จากที่อานนท์ นำภา แกนนำคณะราษฏร2563 ได้ออกมาโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก ว่าด้วยเรื่องขบวนรถยนต์กษัตริย์ไปวัดกับการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยนั้น
“ผู้ชุมนุมจะยืนอย่างสงบ ชู 3 นิ้ว แสดงออกอย่างสันติถึงข้อเรียกร้อง เพื่อให้กษัตริย์ ได้รับรู้ถึงเป้าหมายของการชุมนุมในข้อที่ 3 ที่อยากเห็นสถาบันกษัตริย์ ปรับปรุงตัว และอยู่กับระบอบประชาธิปไตยได้อย่างไม่ประดักประเดิด รวมทั้งให้สังคมเป็นประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข ตามครรลองอย่างแท้จริง” นายอานนท์ ระบุ
10 ตุลาคม 2563 อานนท์ นำภา ในนามของคณะราษฎร
ต่อมา นายอานนท์ ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กถึงความเคลื่อนไหวในวันที่ 14 ตุลาคมว่า
14 ตุลา หลังส่งเสด็จด้วยการชู 3 นิ้ว ที่ราชดำเนิน ขบวนประชาชนทั้งหมดจะเคลื่อนขบวนไปตั้งเวทีปราศรัยไล่ประยุทธ์ และพักค้างรอบทำเนียบรัฐบาล
ขอเชิญทุกท่านมาไล่ประยุทธ์ด้วยกัน นอนค้างบนถนนร่วมกับพี่น้องประชาชน
ด้านนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ สมาชิกวุฒิสภา ส.ว.) ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา ได้เปิดเผยถึงความรู้สึก ความทรงจำ ความจงรักภักดี ต่อ พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่มีต่อปวงชนชาวไทย
ทั้งยังมองว่า ม็อบในวันที่ 14 ต.ค.63 คงจะห้ามไม่ได้ แม้ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม การชุมนุมมันเหมือนกับ หมากรุก เป็นเหมือนเกมส์ ทุกฝ่ายต่างดูเชิงดูเหลี่ยม มีคนเดินหมากไปถึงเบี้ย รวมถึงย้ำด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะไม่มีวันสำเร็จ ผลอาจจะเลวร้ายลงด้วยซ้ำ เพราะสิ่งที่คิดกันอยู่มันทำลายชาติบ้านเมือง และสร้างความแตกแยก
ล่าสุดวันนี้(12ต.ค.63) นายอานนท์ ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กถึงการชุมนุมในวันที่ 14 ตุลาคม ว่า
สำหรับผม การต่อสู้คราวนี้เป็นการต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นคนที่ต้องเท่าเทียมกัน
ในเชิงรูปธรรม
๑) เราต้องยกเลิกระบบที่ สว. อภิสิทธิชนที่ไม่ได้มาจากประชาชนไปเลือกนายกแทนประชาชน ยกเลิกระบบที่เปิดให้อำนาจเผด็จการทุกรูปแบบได้มีที่อยู่ที่ยืนในสังคม
๒) เราต้องยกเลิกระบบคิดแบบเก่าที่ล้าหลังทั้งหมด ทั้งเรื่องศักดินาชนชั้น เรื่องเพศสภาพที่กดขี่ ฯลฯ
๓) เราต้องยกเลิกระบบกษัตริย์ แบบเดิมที่ซ่อนอำนาจไปทุกอณูของการเมือง สร้างระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอย่างแท้จริง และถ้าสังคมยังคงมีมติให้มีสถาบันกษัตริย์ ก็ต้องให้สถาบันกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
การปรับตัวของทุกส่วนที่เป็นปัญหาต่อรูปธรรมข้างต้นคือจุดชี้ขาดว่า เราจะเดินทางในเส้นทางปฏิรูป หรือเส้นทางปฏิวัติ
ที่มา : เฟซบุ๊ก อานนท์ นำภา