จากกรณีที่ทางเพจ บีบีซีไทย – BBC Thai ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีบัญชีทรัพย์สินของ นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีม โดยระบุข้อความว่า
“ช้างศึก” ทีมชาติไทย ภายใต้การนำทีม มาโน โพลกิง เทรนเนอร์เชื้อสาย บราซิล-เยอรมนี และ นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีม สามารถคว้าแชมป์ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2020″ ที่สิงคโปร์ ไปครองอย่างยิ่งใหญ่หลังเอาชนะทีมชาติอินโดนีเซียในนัดชิงชนะเลิศ ด้วยประตูรวม 6 ต่อ 2 เมื่อ 1 ม.ค.
สองวันก่อนการเตะนัดที่ 2 ของรอบชิงชนะเลิศ นวลพรรณประกาศว่า จะอำนวยความสะดวกให้ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยทุกคน ด้วยการเช่าเหมาลำเครื่องบิน หลังนักเตะ และทีมงานทุกคนทำงานหนักตลอด 1 เดือน ที่ประเทศสิงคโปร์
หลายคนอยากรู้ถึงความมั่งคั่งของนักธุรกิจหญิงวัย 55 ปีผู้นี้ บีบีซีไทยชวนย้อนอ่านบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเธอและคู่สมรสของเธอ คือ พ.ต.อ. ณรัชต์ เศวตนันทน์ ผู้เกษียณอายุราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เมื่อ 30 ก.ย. 2563 เป็นรายการที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ นำมาเปิดเผยต่อสาธารณะเมื่อ ม.ค. ปีที่แล้ว
ล่าสุดทางด้านนายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความถึงสื่อแห่งหนึ่งว่า สื่อเฮงซวย ในขณะที่คนไทยทั้งชาติกำลังดีใจกับทีมฟุตบอลไทยที่คว้าแชมป์ซูซูกิคลับ แต่กลับมีสื่อต่างชาติแทนที่จะชื่นชมความเก่งของทีม ความสามารถในการบริหารของมาดามแป้ง
ที่มีเวลาเตรียมตัวน้อย แต่สื่อดังกล่าวกลับไปแขวะความรวยของเธอ และแซะว่าสามีทำงานใกล้ชิดเบื้องยุคลบาท ทำไมต้องไปไกลขนาดนั้น มารยาท จรรยาบรรณในการเขียนข่าวอยู่ตรงไหน ต้องการจะสื่ออะไร ไม่รู้จักกาละเทศะ
ขณะที่ทีมข่าวเดอะทรูธ ตรวจสอบก็พบว่า ผู้จัดการออนไลน์ ได้เคยเผยแพร่บทความ หัวข้อ ลากไส้ “บีบีซีไทย” สันดานนักล่าอาณานิคม หรือหิวเงินรับงานใครมา ไว้เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2559 โดยมีเนื้อหาบางส่วนที่น่าสนใจว่า
“บีบีซี” ถือเป็นสำนักข่าวที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และตลอดกว่าศตวรรษที่ผ่านมาก็ได้รับการยอมรับในความเป็น “สื่อมวลชนมืออาชีพ” แม้จะเป็นที่รู้กันว่าสำนักข่าวแห่งนี้เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลอังกฤษ โดยเฉพาะด้านการต่างประเทศก็ตาม
แต่พลันที่เว็บไซต์ “บีบีซีไทย” ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา นำเสนอรายงานพิเศษในลักษณะจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูงของไทย จึงมีคำถามไปถึงทั้ง “บีบีซีใหญ่” และ “บีบีซีไทย” ว่ามีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้นประการใด จึงหาญกล้าหยามเหยียดจิตใจคนไทยทั้งประเทศเช่นนั้น
ทั้งนี้ “บีบีซีไทย” นั้นมีข้อมูลยืนยันว่า ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากรัฐบาลอังกฤษผ่าน “บีบีซีเวิลด์เซอร์วิส” และได้เริ่มเปิดให้บริการข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 หลังเกิดรัฐประหารในประเทศไทยไม่นาน ก่อนที่จะเปิดเว็บไซต์ตามที่กล่าวไปแล้ว
ก่อนหน้าที่จะมีประเด็นเรื่อง “บทความต้องห้าม” นั้น บทบาทของ “บีบีซี” ในไทยก็มีเครื่องหมายคำถามมาก่อนแล้ว โดยเฉพาะบทบาทของ “โจนาธาน เฮด” ผู้สื่อข่าวประจำภูมิภาคเอเชียของบีบีซี และดูแลข่าวที่เกี่ยวกับประเทศไทยด้วย ก็ถูกจับตามองมาโดยตลอดว่า มีแนวทางการนำเสนอข่าวที่ส่อไปในทางสนับสนุนปกป้อง “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี และพวก ตลอดจน “คนเสื้อแดง” อย่างชัดเจน รวมไปถึงการ
สำคัญไปกว่านั้น “โจนาธาน เฮด” ผู้นี้ยังเคยถูกดำเนินคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ฐานหมิ่นสถาบันเบื้องสูงของไทยมาแล้ว และเมื่อ “บีบีซีไทย” เผยแพร่บทความที่ว่าออกมา หน้าของ “โจนาธาน เฮด” ก็ลอยขึ้นช่วยเพิ่มน้ำหนักของการ มี “วาระซ่อนเร้น” เข้าไปอีก
ตามมาด้วยชื่อของ นพพร วงศ์อนันต์ ที่ปรากฎชื่อเป็นบรรณาธิการบีบีซีไทย เป็น “นพพร” อดีตบรรณาธิการนิตยสาร ฟอร์บส์ ไทยแลนด์ และมีชื่อเสียงในการสร้างผลงานบิดเบือนเกี่ยวกับสถาบันเบื้องสูงมาแล้วเช่นกัน
“ผมตื่นเต้นและภูมิใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลที่สำคัญครั้งนี้” คือคำให้สัมภาษณ์ของ “บก.นพพร” ถึงงานใหม่ที่เว็บไซต์ www.bbcthai.com
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2559 นายสุทิน วรรณบวร สื่อมวลชนอาวุโส ซึ่งเคยทำงานให้กับสื่อระดับโลกหลายสำนักตั้งข้อสังเกตถึงกรณีนายนพพรว่า ผมเตือนเพื่อนๆมาตลอดว่าอย่าอ่านอย่าแชร์ข่าว บีบีซี ภาษาไทย เพราะรู้จักและติดตามผลงานนายนพพร บก ข่าวบีบีซี มานาน
ผลงานเด่นของนายนพพร เมื่อคราวทำงานให้สำนักรอยเตอร์ คือบินเดี่ยวไปสัมภาษณ์นายทักษิณ ต่างประเทศ นายนพพร เป็นนักข่าวที่ได้รับการไว้ใจจากนายทักษิณ และ ประเด็นที่นายนพพร ฝังใจและเกาะติดเป็นพิเศษ คือเร่ืองทีกำลังกล่าวขาน ประเด็นนึ้นายนพพร บินจากกรุงเทพ ไปถามนายอภิสิทธิ์ ถึงสิงค์โปร (เมื่อคราวนายอภิสิทธิ์เป็นนายก) นายอภิสิทธิ์ ตอบว่าคงไม่เป็นไปดังที่ถาม ทุกอย่างจะราบรื่น..
นายนพพร ติดใจฝังใจเรื่องนึ้ตลอดมา ดังนั้นท่านที่อ่านข่าว บีบีซี โปรดเข้าใจว่าทุกอย่างไม่ใช่เร่ืองบังเอิญ หรือเผลอเรอ แต่มันความเชื่อ เป็นอุดมการณ์ ของนายนพพร
อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2564 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ไลฟ์สดทางเพจคณะก้าวหน้าในหัวข้อ “วัคซีนพระราชทานฯ : ใครได้-ใครเสีย?” เปิดเผยข้อมูลสำคัญว่าด้วยการจัดหาและผลิตวัคซีนโควิดในประเทศไทย ที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายใดรายหนึ่ง, ทำไมประเทศไทยได้วัคซีนช้า, และทำไมรัฐบาลถึงจัดหาวัคซีนได้ไม่ครอบคลุมจำนวนประชากรที่เหมาะสม
จากการไลฟ์สดของนายธนาธร ก็ได้มีการตั้งคำถามถึงประเด็นที่นายธนาธรได้ไลฟ์สดนั้น ก็มีประเด็นให้พูดถึงหลายประเด็น โดยเฉพาะประเด็น สำนักข่าว BBC โพสต์ข่าวของ นายธนาธร ไลฟ์สดเรื่องวัคซีน ก่อนที่จะไลฟ์สดจบประมาณ 9 นาที
ทั้งนี้ ในรายละเอียดข่าว บีบีซีไทย ลงรายละเอียดมากกว่าในคลิป โดยเฉพาะในประเด็นสถาบัน เเละ BBC ไทย ก็อ้างว่าได้ไปสอบถาม กับ ทาง คุณอนุทิน เเละรวมถึงโฆษกรัฐบาล ต่อสิ่งที่ ธนาธร ไดไลฟ์สด เเต่บีบีซีไทย กลับเขียนข่าวนี้เสร็จ โดยโดยธนาธร ไลฟ์สด เวลา 22.13 น. ระยะเวลาไลฟ์สด ประมาณ 30 นาที จบประมาณ 22.43 น. แต่ BBC ไทย โพสต์ข่าวในเฟซบุ๊ก 22.34 น. ก่อนไลฟ์สดจบ และธนาธร ได้แชร์ข่าว เวลาประมาณ 22.47 น.
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2562 นายธนาธร ได้เดินทางไปยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 9-15 ก.ค. 2562 โดยได้พบนักการเมืองและหน่วยงานต่างๆ ในกรุงบรัสเซลส์ เบอร์ลิน ลอนดอน นิวยอร์กและวอชิงตัน ดี.ซี. และได้แวะมาคุยกับบีบีซีไทยที่สำนักงานใหญ่ในมหานครลอนดอนเป็นเวลา 40 นาที ซึ่งก็ได้ปรากฎภาพนายธนาธร ให้สัมภาษณ์พิเศษ นพพร วงศ์อนันต์ บรรณาธิการ บีบีซีไทย ที่สำนักงานใหญ่บีบีซี กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษด้วย