เปิดคลิป สว.สมชาย ฟาดนักการเมืองกลางสภาฯ! หลอกปชช. ปมไพรมารี่โหวต ส่งพรป.พรรคการเมืองฝ่ายค้านตกระนาว
จากกรณี เมื่อวันที่ 25 ก.พ.2565 นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสว. ที่ทำหน้าที่ประธานการประชุม แจ้งต่อที่ประชุม เมื่อการอภิปรายเป็นที่ยุติแล้ว จากนี้เป็นในส่วนของ ผู้นำเสนอร่างพรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ทั้ง6ฉบับ ประกอบด้วย 1. ร่างของคณะรัฐมนตรี 2.ร่างของพ.ต.อ. ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติกับคณะ 3.ร่างของนายชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยกับคณะ 4.ร่างของนายวิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐกับคณะ 5.ร่างของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลกับคณะ 6. ร่างของนายอนันต์ ผลอำนวย ส.ส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐกับคณะได้อภิปรายสรุปอีกครั้ง
โดยการสรุปของผู้นำเสนอร่างจากพรรคฝ่ายค้าน ยังคงพยายามโน้มน้าวชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องต่างๆ อันไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย มุ่งหวังทำลายนักการเมือง พรรคการเมืองจนเกินไป แต่ก็ร้องขอให้สมาชิกรัฐสภาร่วมโหวตรับหลักการในวาระที่1
เวลา19.20น. ต่อมานายชวน หลีกภัย ประธานสภา ได้เข้ามาทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้สอบถามที่ประชุม เห็นควรลงมติ ร่างของพรป.ที่มีเนื้อหาคล้ายกันรวมกัน หรือจะให้แยกเป็นรายฉบับ ผลปรากฏให้แยกกันลงมติ จากนั้นแจ้งถึงขั้นตอนการลงมติร่างพรป.ว่าด้วยพรรคการเมืองทั้ง 6 ฉบับ ผลปรากฏว่า
(1.) ร่างของคณะรัฐมนตรี เห็นด้วย 598 ไม่เห็นด้วย 11 งดออกเสียง14
(2.)ร่างของพ.ต.อ. ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติกับคณะ เห็นด้วย 207 ไม่เห็นด้วย 375 งดออกเสียง 37
(3.)ร่างของนายชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยกับคณะ เห็นด้วย 221 ไม่เห็นด้วย 371 งดออกเสียง 30 ไม่ลงคะแนนเสียง 1
(4.)ร่างของนายวิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐกับคณะ มีผู้เห็นด้วย 578 ไม่เห็นด้วย 19 งดออกเสียง 26
(5.)ร่างของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลกับคณะ มีผู้เห็นด้วย 204 ไม่เห็นด้วย 381 งดออกเสียง 34 ไม่ลงคะแนน 1
(6.) ร่างของนายอนันต์ ผลอำนวย ส.ส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐกับคณะ มีผู้เห็นด้วย 408 ไม่เห็นด้วย 184 งดออกเสียง 28 ไม่ลงคะแนน1
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญขีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ขอให้ใช้กรรมาธิการวิสามัญฯพิจารณาร่างพรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ชุดเดียวกันกับ ร่างพรป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และใช้เวลาแปรญัตติ 15 วัน
อย่างไรก็ดี แม้ส.ส.พลังประชารัฐ จะเสนอให้ใช้ร่างของนายวิเชียร ชวลิต หรือร่างจากพรรคร่วมรัฐบาล เป็นหลัก แต่ฝ่ายสว.คัดค้านว่า ควรใช้ร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก ทำให้ต้องมีโหวตว่า จะใช้ฉบับไหนเป็นหลัก ปรากฏว่าเสียงส่วนใหญ่ ให้ใช้ฉบับของนายวิเชียร ซึ่งเป็นร่างจากพรรคร่วมรัฐบาล ในการพิจารณาในชั้นแปรญัตติเป็นหลัก
ในขณะที่ทางด้านของ นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ได้เสนอว่า อภิปรายตนไม่สามารถรับหลักการร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองบางฉบับได้เนื่องจากจะสร้างปัญหาในอนาคต ในสภาฯและกฎหมายที่ไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้การแก้ไขพ.ร.ป. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 132 ต้องทำให้เสร็จภายใน 180 วัน และการออกเสียงลงคะแนนเห็นชอบ มากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่ของรัฐสภา หากส.ส. 500 คนเห็นอย่างไร ส.ว. 250 คนไม่สามารถทัดทานได้ แต่ส.ว.มีหน้าที่กลั่นกรอง หากพ.ร.ป.ทำไม่เสร็จภายใต้กรอบ 180 วัน ถือว่าสภาฯ ให้ความเห็นชอบตามที่เสนอในมาตรา 131 โดยร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ที่รัฐสภา รับหลักการแล้ว แม้ส.ว. 202 เสียงจะไม่รับหลักการ หากทำไม่เสร็จ ต้องกลับไปใช้ร่างที่เสนอ ดังนั้นอาจต้องถกเถียงว่า จะยึดเนื้อหฉบับใด จาก 1 ใน 4 ฉบับ และอาจนำไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ นายสมชาย กล่าวว่า การทำไพรมารี่โหวต ที่ส.ส.อภิปรายว่ามีปัญหา หากไม่อยากได้ ต้องกลับไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งการเสนอแก้ไขสามารถทำได้ในสมัยประชุมหน้า ทั้งนี้ส.ว.ฐานะคนกลั่นกรอง ไม่สามารถให้ร่างพ.ร.ป.ที่มีข้อสงสัยผ่านไปไม่ได้ อย่างน้อย 3 ร่างที่มีปัญหา คือ ฉบับของนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติและฉบับของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในส่วนของข้อเสนอให้แก้ไขมาตรา 28 มาตรา 29 ว่าด้วยการครอบงำพรรคการเมือง หากประชาชนใช้สิทธิเสนอแนะ ถือว่าเป็นการมีส่วนร่วมสามารถทำได้ แต่ต้องไม่ใช่ครอบงำจนขาดความเป็นอิสระ ที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 45 กำหนดเป็นข้อห้ามไว้ รวมถึงประเด็นการตัดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญกรณียุบพรรค