หมอวรงค์ชำแหละ5สิ่งม็อบที่ถูกบันทึก และคณะสามสัส เผยจุดจบ?

3782

จากที่อานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน และแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมปลดแอก ไมค์ ระยอง ภาณุพงศ์ จาดนอก  ฟอร์ด ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี  ไผ่ ดาวดิน หรือ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา รวมทั้ง แกนนนำม็อบหลากกลุ่มนั้น

โดยทั้งหมดได้ร่วมแถลงแผนงานชุมนุมใหญ่ ที่จะจัดชุมนุม 14 ตุลาคมนี้ ที่ ถ.ราชดำเนิน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยรวมทุกกลุ่มในนาม กลุ่ม “คณะราษฎร” (2563) ช่วงหนึ่งนายอานนท์ แถลงโดยได้ยื่นข้อเสนอทั้งหมดที่จะให้รัฐบาลเข้ามาเจรจา 3 ข้อ คือ

  1. นายกรัฐมนตรี และ ครม. ต้องลาออกทันที
  2. ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ
  3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์

ล่าสุดวันนี้ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้ากลุ่มไทยภักดี ได้พูดถึงความเคลื่อนไหวของม็อบดังกล่าวผ่านการโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กว่า

#สถิติโลกที่ต้องบันทึกจากม็อบ

นี่คือ 5 สิ่งที่ต้องถูกบันทึกไว้เป็นสถิติโลก ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม

1.เปลี่ยนชื่อจนสับสน จากกลุ่มเยาวชนปลดแอก เป็นประชาชนปลดแอก มาเป็นแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และมาเป็นคณะราษฎร

2.เปลี่ยนข้อเรียกร้องจนงง จากแรกสุดเรียกร้อง 3 ข้อคือ ยุบสภา หยุดคุกคาม และแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่อมาตามด้วย 10 ข้อที่อ้างปฏิรูปสถาบัน และ 2หลักการคือต้องไม่มีการรัฐประหารและจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

ล่าสุดมีแถลงข้อเรียกร้องใหม่ 3 ข้อ 1.นายกฯลาออก 2.ให้เปิดประชุมวิสามัญเพื่อรับหลักแก้รัฐธรรมนูญ 3.ปฏิรูปสถาบัน

3.เป็นม็อบที่ไม่มีปัญหาปัจจุบันมีแต่อดีต ม็อบส่วนใหญ่ จะมีปัญหาของรัฐบาลปัจจุบัน ที่ประชาชนไม่พอใจ แต่ม็อบครั้งนี้ส่วนใหญ่จะขุดคุ้ยอดีตตั้งแต่ 2475 หรือ 6 ตุลา 14 ตุลา รวมทั้งการรัฐประหารในอดีต เช่น 19 กันยายน จนแทบไม่มีปัญหาของรัฐบาลปัจจุบัน

4.แกนนำไม่มีอำนาจ คนมีอำนาจไม่เป็นแกนนำ แทบจะทุกม็อบในการชุมนุม แกนนำจะเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจ ชี้นำประชาชนมาร่วมชุมนุม แต่ม็อบครั้งนี้ ทุกคนทราบดีว่า คณะสามสัส เป็นผู้ที่มีอำนาจจริง แต่กลับไม่กล้าขึ้นเวทีมานำ ปล่อยให้นอมินีมาขึ้นเวที เพราะคณะสามสัสคงกลัวคดีจึงไม่กล้า

5.เป็นม็อบที่ถูกทิ้งเร็วที่สุด ปกติแล้วม็อบจะร่วมหัวจมท้ายร่วมกันตลอด แต่หลังจากภาพ”คุณหญิงกราบสะท้านแผ่นดิน” เป็นที่ทราบกันดีว่า ม็อบนี้โดนทิ้งแล้ว และโดนทิ้งจากขาใหญ่เร็วที่สุด ทำให้ทั้งแกนนำ และคณะสามสัสฝ่อไปตามๆกัน

ต้องติดตามกันต่อไปว่า ม็อบที่ทำสถิติโลกเช่นนี้จะจบลงอย่างไร

ที่มา : เฟซบุ๊ก Warong Dechgitvigrom