แทรกซึมยันวัด? 3 นิ้วเปิดตัวห้องสมุดในวัดทองนพคุณ เจอตร.บุกรวบ พบหนังสือต้องห้ามเพียบ ส่อปลุกระดมรุนแรง!?

1744

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา ที่หอสมุดภัทรานุสรณ์ วัดทองนพคุณ เขตคลองสาน กรุงเทพฯ มีการจัดงานเปิดตัวห้องสมุด “1932 People Space library” ซึ่งรวบรวมหนังสือแนวประวัติศาสตร์การเมืองในเมืองไทย โดยเน้นประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม

และเมื่อวันที่ วันที่ 23 มกราคม นายชนินทร์ วงษ์ศรี หรือ “บอล” แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม หนึ่งในทีมงานผู้ร่วมก่อตั้งห้องสมุด “1932 People Space library” ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เปิดเผยว่า “ด่วน!!! ตำรวจลง 1932 People Space library เป็นเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ 5 นาย จาก สน.สมเด็จเจ้าพระยา ยึดหนังสือไปจำนวนหนึ่ง โดยไม่มีหมายค้น จึงขอยืนยันเสรีภาพทางวิชาการ เป็นสิ่งพึงมี ไม่มีผู้มีอำนาจใดจะมีสิทธิ์ที่จะยึดไปตามอำเภอใจได้

ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลสน.สมเด็จเจ้าพระยา ได้บุกค้นห้องสมุด 1932 People Space Library ซึ่งตั้งอยู่ที่หอสมุดภัทรานุสรณ์ วัดทองนพคุณ พระอารามหลวงชั้นตรี เขตคลองสาน กทม. หลังจากห้องสมุดแห่งนี้ได้ทำการเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 โดยยึดหนังสือนิทานวาดหวัง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวการชุมนุมของม็อบ 3 นิ้ว รวมถึงยึดสติกเกอร์คัดค้านมาตรา 112 และธงสีแดงพร้อมรูปกำปั้นของกลุ่มสังคมนิยมไปหนึ่งผืน อย่างไรก็ตามต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำของที่ยึดไปมาคืนให้กับห้องสมุด

สำหรับห้องสมุด 1932 People Space Library ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นแนวร่วมม็อบราษฎร เป็นโครงการที่รวบรวมหนังสือเก่า หนังสือด้านการเมือง ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และหนังสือพิเศษ นอกจากหนังสือนิทานวาดหวังแล้ว ยังมีหนังสืออื่น ๆ เช่น หนังสือตำนานเสรีไทย , หนังสือ 2 ปี ยุค คสช. มีผลงานอะไรบ้าง , หนังสือ 6 ตุลา เราคือผู้บริสุทธิ์ หรือ หนังสือปฏิวัติและประชาธิปไตย อีกทั้งยังมีหนังสือต้องห้ามอีกจำนวนมาก โดยอ้างว่ามีวัตถุประสงค์ต้องการทำให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ให้ประชาชนเข้าถึงความรู้ได้อย่างง่าย และต้องการให้เด็กภายในชุมชนได้อ่านหนังสือ หรือเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ นอกจากนี้ในห้องสมุดยังมีรูปของนายปรีดี พนมยงค์ แกนนำคณะราษฎร 2475 ตั้งโชว์อยู่กลางห้องสมุดด้วย

ขณะที่การจัดงานเปิดห้องสมุด เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2565 ได้มีกิจกรรมช่วง people talk มีนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส. ศิวรักษ์ นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , พันตร พุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา บุตรคนที่ 4 ของพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะราษฎร มาร่วมวงเสนาภายในงานด้วย

ด้านเพจเฟซบุ๊ก The PARASITE ได้โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่องเปิดปุ๊บ! ยึดปั๊บ! หนังสือต้องห้ามเพียบห้องสมุดเฒ่าปรสิต บุกวัดหลวง แทรกการเมืองเข้าวัด หวังสร้างแครอทรุ่นใหม่ โดยเพจเฟซบุ๊ก The PARASITE ระบุว่าเคยแปลกใจไหมว่าทำไม อดีตพส.ผู้อื้อฉาว ถึงตั้งตนเป็นปฏิปักษ์ต่อสำนักพุทธ และมหาเถรสมาคม ทั้งที่ทั้งคู่เป็นภิกษุในวัดสร้อยทอง ซึ่งเป็นวัดอารามหลวง โดยเฉพาะพส.ไพรวัลย์ ที่ฟาดงวงฟาดงาอย่างแรง ตอนที่สมเด็จช่วงไม่ได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ถึงขนาดพยายามปลุกให้มหานิกายแยกตัวเองออกมาปกครองกันเอง เพราะไม่พอใจพระบรมราชวินิจฉัยที่แต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชจากธรรมยุตินิกาย คุณจะแปลกใจน้อยลง ถ้ารู้ว่า บุคคลที่มีอิทธิพลต่อพส.ทั้งคู่ คือ ส.ศิวรักษ์ ที่เปรียบเสมือนอาจารย์ที่ทั้ง 2 พส. ให้ความเคารพนับถืออย่างมาก

การแปลงสภาพ ของ 2 พส. ทำให้สาวกเจ็บช้ำ ผิดหวังอย่างรุนแรง จากที่เคยคาดหวังว่า 2พส. จะสึกออกมาต่อสู้ร่วมกับขบวนการ 3 นิ้ว แต่สุดท้าย ทั้งคู่ก็ทำเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ไพรวัลย์ไปทำคอนเทนต์ลงโซเชียล รับงานพิธีกร และติดผู้ ส่วนสมปองก็ไปออกอัลบั้ม พยายามทำตัวเป็น Psy เมืองไทย แต่ดูเหมือนจะยังไม่ค่อยปังอย่างที่

ทั้งนี้เพจเฟซบุ๊ก The PARASITE ระบุอีกว่า คนที่เจ็บช้ำหนักกว่า ก็คือ เฒ่าปรสิต ที่ปลุกปั้น 2 พส.มาเป็นเวลานาน จนมีชื่อเสียงโด่งดัง หวังให้เป็นแนวรบจากทางฝั่งสงฆ์ แม้เฒ่าปรสิต จะสั่งให้อยู่เป็นพระต่อก็ตาม แต่ 2 พส.กลับหลงแสง เลยชิงสึกออกมา ทำให้ เฒ่า ส. หมดตัวเล่น ในห้วงเวลาที่วงการสงฆ์กำลังถูกจัดระเบียบอย่างเข้มข้น แผนการปั้นแครอทรุ่นใหม่จึงเกิดขึ้น และสิ่งที่จะบ่มเพาะพส.เอาไว้ใช้งาน ก็คือ การแทรกแนวคิดของเฒ่าปรสิต เข้าไปในห้องสมุดของวัด จึงเป็นที่มาของ โครงการห้องสมุด 1932 People Space Library ซึ่ง 1932 มาจาก ค.ศ.1932 ซึ่งเป็นปีเดียวกับ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ทีนี้เราเก๊ทแล้วใช่มั้ยว่า ห้องสมุดนี้เกี่ยวข้องกับอะไร ห้องสมุดลักษณะนี้จะเกิดขึ้นอีกหลายที่แน่นอน ตราบใดที่ เฒ่าปรสิต ยังไม่สู่ขิต และยังได้เงินทุนสนับสนุนอยู่ต่อเนื่อง แต่ครั้งนี้ต้องขอชื่นชมเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่ทำงานไว และหวังว่า กำลังเฝ้าจับตาพฤติกรรมของแก๊งปฏิกษัตริย์นิยมอย่างใกล้ชิด