหารพื้นบ้านที่กินกันมานานแล้วในหลายพื้นที่ ไม่ใช่เป็นสวะอย่างเดียว
ประการที่สอง ผมขออภัยที่ไม่ได้คิดเรื่องต้องเตือนประชาชนให้ระวังการกินผักตบที่อยู่ในบ่อบำบัดน้ำ แหล่งน้ำเสีย และบริเวณที่มีรายงานว่ามีโลหะหนักปนเปื้อน อย่างเช่น บริเวณปากแม่น้ำ (เหมือนที่ปากน้ำปราณ) ซึ่งผักตบจะดูดซึมโลหะหนักมาสะสมที่รากได้ดีมากๆๆ ขณะที่ลำต้นกับใบก็มีการสะสมได้เช่นกัน … เห็นด้วยกับหมอจ่า ว่าถ้าจะเก็บมาทำอาหารกิน ควรจะเอาจากแหล่งน้ำที่มั่นใจ ที่ใสสะอาด
ประการที่สาม ผมขออภัยที่หยิบเอางานวิจัยปี 2531 มาเสนอว่าผักตบชวาตามแหล่งน้ำธรรมชาติ (อ่างเก็บน้ำ) ในภาคอีสาน พบโลหะหนักแค่เหล็กและแมงกานีสที่มากหน่อย ซึ่งที่ต้องงานวิจัยเก่า ก็เพราะไม่พบงานวิจัยทำนองนี้ที่ทันสมัยกว่าเลย … ซึ่งเห็นด้วยกับหมอจ่าเช่นกัน (คุยเคลียร์กันหลังไมค์) ว่าปัจจุบันมีแม่น้ำหลายแห่ง ที่มีรายงานพบว่ามีบางจุดตรวจพบโลหะหนักเกินมาตรฐาน การเก็บผักตบมากินจึงต้องยิ่งระวังมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าผมไม่ได้โพสต์อะไรเกี่ยวกับการกำจัดผักตบ ไม่เคยพูดว่าให้กินผักตบเพื่อกำจัดมัน เหมือนที่บางคนไปป้ายสี ปั่นกระแสด่าทอ จริงๆ กะจะโพสต์เสนอเรื่องการกำจัดผักตบที่ได้ผล ด้วยวิธีทางชีวภาพ (พวก bio control ด้วยด้วงงวง) แต่ท่าทางคงจะยิ่งไปกันใหญ่ … โพสต์ขออภัยสาธาณชนก่อนดีกว่า เพื่อแสดงความรับผิดชอบ ผมจะหยุดโพสต์เฟซบุ๊กหนึ่งสัปดาห์ และไม่โพสต์ที่กระทบการเมืองอีกหนึ่งเดือน ด้วยความเคารพทุกๆ ท่านครับ”