ครั้งนี้หมอไม่รับเย็บ! “เจ๊หน่อย” หอบรายชื่อ ยื่นป.ป.ช.ฟ้องรบ.อีก ครั้งก่อนหน้าแหก! ศาลไม่รับ

1319

ครั้งนี้หมอไม่รับเย็บ! “เจ๊หน่อย” หอบรายชื่อ ยื่นป.ป.ช.ฟ้องรบ.อีก ครั้งก่อนหน้าแหก! ศาลไม่รับ

จากกรณีที่วันนี้ (1 มีนาคม 2565) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานพรรคไทยสร้างไทย โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรากัดไม่ปล่อย! ขอเดินหน้าสู้ต่อเพื่อประชาชน วันนี้เราจะนำรายชื่อประชาชน 700,000 คน ไปยื่นร้องป.ป.ช.เพื่อ #ฟ้องรัฐบาลประยุทธ์ พรรคไทยสร้างไทยขอลุยเพื่อประชาชน

สืบเนื่องจากที่พี่น้องประชาชนจำนวน 700,000 คน ได้ร่วมลงชื่อ #ฟ้องรัฐบาลประยุทธ์ กรณีมีพฤติการณ์ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ บริหารจัดการโควิดผิดพลาด จนทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตของประชาชน และมีพฤติการณ์จัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพต่ำในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
หลังจากที่พรรคไทยสร้างไทย นำรายชื่อประชาชนทั้ง 700,000 คน มอบให้สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ได้ยื่นฟ้องพลเอกประยุทธ์ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางเมื่อ ศุกร์13 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา
ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า คดีที่ยื่นฟ้องนี้ไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดี #ไม่รับไว้พิจารณา
โดยกฎหมายได้บัญญัติให้คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ทำให้ #ประชาชนไม่สามารถฟ้องร้อง โดยตรงต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบด้วยตัวเองได้ จึงต้องร้องผ่าน ป.ป.ช. (ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 234 (1))
วันนี้ #พรรคไทยสร้างไทย จะขอเดินหน้าสู้ต่อ ขอเป็นตัวแทนพี่น้อง นำ 700,000รายชื่อ มอบให้สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย เพื่อเดินหน้ายื่นเรื่องให้ ป.ป.ช. เพื่อดำเนินคดีตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานพรรคไทยสร้างไทย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวว่า โดยระบุว่า จะไปยื่นต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบในวันที่ 13 ส.ค.64 เวลา 10.30 น.ภายหลังรวบรวมรายชื่อได้ 700,000 รายชื่อ ที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนให้พรรคไทยสร้างไทย ยื่นฟ้องรัฐบาลที่บริหารผิดพลาดบกพร่องในการแก้ไขปัญหาโควิด โดยนายโภคิน พลกุล พร้อมด้วย นายวัฒนา เมืองสุข และผู้เสียหายจากการบริหารสถานการณ์โควิด-19 ได้ไปประชุมกับ นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย เพื่อดำเนินคดีกับนายกรัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้อง

ต่อมาทางด้านนายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีที่มีบุคคลหลายกลุ่มจะยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี โดยระบุข้อความว่า

กรณีที่มีข่าวว่ามีบุคคลหลายกลุ่มจะฟ้องนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่า ล้มเหลวในการบริหารสถานการณ์โควิด-19 และการบริหารทางสาธารณสุข เพราะความบกพร่องอย่างร้ายแรงของนายกรัฐมนตรีที่ปล่อยปละละเลยจนเกิดการแพร่ระบาดถึง 4 ระลอก รวมทั้งบริหารจัดการวัคซีนผิดพลาดบกพร่องอย่างร้ายแรง
ในข้อหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2564 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. ๒๕๕๙ มาตรา ๓ วรรคสอง บัญญัติว่า ความใน วรรคหนึ่งมิให้รวมถึง
(๑) คดีที่อยู่ในอํานาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง บทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ไม่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๑๐ บัญญัติว่า ศาลมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี ดังต่อไปนี้
(๑) คดีที่มีมูลแห่งคดีเป็นการกล่าวหาว่าผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองเฉพาะตามที่บัญญัติไว้ ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อํานาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔ บัญญัติว่า
“ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง” หมายความว่า
(๑) นายกรัฐมนตรี ฯลฯ
“ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทําให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตําแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตําแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ ที่มิควรได้โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือกระทําการอันเป็นความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการหรือ ความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่น
ตามบทบัญญัติของ พรป. ว่าด้ายการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และ พรป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ดังกล่าวสรุปได้ว่า นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดำรงแหน่งทางการเมือง การกล่าวหาว่านายกรัฐมนตรีปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย คือการกล่าวหาว่าทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อํานาจขัดต่อต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
จึงเป็นคดีที่มีมูลแห่งคดีเป็นการกล่าวหาว่าผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อํานาจขัดต่อต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ย่อมอยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เมื่อเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ จึงน่าจะฟ้องนายกรัฐมนตรีในข้อหาดังกล่าวต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางไม่ได้