ก๊วนฝ่ายค้านหน้าหักเป็นแถบ! นายกฯ ส่งสัญญาณล่าสุดชัดแล้ว “ไม่ยุบสภา-อยู่ยาว”

1151

ก๊วนฝ่ายค้านหน้าหักเป็นแถบ! นายกฯ ส่งสัญญาณล่าสุดชัดแล้ว “ไม่ยุบสภา-อยู่ยาว”

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (10 กุมภาพันธ์ 2565) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์เรื่องการเป็นเจ้าภาพเอเปค ค.ศ. 2023 – 2024 กรุงเทพมหานคร ว่า ปีนี้ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก หรือเอเปค ซึ่งเป็นช่วงที่ภูมิภาคของเราตั้งเป้าหมายจะฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างยั่งยืน และครอบคลุม โดยในสัปดาห์หน้า ผู้แทนของเขตเศรษฐกิจเอเปคจะเริ่มต้นการหารือรอบแรกของปี เพื่อวางแผนงานสําหรับปีนี้ และผลักดันการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการอาโอทีอาโรอา ซึ่งได้รับความเห็นชอบเมื่อปีที่แล้วเพื่อการบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 โดยวิสัยทัศน์นี้จะกําหนดแนวทางการดำเนินงานของเอเปคในอีก 20 ปีข้างหน้า

หัวข้อหลักของการเป็นเจ้าภาพเอเปค ปี 2565 คือ เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล โดยประเด็นสำคัญคือการทำให้เอเปคเปิดกว้างสู่ทุกโอกาส เชื่อมโยงในทุกมิติ และสร้างสมดุลในทุกด้าน ภายใต้วิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาความไม่สมดุลที่เห็นเด่นชัดขึ้นจากวิกฤติโรคระบาด และการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคด้วยการนำแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเป็นโมเดลที่บูรณาการแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ 3 ข้อเข้าด้วยกันมาใช้ประโยชน์

ภารกิจของเอเปคเป็นงานระยะยาวที่ต้องการความร่วมมือและความพยายามอย่างต่อเนื่อง ความมุ่งมั่นของสมาชิกเอเปคที่มีต่อการพัฒนาภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกจะถูกสานต่อโดยเจ้าภาพเอเปคในปีต่อ ๆ ไป โดยผมมีความยินดีที่จะประกาศว่า สหรัฐอเมริกาจะเป็นเจ้าภาพเอเปคในปี ค.ศ. 2023 และเปรูจะเป็น เจ้าภาพเอเปคในปี ค.ศ. 2024

ด้วยความร่วมมือกัน พวกเราจะเติมเต็มเป้าหมายร่วมในการสร้างประชาคมเอเชีย – แปซิฟิกที่เปิดกว้าง มีพลวัต พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และมีสันติภาพ เพื่อประชาชนของเราทุกคนและคนรุ่นหลัง

“ผมรอที่จะต้อนรับผู้นำเอเปคทุกท่านสู่ประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งทุกท่านจะได้เป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดเป้าหมายที่สำคัญสำหรับภูมิภาคของพวกเราร่วมกัน”

อย่างไรก็ตาม หลายคนจับตาว่า การที่พลเอกประยุทธ์ ออกมาแถลงในเรื่องของการเตรียมพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพในการประชุมเอเปค ในเดือนพฤศจิกายนนี้ นั่นหมายความว่า จะไม่มีการยุบสภาอย่างแน่นอน

ย้อนไปก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงเหตุการณ์การประชุมสภาผู้แทนราษฎรล่ม ว่าเหตุผลสำคัญเพราะสส.ในกลุ่มของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า อดีตเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ไม่ร่วมเป็นองค์ประชุม ทำให้การประชุมสภาฯ สัปดาห์ที่ผ่านมาล่ม และนับเป็นครั้งที่ 16 ถือว่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นปัญหาล่มซ้ำซาก ซึ่งในปัจจุบัน มี สส.ที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ 473 คน องค์ประชุมต้องใช้กึ่งหนึ่ง คือ 237 เสียง ขณะที่สส.พรรครัฐบาลมี 245 เสียง เกินกึ่งหนึ่งมาเพียง 5 เสียง และในจำนวน สส.พรรครัฐบาล พบว่ามีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีหลายคน ทำให้เหตุการณ์ประชุมล่มจึงเกิดขึ้นได้ง่าย อีกทั้ง สส.ในกลุ่มของ ร.อ.ธรรมนัส ไม่ร่วมประชุมด้วย

นายยุทธพงศ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ทางเลือกของ นายกรัฐมนตรี 2 ทาง คือ 1.ปรับคณะรัฐมนตรี และ 2 คือ ยุบสภา แต่สถานการณ์ขณะนี้มีสัญญาณค่อนข้างชัดเจนว่า “จะนำไปสู่การยุบสภาเพราะไปไม่รอด”

ในขณะที่ทางด้าน พรรคก้าวไกล ก่อนหน้านี้ นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคก้าวไกล ตั้งข้อสังเกต ถึงเสถียรภาพการทำงานของรัฐบาล ผ่านผลงานการแก้ปัญหาต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา หลัง เปิดประเทศ ว่า รัฐบาลกำลังประสบปัญหาเรื่องเสถียรภาพในการบริหารงาน ไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างตรงจุด ทั้งเรื่องปัญหาราคาข้าวถูก น้ำมันแพง หรือเรื่องเศรษฐกิจ

รวมถึงการทำงานของซีกรัฐบาลในสภาก็น่ากังวล เพราะเห็นได้ชัดเจนว่าซีกรัฐบาลกำลังมีปัญหาเรื่องเสถียรภาพ เห็นได้จากปัญหาสภาล่ม ตั้งแต่เริ่มเปิดสมัยการประชุม รวมถึงกรณีที่รัฐมนตรีไม่ยอมเข้ามาตอบคำถามในสภา ซึ่งเหตุการณ์นี้หลายคนมองว่าอาจเป็นสัญญาณของการยุบสภาได้ โดยเชื่อว่า ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลเองก็รู้สึกไม่มั่นใจว่าจะเกิดการยุบสภาหรือไม่