Truthforyou

เมกาหน้าสั่น!!รัสเซียเทพันธบัตรสหรัฐเพิ่มกว่า 900 ล้าน$เหลือแค่1.3% ตอบโต้ขู่จะคว่ำบาตร

สถานการณ์ล่าสุดท่ามกลางกระแสวิกฤตยูเครน รัสเซียเริ่มเบื่อหน่ายจนหมดความอดทนกับสหรัฐฯและนาโตแล้ว  นักการทูตระดับสูงของมอสโกได้ออกมาเตือนหลังจากการเจรจากับวอชิงตันและนาโต ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาล้มเหลวว่า ทางรัสเซียเห็นจะต้องก้าวต่อไปในทางที่ควรจะเป็น  นับแต่นี้คงจะได้เห็นมาตรการตอบโต้ในหลายๆรูปแบบจากรัสเซียอย่างแน่นอน และในทันทีที่ไบเดนกล่าวย้ำกับสื่อว่า หากรัสเซียบุกยูเครน อเมริกาและพันธมิตรจะจัดหนักรัสเซียอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ปูตินเลยจัดให้โดยสั่งก.คลังเทพันธบัตรสหรัฐทันทีไม่ต้องค่อยๆทำอีกกว่า 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนวันนี้เหลือแค่ 1.3% ไม่ต่องรอให้สหรัฐมาคว่ำบาตร ทำให้เมื่อวานนี้ ปธน.ไบเดนให้สัมภาษณ์ท่าทีไม่แแข็งกร้าวเท่าที่ควร ส่งผลให้ปธน.ยูเครนเต้นชักสงสัยว่าสหรัฐจะเอาไงกันแน่

หลายคนอาจสงสัย ไหนว่าเทดอลลาร์หมดเกลี้ยง ทำไมยังเหลือให้เทอีก การเปลี่ยนระบบสกุลเงินที่เคยใช้เป็นหลักทั่วโลกไม่ใช้จะทำได้ในฉับพลัน เพราะจะส่งผลกระทบทั่วทั้งโลก การปลดแอกจากดอลลาร์จึงต้องทำอย่างมีแผนเพื่อไม่ให้กระทบกับระบบเศรษฐกิจของตนเอง ที่เทเกลี้ยงคลังครั้งก่อนคือไม่ถือครองสกุลดอลลาร์ในกองทุนความมั่งคั่งและกองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ  แต่ยังคงถือพันธบัตรบางส่วนไว้เพราะการถือพันธบัตรคือดำรงสถานะการเป็นเจ้าหนี้สหรัฐฯนั่นเอง การเทครั้งนี้คือไม่แคร์ไม่คบ ไม่เกรียงใจอีกแล้วเพราะสหรัฐแทงหลังรัสเซียมาตลอด และประกาศกับทั้งโลกว่ารัสเซียเป็นศัตรูอย่างชัดเจน

วันที่ 20 ม.ค.2565 สำนักข่าวสปุ๊ตนิกรายงานว่ามอสโกว์ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นผู้ถือหนี้รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐ ได้ค่อยๆ ลดจำนวน T-Bill หรือพันธบัตรสหรัฐ และการถือครองดอลลาร์มาตั้งแต่ปี 2014/2557 จากวิกฤตรัฐประหารในยูเครน โดยเปลี่ยนไปใช้เงินยูโร หยวน ทองคำ และการลงทุนทางเลือกอื่นๆ และสินทรัพย์อื่นๆที่มีมูลค่า แต่ทำอย่างเฉียบพลันเมื่อปีที่ผ่านมาเมื่อเกิดความขัดแย้งครั้งใหม่ ที่สหรัฐผลักรัสเซียให้เป็นผู้ร้ายและเป็นศัตรูอย่างแข็งกร้าว

หลังจากนั้นยังคงลดการถือครองหนี้สหรัฐผ่านพันธบัตรอย่างต่อเนื่อง โดยการลงทุนรวมลดลงจาก 3.7 พันล้านดอลลาร์เป็น 2.4 พันล้านดอลลาร์ในเดือนพฤศจิกายน 2021/2564 

จากข้อมูลใหม่ของกระทรวงการคลังสหรัฐที่เผยแพร่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาได้เปิดเผยการลงทุนของรัสเซียตอนนี้ รวมถึงพันธบัตรระยะสั้นมูลค่า 2,300ล้านดอลลาร์และพันธบัตรระยะยาว 101 ล้านดอลลาร์

การลงทุนของรัสเซียในพันธบัตรสหรัฐลดลงเหลือเพียง 1.3% ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา ยอดสูงสุดในปี 2010/2553 อยู่ที่ 176,300 ล้านดอลลาร์ โดยรัสเซียร่วงลงจากอันดับ 15 อันดับแรกของผู้ถือหนี้สหรัฐในปี 2018/2561

ในเดือนมกราคม 2014/2557 ในช่วงเริ่มต้นของวิกฤตการณ์รัฐประหารในยูเครน รัสเซียถือครองหลักทรัพย์ของรัฐบาลสหรัฐฯ มูลค่า 131,800 ล้านดอลลาร์ ต่อมามีการถือครองหลักทรัพย์ลดลงเหลือ 66,500 พันล้านดอลลาร์ในเดือนเมษายน 2558 ก่อนที่จะเติบโตอีกครั้งเป็นกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์ในฤดูใบไม้ผลิปี 2560 และปี 2561 หลังจากการคว่ำบาตรครั้งใหม่ของสหรัฐฯ การถือครองพันธบัตรสหรัฐของรัสเซียลดลงอีกครั้ง คราวนี้เหลือเพียง 14,900 ล้านดอลลาร์ รัสเซียถือครองลดลงอย่างต่อเนื่องเหลือ 10,000 ล้านเหรียญในปี 2562 และ 6,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2563 และ 3,900 ล้านดอลลาร์ในเดือนกันยายน 2564

นอกจากกระทรวงการคลังลดการถือพันธบัตรสหรัฐแล้ว รัสเซียได้ค่อยๆ ลดจำนวนการถือครองเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐในกองทุนสำรองของ National Wealth Fund โดยถือลดเหลือศูนย์เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว แทนที่ด้วยเงินยูโร หยวน เยนญี่ปุ่น และทองคำ 

มอสโกยังได้ทำข้อตกลงทางการค้ากับประเทศต่างๆ เช่น จีน อินเดีย และตุรกี เพื่อทำข้อตกลงทางการค้าโดยใช้สกุลเงินท้องถิ่น แทนที่จะเป็นดอลลาร์หรือยูโร ในปี 2019/2020  บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของรัสเซียอย่างรอซเนฟต์ (Rosneft) ได้เปลี่ยนสัญญาส่งออกเป็นเงินยูโร ทั้งหมด

ญี่ปุ่นยังคงเป็นผู้ถือหนี้อันดับหนึ่งของสหรัฐฯ โดยถือครองเพิ่มขึ้น 20,200 ล้านดอลลาร์และแตะ 1.34 ล้านล้านดอลลาร์ ณ เดือนพฤศจิกายน 2564 

ประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ถือรายใหญ่อันดับสองของสหรัฐฯ ถือครองหลักทรัพย์สหรัฐฯ อยู่ที่ 1.081 ล้านล้านดอลลาร์ สหราชอาณาจักร ลักเซมเบิร์ก และไอร์แลนด์ อยู่ในห้าอันดับแรกด้วยเงิน 621.6 พันล้านดอลลาร์ 333.4 พันล้านดอลลาร์และ 331.3 พันล้านดอลลาร์ตามลำดับ การถือครองคลังสมบัติสหรัฐฯ ทั่วโลกโดยผู้ที่ไม่ใช่พลเมืองสหรัฐฯ ปัจจุบันอยู่ที่ 7.75 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สหรัฐเป็นหนี้นานาชาติอยู่กว่า 7 ล้านล้านดอลลาร์ ยังไม่นับหนี้ภายในประเทศและธนาคารกลางสหรัฐซึ่งทะลุเพดานจีดีพีไปแล้วแบบสุดกู่

นักเศรษฐศาสตร์ได้โต้เถียงกันมานานแล้วว่ากระทรวงการคลังสหรัฐเป็น”ที่หลบภัย”สำหรับนักลงทุนทั่วโลกและประเทศต่างๆ ที่ต้องการฝากเงินไว้ในสินทรัพย์ที่ดอกเบี้ยต่ำแต่มีความเสี่ยงต่ำ และรับประกันผลตอบแทนจากการลงทุน นักวิจารณ์ระบบเศรษฐกิจมองว่า พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐโดยกระทรวงการคลังเป็นเสมือนเครื่องบรรณาการสมัยใหม่รูปแบบหนึ่ง เนื่องจากสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆที่ซื้อพันธบัตรสหรัฐไปถือครองต่างทราบกันดีว่า สหรัฐฯจะไม่มีวันสามารถชำระหนี้ของตนได้ ซึ่งกำลังใกล้ถึง 30 ล้านล้านดอลลาร์แล้วอย่างรวดเร็ว จากนโยบายพิมพ์เงินเพิ่มของปธน.โจ ไบเดน

ปลายปีที่แล้ว ท่ามกลางการทะเลาะวิวาทระหว่างพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตว่าจะขึ้นเพดานหนี้หรือไม่ ชาวอเมริกันและคนทั้งโลก ต้องช็อกว่า วอชิงตันใกล้จะถึงจุดล่มสลายทางเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด หลังจากที่นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐ โวยวายว่าอเมริกาจะหมดเงินสดและไม่สามารถชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้หากสภาคองเกรสไม่เพิ่มเพดานหนี้ให้ทันท่วงที และในสุดก็ต้องประทับตรากู้หนี้ทะลุเพดานต่อไป วนเวียนเช่นนี้อย่างไม่รู้จบ

Exit mobile version