Truthforyou

เอาแล้วไง??ธนาคารยุโรปเทสหรัฐ ค้านขับรัสเซียจาก SWIFT อิตาลี-ฝรั่งเศส-ออสเตรียหวั่นเจ๊งแต่เมกาลอยตัว

นักการทูตระดับสูงของเคียฟเรียกมาตรการคว่ำบาตรที่สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปเตรียมขับรัสเซียออกจากระบบการเงินโลกว่าเป็น ‘ระเบิดทางเศรษฐกิจอันทรงพลัง’ มั่นใจรัสเซียจะถูกทำลายย่อยยับ  แต่ฝั่งยุโรปที่ได้รับผลกระทบโดยตรงไม่คิดเช่นนั้น เพราะปรากฎว่าธนาคารใหญ่หลายแห่งเริ่มขยับ คัดค้านมาตรการขับรัสเซียจากระบบSWIFT เท่ากับลอยแพหนี้ก้อนใหญ่ของธนาคาร แต่มีหรือสหรัฐจะไม่รู้ และนี่อาจเป็นคำอธิบายประเด็นหนึ่งที่ว่า เหตุใดสหรัฐต้องการให้เกิดสงครามในยุโรป รากฐานของการกระตุ้นสงครามของสหรัฐฯคือปัญหาเศรษฐกิจในบ้านกำลังสาหัสและไม่อาจแก้ไขได้ ถ้าไม่เกิดสงครามทำลายล้างในพื้นที่เศรษฐกิจแห่งหนึ่งที่จะผลักดันให้เกิดการไหลของทุน กลับเข้าสู่สหรัฐอเมริกาซึ่งจะลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่เอาไม่อยู่แล้ว เพราะพิมพ์เงินโดยไม่มีการค้ำประกันและหนี้ทะลุฟ้าทั้งภาคสาธารณะและครัวเรือน

วันที่ 13 ก.พ.2565 สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์และรอยเตอร์ รายงานเกี่ยวกับท่าทีของธนาคารในยุโรป ต่อเป้าหมายการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหรัฐต่อรัสเซียว่า มาตรการนี้ถูกคัดค้านโดยเหล่าผู้ให้กู้ในยุโรปอย่างมาก  นั่นคือธนาคารใหญ่ทั้งหลาย มีความกังวลว่าการปิดระบบมอสโกว์จะหมายความถึงหนี้สูญหรือไม่ เงินกู้คงค้างที่พวกเขามีในรัสเซียจะไม่ได้รับการชำระคืนหรือไม่  ธนาคารรายใหญ่หลายแห่งของยุโรป เช่น UniCredit, RBI, โซซิเอตเต เจเนอร์เรล(Societe Generale) ของฝรั่งเศส และ ING ของเนเธอร์แลนด์ มีความสัมพันธ์ในด้านการค้าการลงทุนของลูกค้าในรัสเซีย จากการวิจัยของ JPMorgan พบว่าสถาบันต่างๆ เสี่ยงที่จะสูญเสียเงินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐหากมีการบังคับเลิกใช้ SWIFT

ดมิตทรี กุลเลบา(Dmitry Kuleba)รัฐมนตรีต่างประเทศยูเครนให้สัมภาษณ์กับสื่อท้องถิ่น  เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เปิดเผยว่าการเพิกถอนรัสเซียออกจากระบบการชำระเงินระหว่างประเทศของ SWIFT นั้นเชื่อมโยงกับ ‘การบุกรุก’ ยูเครนที่สหรัฐฯกล่าวหาว่าใกล้จะเกิดขึ้น

ส่วนการไม่เข้าร่วมแผนการที่จะเพิกถอนรัสเซียออกจาก SWIFTของสถาบันการเงินและธนาคารใหญ่หลายแห่งในยุโรป  เกิดขึ้นภายใต้แรงกดดันของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปบางประเทศ กุลเลบากล่าวว่า “นี่เป็นผลมาจากกระบวนการภายในในสหภาพยุโรป เนื่องจากบางประเทศยังไม่พร้อมที่จะละทิ้งผลประโยชน์ของตนเองที่เกี่ยวข้องกับการเพิกถอนรัสเซียออกจากระบบ SWIFT ของโลกการเงินปัจจุบัน” 

แต่ถึงแม้จะไม่มี SWIFT ก็ตาม แพ็คเกจนี้ยังคงเป็นระเบิดกดดันทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อรัสเซีย ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อรัสเซียโจมตียูเครนโดยเจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ยืนยันเมื่อวันศุกร์ที่ 11 ก.พ.ว่าวอชิงตันไม่มีแผนที่จะลงโทษรัสเซียก่อนหากรัสเซียไม่บุกยูเครน

ก่อนหน้านี้สำนักข่าวรอยเตอร์ได้รายงาน อ้างถึงเจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ที่ไม่เปิดเผยชื่อ และแนะนำว่ามาตรการคว่ำบาตรจะมุ่งเป้าไปที่ธนาคารรายใหญ่ของรัสเซีย แต่จะไม่รวมการห้ามรัสเซียจากระบบ SWIFT ของธนาคารรองรับการโอนเงินทั่วโลก ซึ่งมีการใช้งานโดยสถาบันการเงินมากกว่า 11,000 แห่งในกว่า 200 ประเทศ

“เป้าหมายคือการออกแบบการคว่ำบาตรที่จะกระทบกับรัสเซียโดยตรง ในขณะที่จับตาดูความเสียหายจากหลักประกันของสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง แต่การคว่ำบาตรจะกระทบยุโรปหนักขึ้นอย่างแน่นอน”

หากการคว่ำบาตรรัสเซียจากระบบSWIFT เกิดขึ้นเมื่อใด ธนาคารในอิตาลี ฝรั่งเศส และออสเตรียมีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะสูญเสียหนี้ก้อนใหญ่

รอยเตอร์รายงานเมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยอ้างแหล่งข่าวธนาคารต่างๆ กล่าวถึงการตัดการเชื่อมต่อของรัสเซียจาก SWIFT ว่าเป็น”ระเบิดปรมาณู”สำหรับอุตสาหกรรมนี้ เนื่องจากจะขัดขวางไม่ให้มีการชำระหนี้ ธนาคารยุโรปกังวลว่าระบบการชำระเงินที่เชื่อมโยงพวกเขากับรัสเซียอาจกลายเป็นความเสียหายจากวิกฤตยูเครนจากการวิจัยของ 

ข้อมูลจากธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) แสดงให้เห็นว่าธนาคารในอิตาลีและฝรั่งเศสแต่ละแห่งมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากรัสเซียจำนวน 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 ธนาคารออสเตรียมียอดค้างชำระ 17,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ธนาคารสหรัฐมีหนี้ค้างชำระอยู่ที่ 14,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายงานของ BIS ระบุว่า ข้อมูลของธนาคารต่างประเทศต่อหนี้สินของรัสเซียลดลงมากกว่าครึ่ง นับตั้งแต่สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปประกาศคว่ำบาตรต่อต้านรัสเซียในปี 2557 ย้อนกลับไปในตอนนั้น ระบบการชำระเงินระหว่างประเทศของ SWIFT ได้ปฏิเสธที่จะพิจารณาเพิกถอนรัสเซียออกจากบริการของตนเพื่อตอบสนองต่อการคว่ำบาตรของสหรัฐเช่นกัน

แจน เพียเตอร์ คราห์เนน(Jan Pieter Krahnen) ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจากมหาวิทยาลัยเกอเธ่ (Goethe) ในเมืองแฟรงก์เฟิร์ต และที่ปรึกษากระทรวงการคลังของเยอรมนี กล่าวว่า ผลที่ตามมาในระยะสั้นของการแบนดังกล่าวไม่ชัดเจน และอาจส่งผลย้อนกลับได้ ในระยะยาว อาจนำไปสู่การสร้างกลไกคู่ขนานที่จะเป็น“ความสูญเสียสำหรับระบบทั่วโลก และยังเอื้อให้เกิดความขัดแย้งต่อไปในอนาคต”

Exit mobile version