ปิยบุตรเงิบ! หลังออกตัวแซะพรรคชูปกป้องสถาบันฯ สุดท้ายปชช.ยอมรับ คะแนนชัด แทบไล่เบียดแซง “ก้าวไกล”

1135

หลังจากเสร็จสิ้นการเลือกตั้งซ่อมเขต 9 หลักสี่-จตุจักรแล้ว ก็ทราบผลคะแนนไปแล้วว่า นายสุรชาติ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย ได้คะแนน 29,416 คะแนน , นายกรุณพล เทียนสุวรรณ พรรคก้าวไกล ได้ 20,361 คะแนน , นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี พรรคกล้า ได้คะแนน 20,047 คะแนน ,นางสรัลรัศมิ์ เจนจาคะ พรรคพลังประชารัฐ ได้ 7,906 คะแนน และนายพันธุ์เทพ ฉัตรธนะรัชต์ พรรคไทยภักดี ได้คะแนน 5,987 คะแนน

ทั้งนี้ย้อนไปเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2565 นายปิยุตร ได้ออกมาเคลื่อนไหวก่อนการเลือกตั้ง มีการกล่าวถึงพรรคที่ชูเรื่องความจงรักภักดี ในการหาเสียงเลือกตั้งซ่อมเมื่อวาน มีสองพรรคปราศรัยเรื่องจงรักภักดี ผมเห็นว่าจงรักภักดีที่ถูกต้องที่สุด คือ สถาบันกษัตริย์ต้องไม่มีพระราชอำนาจในทางการเมือง ในทางการบริหารราชการ ในทางเศรษฐกิจเลย ทั้งในทางลับและในทางแจ้ง เพื่อดำรงสถานะความเป็นกลาง และไม่ต้องรับผิดใด

หากให้สถาบันกษัตริย์มีพระราชอำนาจเหล่านี้ ก็เป็นธรรมดาที่จะถูกตั้งคำถาม ถูกวิจารณ์ ถูกตรวจสอบ ต้องรับผิดชอบ เพราะในระบอบประชาธิปไตย ไม่มีวันปล่อยให้ใครมีอำนาจสาธารณะแล้วไม่ต้องรับผิดชอบ วิธีเช่นนี้ จะทำให้สถาบันกษัตริย์ดำรงอยู่อย่างมั่นคง

โดยข้อความดังกล่าวก็มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับคำพูดของนายปิยบุตร รวมทั้งตั้งข้อสังเกตว่า พรรคไหนที่ชูเรื่องรักสถาบันฯ ปกป้องสถาบันฯ ประชาชนอาจจะไม่ได้เทคะแนนให้ เพราะเชื่อว่าพลังคนรุ่นใหม่จะเลือกพรรคก้าวไกลเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อผลคะแนนออกมา ของพรรคกล้า ที่ชูเรื่องการพิทักษ์ปกป้องสถาบันฯ และความจงรักภักดี กลับมีคะแนนมากถึง 20,047 ห่างจากก้าวไกลเพียง 314 คะแนนเท่านั้น

แม้ว่าในเขตหลักสี่จะเป็นฐานเสียงเดิมของพรรคประชาธิปปัตย์ จึงทำให้มีการเทคะแนนมายังพรรคกล้า ที่มีกรณ์ จาติกวณิชเป็นหัวหน้าพรรคแล้ว ก็ต้องยอมรับด้วยว่า ยังมีประชาชนอีกมาก ให้การตอบรับเรื่องของการปกป้องสถาบันฯ คะแนนจึงเบียดไล่พรรคก้าวไกลมาแบบติด ๆ ต่อมาพรรคกล้า ได้ตั้งโต๊ะแถลง ถึงความสำเร็จครั้งนี้ ว่าแม้จะลงสนามหน้าใหม่ แต่เทียบชั้นก้าวไกลแบบติด ๆ

อย่างไรก็ตามผลการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ได้เพียงแต่สะท้อนเรื่องการที่พรรครัฐบาลพ่ายแพ้เท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลงก็จริง แต่ก็ต้องไม่พาดพิงไปถึงสถาบันฯ อย่างที่พรรคก้าวไกลพยายามจะโยงมาโดยตลอด แม้นายปิยุบตรจะยกเรื่องนี้มาพูดถึงพรรคการเมืองที่ชูความจงรักภักดี แต่ก็นับว่าพิสูจน์ให้เห็นชัดแล้วว่า ประชาชนยังต้องการนักการเมืองที่ทำงาน ตรวจสอบรัฐบาลได้ แต่จะต้องเคารพและปกป้องสถาบันฯหลักของชาติด้วยเช่นกัน