Truthforyou

ชาวเน็ตขุดไทม์ไลน์ แฉ “ธนาธร” ประมูลก่อนขอเจ้าของผลงาน เจอวิจารณ์ยับ ได้รับอนุญาตแล้วหรือ?

ชาวเน็ตขุดไทม์ไลน์ แฉ “ธนาธร” ประมูลก่อนขอเจ้าของผลงาน เจอวิจารณ์ยับ ได้รับอนุญาตแล้วหรือ?

จากกรณีที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ ถึงกรณีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ที่ได้วาดภาพเบนจา อะปัญ แกนนำคณะราษฎร ซึ่งทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นภาพผลงานของศิลปินท่านหนึ่ง ซึ่งต่อมานายธนาธรได้โพสต์ข้อความชี้แจงทั้งในทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก โดยบอกว่า ผลงานศิลปะของผมที่ถูกประมูลใน NFT ไม่ใช่การ #ลอกผลงาน

ผมประหลาดใจอย่างมากที่จู่ ๆ ก็เกิดการปั่นกระแสกันอย่างกว้างขวางในโซเชียลมีเดีย ว่าผลงาน When She Opens the Door และ Silence ของผม ซึ่งถูกประมูลในตลาด NFT เป็นการลอกเลียนแบบผลงานศิลปินต่างประเทศ มีการตำหนิติเตียนผมอย่างรุนแรงว่าเป็นผู้ไม่เคารพสิทธิของศิลปิน ขโมยความคิดสร้างสรรค์ของคนอื่นมาเป็นผลงานของตนเอง ซึ่งเป็นข้อหาที่ร้ายแรงและไม่เป็นธรรมต่อผมอย่างมาก
ผมเป็นนักวาดภาพมือสมัครเล่น วิธีการวาดภาพของผมก็เหมือนกับคนเรียนวาดเขียนส่วนใหญ่ในโลก นั่นคือการฝึกวาดจากงานศิลปะชั้นครู หรืองานที่ตัวเองชื่นชอบ ภาพทุกภาพที่ผมวาด ไม่ได้คิดว่าจะเปิดเผยต่อสาธารณะ เป็นงานอดิเรกส่วนตัวของผม แต่เมื่อผมตัดสินใจนำภาพมาประมูล เพื่อนำรายได้ไปบริจาคให้กับองค์กรต่าง ๆ ผมก็ได้ระบุชัดว่าภาพแต่ละชิ้น ผมได้รับแรงบันดาลใจมาจากผลงานชิ้นใด ทำอย่างเปิดเผย โปร่งใส ตรงไปตรงมาที่สุด จนไม่อาจเข้าใจได้เลยว่าเกิดการปั่นกระแสว่าผมลอกผลงานคนอื่นได้อย่างไร
ภาพ When She Opens the Door ผมระบุทั้งในโพสต์เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ว่าได้รับแรงบันดาลใจจากภาพของ Damian Lechoszest ผมยังเขียนอีเมลไปเล่าให้เขาฟังถึงเรื่องราวการต่อสู้ของเบนจา และแรงบันดาลใจของผมในการการวาดภาพนี้เพื่อนำเงินที่ได้จากการประมูลไปมอบให้กับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
ส่วนภาพ Silence ผมได้ระบุไว้ชัดเจนแล้วเช่นกันว่าได้รับแรงบันดาลใจจาก @colorbyfeliks ซึ่งเจ้าตัวระบุไว้ว่าใครนำภาพของเขาไปสร้างสรรค์ต่อก็แค่ให้เครดิตชื่อเขาไว้ก็เพียงพอ ถือว่าเป็นธรรมชาติของวงการ digital art ที่จะมีการทำซ้ำ เผยแพร่ ส่งต่อผลงาน โดยเจ้าของผลงานไม่ได้หวงห้าม เพียงแต่ต้องระบุว่าภาพนั้นต้นฉบับเป็นของใคร
เป็นอีกครั้งที่ผมต้องออกมาชี้แจงในประเด็นข้อกล่าวหาที่เป็น “เรื่องไม่เป็นเรื่อง” อันเกิดจากกระบวนการทำลายชื่อเสียงของผมอย่างเป็นระบบผ่านปฏิบัติการ IO และสื่อบางสำนัก ผมขอประกาศไว้ตรงนี้ว่าสิ่งที่พวกคุณพยายามทำจะไม่สำเร็จ แม้ผมจะต้องเสียเวลากับเรื่องพวกนี้ไปบ้าง แต่มันจะไม่ทำให้ผมท้อถอยหรือหยุดการทำงานการเมือง และผมเชื่อว่าประชาชนมีวิจารณญาณพอที่จะแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากข่าวลวง การปลุกปั่นกระแส และการใส่ร้ายสร้างความเกลียดชัง
อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็น และมีการพูดถึงไทม์ไลน์ในการสร้างผลงานดังกล่าว เปรียบเทียบกับวันที่นายธนาธรได้อ้างว่า อีเมมล์ไปขออนุญาตจากเจ้าของผลงานที่ตัวเองนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการวาดภาพ โดยบอกว่า
อยากรู้ว่าคิดยังไงกัน ถ้าไล่จากไทม์ไลน์คือ 1. ธนาธรวาดภาพเบนจาตามศิลปินท่านนี้ 2. ธนาธรมีความคิดจะเอาภาพลง NFT 3. ธนาธรส่ง E-mail ไปแจ้งศิลปิน 1 วันด่อนประกาศ NFT 4. ไม่เห็น E-mail ตอบกลับ ไม่ทราบว่าต้นฉบับโอเคหรือไม่ แบบนี้มันก็ไม่เหมาะรึเปล่า คิดเทียบกับกรณี กูรูเอโดะ น่ะนะ
รอบนี้ธนาธรผิด ฮาร์ทเรฟ แถมเป็นงานคนยุคปัจจุบัน ส่งเมลล์ไปก็ไม่รู้ว่าเขาจะตอบมั้ยด้วย ถ้าเป็นยุคเก่าๆที่ไม่มีลิขสิทธ์แล้ว หรือไม่ก็ถูกตีเป็นมรดกที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ ถ้าเรฟเพื่อฝึกฝนคงได้ แต่การทำแล้วนำไปลง NFT ไม่ว่าจะได้กำไรหรือนำไปบริจารก็ไม่ควร #ลอกผลงาน
ขออนุญาตเห็นต่างนะคะ เค้าคิดว่าคุณธนาธรจะวาดรูปตามแรงบันดาลใจหรือวาดรูปตามต้นแบบไม่ใช่เรื่องผิดนะ เป็นไปตามที่คุณธนาธรแจ้งว่านักวาดหลายคนก็วาดแบบนี้กัน แต่การวาดรูปตามแบบไม่ได้หมายถึงการเอาภาพที่ว่าไปประกวดหรือไปประมูลโดยเจ้าของภาพยังไม่ได้ให้คำตอบหรือยินยอมนะ
เราว่าดราม่านักวาดช่วงหลายๆเดือนที่ผ่านมา ก็ดังอยู่นะ หลายคนน่าจะพออ่านผ่านๆกันมาบ้าง กรณีคุณธนาธรคือกรณีเดียวกับที่มีดราม่าใหญ่หลายๆแอคนักวาดที่โดนไปเลยนะ มันไม่ผิดที่อยากวาดตามแรงบันดาลใจ ฝึกวาด แต่ไม่ควรเอามาใช้เชิงพาณิชย์ และเจ้าของผลงานเค้ายังไม่อนุญาตอะค่ะ
เคสนี้แปลกนะ วาดตามเรฟคนอื่นไปแล้ว แล้วค่อยขออนุญาต เอางานที่วาดตามเรฟไปประมูล ปกติรณรงค์แทบตายห้ามก็อป ยิ่งสายวาดคืออย่าขโมยงานคนอื่น ยิ่งเอาไปใช้ในเชิงพาณิชย์คือผิดมากๆ แต่พอเป็นธนาธร ก็กลายเป็นมองข้ามๆ ฝั่งตรงข้ามทำไมขุดมาโจมตีทำไม บลาๆ
ในขณะที่ทางด้านของ ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ได้โพสต์ถึงกรณีไทม์ไลน์ของการวาดภาพของนายธนาธรและการเขียนอีเมลล์ไปถึงเจ้าของภาพ โดยบอกว่า
การเปิดประมูลก่อนแล้วจึงค่อยส่งอีเมล์แจ้งเจ้าของภาพวาดต้นฉบับในภายหลังของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
– 16 พ.ย. 64 – โพสต์โชว์ผลงานภาพวาดผ่านทางเฟสบุ๊ค Than Juang แล้วเพ้อเจ้อเสียใหญ่โต “…หวังว่าภาพนี้จะถ่ายทอดจิตวิญญาณแห่งยุคสมัยได้…” โดยไม่ได้กล่าวถึงแรงบันดาลใจที่มาจากภาพ ‘Night Light’ ของ Damian Lechoszest แต่อย่างใด
– 7 ม.ค. 65 – โพสต์โฆษณาการประมูลภาพวาดผ่านทางแพลตฟอร์มการประมูล แล้วอ้างว่าได้แรงบันดาลใจมาจากเบนจา อะปัญ โดยไม่ได้กล่าวถึงภาพวาดต้นฉบับแต่อย่างใด
– 10 ม.ค. 65 – เปิดการประมูลภาพวาด
– 11 ม.ค. 65 – เขียนอีเมล์แจ้งเจ้าของภาพวาดต้นฉบับ
– 12 ม.ค. 65 – โพสต์โฆษณาการประมูลภาพวาดผ่านทางเพจเฟสบุ๊ค Thanathorn Juangroongruangkit – ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ โดยเพิ่งมากล่าวถึงแรงบันดาลใจที่มาจากภาพวาดต้นฉบับ
– 17 ม.ค. 65 – บัญชีชื่อ Oxf12…f5462 กับ mockingbird112 แข่งกันประมูลภาพจนกระทั่งราคาประมูลสูงถึงกว่า 3 ล้านบาท ภายในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ของวันที่ 17 ม.ค. 65 เวลา 19.44 – 21.20 น. และปิดการประมูลลงในที่สุด
เมื่อภาพวาดของนายธนาธร มีความคล้ายคลึงกับผลงานต้นฉบับเป็นอย่างมาก ต่างกันเพียงแค่ฝีมือในการวาดและความพยายามในการเปลี่ยนเด็กผู้หญิงในภาพต้นฉบับให้กลายเป็น เบนจา อะปัญ เท่านั้น จึงเป็นปกติวิสัยที่ประชาชนจะออกมาตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการ “ลอก” มากกว่า “ได้รับแรงบันดาลใจ” หรือไม่?
แล้วเมื่อย้อนกลับไปดูพฤติกรรมในอดีตของนายธนาธร พบว่าการ “ลอก” ดูเหมือนจะเป็นสิ่งปกติสำหรับเขา เพราะนายธนาธรเคยให้สัมภาษณ์ไว้เองในหนังสือ ‘Portrait ธนาธร’ มีข้อความสำคัญตอนหนึ่งความว่า…
…กิจกรรมดี แต่การเรียนยังย่ำแย่เช่นเคย แย่ถึงขั้นที่เขาบอกว่า ไม่รู้เรื่องอะไรสักอย่าง เพื่อนทำการบ้านให้ ในห้องสอบก็ยังต้องลอกเพื่อน “ขนาดลอกยังตก” เขาเล่าและหัวเราะ “ผมแม่งไม่รู้เรื่องอะไรเลย”…
สิ่งที่สำคัญกว่าการ “ได้รับแรงบันดาลใจ” หรือการ “ลอก” คือ ใครเป็นคนที่ยอมจ่ายในการประมูลครั้งนี้ ซึ่งดูคล้ายกับการจัดฉากปั่นราคาประมูลที่สูงลิ่วระหว่างบัญชีชื่อ Oxf12…f5462 กับ mockingbird112 จนกระทั่งสูงถึงกว่า 3 ล้านบาท ภายในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ของวันที่ 17 ม.ค. 65 เวลา 19.44 – 21.20 น. เพื่อเป็นท่อน้ำเลี้ยงสนับสนุนการเคลื่อนไหวของม็อบ ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า มีพฤติกรรมเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง โดยอาศัยการเปิดประมูลภาพวาดบังหน้า ผ่านไปยังศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ภายใต้บัญชีชื่อ mockingbird112 ใช่คนเดียวกับคนวาดหรือไม่?
ลองคิดดูดีๆ ภาพวาดของธนาธร ใครได้-ใครเสีย? แต่ที่แน่ๆ คนที่ได้กระแสข่าวจากการวาดภาพ โดยการดัดแปลงจากต้นฉบับเพียงเล็กน้อย แล้วดันสามารถทำยอดประมูลได้สูงลิ่ว ตลอดจนเป็นผู้มอบเงินจำนวนดังกล่าวซึ่งได้จากการประมูล หลังจากหักค่าใช้จ่ายกับเจ้าของแพลตฟอร์ม ให้กับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ก็คือ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นั่นเอง ถูกต้องหรือไม่? Thanathorn Juangroongruangkit Thanathorn Juangroongruangkit – ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
นอกจากนี้ ยังมีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นด้วยว่า mockingbird112 คือบัญชีที่เพิ่งเปิดใหม่ ไม่มีตัวตนชัดเจน ไม่มีรูปรายระเอียดความสนใจในเฟส ไม่มีเรื่องราวที่บ่งบอกถึงความสนใจในศิลปะ
เปิดมาเพื่อเฉพาะกิจ .. ใช่เปิดมาเพื่อ ใช้งานต่อประมูลภาพนี้ หรือไม่ ? หรือที่เรียกว่า วิธีการ “ฟอกเงิน” ..
mockingbird112 อาจจะเป็นธนาธรเอง หรือคนใกล้ชิดธนาธร โดยธนาธรให้เงินไปประมูลภาพ
ฟอกภาพจาก ธนาธร .. โดยใช้เงินตนเอง ฟอกผ่านการประมูล แล้วเงินนั้นถูกส่งต่อไปให้ผู้ร่วมชุมนุม
มันจึงกลายเป็นเงินบริจาค ซึ่งไม่สามารถกล่าวหาต้นต่อที่แท้จริงได้
นี้น่าจะใกล้เคียงความจริง ที่เกิดขึ้นที่สุด
Exit mobile version