11 องค์กรยื่นนายกฯ!?แก้โลจิสติกส์ส่งออกด่วน จีนเปิดด่านผิงเสียงเคลียร์ผลไม้ไทยช่วยได้ 15 วัน

894

จีนเปิดด่านรถไฟผิงเสียง นำเข้าทุเรียน-ลำไยผลไม้ไทยแล้ว หลังจากที่ทูตเกษตรได้ประสานงานกับทางการจีน เพื่อคลี่คลายปัญหาสินค้าตกค้างที่ด่านตงซิง ด้านนายกฯ กำชับเร่งเดินหน้าเสริมศักยภาพระบบการขนส่งสินค้าเกษตรและผลไม้ไทย รวมทั้งกำชับให้รักษามาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตรและผลไม้ส่งออก พร้อมคำนึงถึงมาตรการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19 ที่ปลอดภัย และได้มาตรฐานในระดับสากลเพราะจีนกำชับว่าหากเจอเชื้อโควิดปนเปื้อนจะปิดด่านทันที

การขนส่งผลไม้สดจากไทยไปจีนโดยการขนส่งทางบก ถือเป็นวิธีการขนส่งที่ได้รับความนิยมของผู้ส่งออกไทย เพราะมีระยะเวลาสั้นกว่าทางเรือ ทำให้ผลไม้ไทยมีคุณภาพและความสดยาวนานสามารถกระจายไปยังตลาดตามมณฑลต่างๆ ของจีนไ ด้อย่างรวดเร็ว โดยจีนกำหนดว่า ประเทศที่ไม่มีพรมแดนติดกับจีน หากประสงค์จะขนส่งผลไม้ผ่านเส้นทางทางบกจะต้องจัดทำความตกลงในรูปแบบพิธีสาร ซึ่งไทยและจีน จึงได้ลงนามพิธีสารว่าด้วยการขนส่งผลไม้สดจากไทยไปจีนผ่านประเทศที่สาม ตั้งแต่ปี 2552 แต่สามารถนำเข้าได้เพียงสองด่านทางตอนใต้ของจีนเท่านั้น

ทั้งนี้ หลายปีที่ผ่านมา ปริมาณการขนส่งผลไม้สดจากไทยไปจีนโดยเส้นทางบกขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่าน ส่งผลให้รถขนส่งสินค้าติดอยู่ที่ชายแดนจีนเป็นเวลานาน ทำให้สินค้าผลไม้สด โดยเฉพาะทุเรียนไทยที่ส่งไปจีนเสียหายได้

ด้านองค์กรภาคเอกชนวงการผลไม้และระบบโลจิสติกส์ ยื่นหนังสือแนวทางแก้ไขปัญหาให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เร่งดำเนินการเตรียมการรองรับผลผลิตและเจรจาแก้ไขปัญหาแบบ G T0 G ขอเปิด Green Way ช่องทางพิเศษผลไม้ไทย และเตรียมพัฒนาท่าเทียบเรือคลองใหญ่ จ.ตราด ส่งตรงผลไม้ไทย-จีน

สำหรับ 11 องค์กรภาคเอกชน ประกอบด้วย 1.สมาคมทุเรียนไทย(TDA) 2.สมาคผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน มังคุด(DMA) 3.หอการค้าจังหวัดตราด 4.หอการค้าจังหวัดจันทบุรี 5.สมาคมการค้าและท่องเที่ยวชายแดนจันทบุรี-กัมพูชา 6.สภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย 7.สมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย 8.สมาคมการค้าและส่งออกผลไม้ไทย 9.สมาคมผู้ประกอบการผลไม้ยุคใหม่ (MAFTA) 10.สมาพันธุ์ชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออก และ 11.สมาคมผู้ผลิตทุเรียนไทย

วันที่ 5 ม.ค.2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่ารัฐบาลเร่งเดินหน้าเสริมศักยภาพพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าเกษตรและผลไม้ไทย โดยเป็นการขับเคลื่อนการทำงานอย่างบูรณาการทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ตั้งแต่สนับสนุน และตรวจสอบการผลิตที่ได้มาตรฐาน สอดคล้องความต้องการผู้บริโภค มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และมีการจัดการที่สอดคล้องกับมาตรการด้านสาธารณสุข 

ซึ่งล่าสุด เป็นที่น่ายินดีที่ว่า จีนได้เปิดด่านรถไฟผิงเสียง (เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง) นำเข้าผลไม้ไทย ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. ถึงวันที่ 17 มกราคม 2565 ทดแทนกรณีด่านตงซิง (เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ประเทศจีน) ปิดด่าน ทําให้ทุเรียนและลําไยสดของประเทศไทยติดค้างอยู่ที่ด่านเป็นจำนวนมาก โดยในปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกผลไม้ไปยังประเทศจีน ได้กว่า 2 ล้านตัน เป็นมูลค่ากว่า 148,000 ล้านบาท โดยปริมาณการส่งออกผลไม้สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ทุเรียน ลำไย และมะพร้าวอ่อน         

นายธนกรกล่าวว่า“สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างมาก รัฐบาลได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มการดูแลและอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรไทย ควบคู่ไปกับเสริมสร้างศักยภาพและความรู้ของเกษตรกรไทยในการผลิตสินค้าเกษตรที่คุณภาพ เพิ่มมูลค่า สามารถจัดการตลาด ตอบสนองตรงตามความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งคำนึงถึงการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการผลิตผลไม้ครบวงจร” 

ทั้งนี้ จากสถิติการส่งออกผลไม้ไทยไปยังประเทศจีนของกรมวิชาการเกษตร พบว่า เดือนมกราคม-ตุลาคม 2564 ไทยส่งออกผลไม้ไปยังประเทศจีน มีปริมาณกว่า 2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 148,000 ล้านบาท โดยปริมาณการส่งออกผลไม้สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ทุเรียน ลำไย และมะพร้าวอ่อน ตามลำดับ แต่เริ่มประสบปัญหาการขนส่งผลไม้ติดขัดตามด่านต่าง ๆ ของจีนในช่วงปลายปี 2564

และเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการปนเปื้อน ให้มีการดำเนินการอย่างระมัดระวังและตรวจสอบตั้งแต่ภาคการผลิต จนถึงการขนส่งสินค้า ตลอดจนการออกใบรับรอง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าทั่วโลก

กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดทำเอกสารประกอบการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับระเบียบใหม่ของสำนักงานศุลกากรจีน ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารนำเข้าจากต่างประเทศ ที่มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการ สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ https://www.moac.go.th/site-home หรือ https://www.opsmoac.go.th/news-preview-432991791570