เปิดชัดระเบียบมช. “ทัศนัย” แห้ว ขาดคุณสมบัติ ชิงตำแหน่งแคนดิเดตอธิการบดีคนใหม่!?

2019

กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ในแวดวงการศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากที่มีการเปิดรายชื่อ แคนดิเดตอธิการบดีมช.คนใหม่ โดยทราบชัดเจนแล้วว่า ขณะนี้มี 4 รายชื่อเข้าชิง ได้แก่

รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล

ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล

ผศ.ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี

รศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี

โดยเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2565 คณาจารย์ม.เชียงใหม่ ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึก ร้องแคนดิเดตชิงอธิการฯมช. ต้องแสดงวิสัยทัศน์ต่อประชาคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้แต่ละคนได้มีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถ เพิ่มการมีส่วนร่วมในการสรรหาอธิการบดีคนใหม่

ต่อมาทางด้านสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้อาสาเป็นองค์กรกลาง จัดการหยั่งเสียงขึ้นมา เพื่อแสดงเจตนารณ์ของประชาคมให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยเป็นการหยั่งเสียงผ่านระบบออนไลน์ ในวันที่ 9 ก.พ. ที่ผ่านมา ล่าสุดปิดการหยั่งเสียงมีการเปิดเผยผลการหยั่งเสียงเลือกอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันพุธ 10.00 น.–17.00 น. ผลการหยั่งเสียงหลังจากหมดเวลา ผู้ลงทะเบียนเพื่อคะแนน 1,375 คน

 

 

คิดเป็นกลุ่มบุคลากรสายวิชาการ 80 คน บุคลากรสายสนับสนุน 58 คน นักศึกษา 1,237 คน

เลือก รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล 368 คน (26.76%)

เลือก ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล 38 คน (2.76 %)

เลือก ผศ.ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี 516 คน (37.53%)

เลือก รศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี 441 คน (32.07%)

นอกจากนี้สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า “ขอยืนยันในความเข้าใจอันดีว่าการจัดให้มีการหยั่งเสียงในครั้งนี้นั้นอาจไม่ส่งผลอย่างเป็นทางการ หากแต่การหยั่งเสียงในครั้งนี้จะเป็นการฝังเมล็ดพันธุ์แห่งประชาธิปไตยที่เริ่มจะงอกเงยในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเจริญงอกงามในอนาคตอย่างสง่าผ่าเผย สโมสรนักศึกษาจะนำผลการหยั่งเสียงที่ได้ รายงานสู่สาธารณะและยื่นแก่กรรมการสรรหาอธิการบดีเพื่อประกอบการพิจารณาคัดสรรอธิการบดีต่อไป ขอให้สมาชิกประชาคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทุกคนจับตามอง”

ทั้งนี้มีการเปิดเผยเพิ่มเติมจากแหล่งข่าววงใน ต่อประเด็นของการแสดงวิสัยทัศน์ ของ 3 แคนดิเดตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีรศ.ดร.ปิ่นแก้ว รศ.สมชาย และผศ.ดร.ทัศนัย ว่ามีการให้นักศึกษาช่วยกันโหวตคะแนนให้กับทางผศ.ดร.ทัศนัย แต่อาจจะไม่เป็นผลในการที่จะได้รับการเลือกให้เป็นอธิบการบดีคนใหม่ เนื่องจากคุณสมบัติไม่ผ่าน เช่น ไม่เคยได้ทำงานด้านบริหารมาก่อน และต้องมีพฤติกรรมที่ดี เหมาะสม เพราะหากย้อนกลับไป เมื่อช่วงเดือน มีนาคม 64 เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่ คณะวิจิตรศิลป์ มช. ถูกชำแหละถึงความผิดปกติ เป็นแหล่งรวมผลไม้พิษ เมื่อนักศึกษากลุ่มเดิม ๆ พยายามจัดทำงานศิลปะ ผลงานธงชาติไร้สีน้ำเงิน ส่งผลให้ถูกตรวจสอบว่า เข้าข่ายหมิ่นเหม่ ม.112 เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของ มช. จึงจำเป็นต้องเข้าตรวจสอบ

ในขณะนั้นเองที่ทำให้หลาย ๆ คนได้รู้จักกับ ผศ.ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ โดยออกมาเคลื่อนไหว ปกป้องงานศิลปะดังกล่าว พร้อมทั้งเอาเรื่องฝ่ายบริหาร ที่เข้ามาตรวจสอบ
ทำให้เกิดการแตกหัก เป็นสองฝั่งของ อาจารย์ 2 กลุ่ม ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นอกจากนี้แหล่งข่าววงในยังเปิดเผยอีกด้วยว่า แม้แต่การจะเชิญชวนให้นักศึกษามาโหวตเลือกตัวเองนั้น ก็ถือว่าไม่เหมาะสมแล้ว โดยในระเบียบการคัดเลือกอธิการฯมช. มีคุณสมบัติว่าไว้หลายประการ ทั้งด้านวิสัยทัศน์และต้องสานต่อพันธกิจของมหาวิทยาลัย ที่ว่าด้วยการอบรมสั่งสอนนักศึกษา อนุรักษณ์วัฒนธรรมล้านลา ทำให้มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง ต้องมีความสุจริต ซื่อสัตย์ มีบุคลิกภาพ ความมั่นคงทางอารมณ์ มีจริยธรรมอันดี และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี รวมไปถึงต้องเป็นที่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย ซึ่งทำให้ข้อดี อาจจะเป็นจุดอ่อน ที่ทำให้ผศ.ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี ที่ได้คะแนนหยั่งเสียงมากที่สุด ต้องชวดตำแหน่ง เพราะคุณสมบัติไม่ตรงตามระเบียบที่ระบุไว้ ซึ่งเกี่ยวโยงกับประเด็นทางสังคม ที่เคยมีความหมิ่นเหม่ต่อผลงานศิลปะที่พาดพิงสถาบันฯด้วย

ต่อมาหากดูความเหมาะสมของ รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เคยได้ออกมาประกาศตัวยืนฝั่ง ผศ.ดร.ทัศนัย โดยทางด้านของ รศ.สมชาย ถือว่าโด่งดังในกลุ่มผู้ชุมนุม
จากการออกมาปกป้อง พรรคอนาคตใหม่ หลังจากถูกยุบพรรค อีกทั้งยังปกป้องการชุมนุม REDEM ที่ได้มีการเผาทำลาย รถของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยใช้การเลี่ยงบาลีแบบง่าย ๆ และคาใจหลายๆคนว่า นั่นคือ “การเผาแบบสันติ” แต่พบว่ารศ.สมชาย มีคุณสมบัติในส่วนของการบริหารงานมาก่อน จึงอาจจะเป็นคุณสมบัติประการแรกที่ตรงตามระเบียบมหาวิทยาลัย ส่วนด้านพฤติกรรมอื่น ๆ อาจจะไม่เหมาะสมก็ต้องว่าไปตามระเบียบอีกเช่นกัน

ปิดท้ายกันที่ศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ไม่เคยทำงานด้านบริหารมาก่อน ยิ่งทำให้ไม่ตรงตามคุณสมบัติในระเบียบของมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวของทั้ง 3 แคนดิเดตอธิการบดีมช.คนใหม่นั้น มีการถูกจับตามองว่า เบื้องหลังอาจจะต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อหวังเปลี่ยนขั้วอำนาจภายใน รวมถึงจะมีการสอดแทรกจากอำนาจภายในนอกคอยสั่งการหรือไม่ ก็ไม่อาจจะทราบได้ แต่ที่แน่ ๆ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังถูกจับจ้องจากคนหลายกลุ่มว่าจะกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองในอนาคตหรือไม่